Value Stream

Value Stream หมายถึง แผนผังสายธารคุณค่า (Value Stream Mapping (VSM)) เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการเริ่มต้นวิเคราะห์กระบวนการ โดยทำให้เข้าใจภาพรวมของกระบวนการ(Overall Process) จากมุมมองลูกค้าหรือผุ้รับสิ้นค้า โดยมุ่งแนวทางปรับปรุงการไหลของทรัพยากรและสารสนเทศ ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งทำให้สามารถระบุกิจกรรมไคเซ็นหรือ การขจัดความสูญเปล่าของการทำงาน   VSM จึงเป็นแนวทางที่ใช้จำแนกกิจกรรมออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. กิจกรรมที่เพิ่มมูลค่า (Value Added (VA))  เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ในกระบวนการ จนนำไปสู่ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป 
2.กิจกรรมที่ไม่เพิ่มมูลค่าแต่จำเป็น(Necessary but Non Value Added (NNVA))  เป็นความสูญเปล่าแต่อาจจำเป็นต้องยอมให้เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
3.กิจกรรมที่ไม่เพิ่มมูลค่า (Non Value Added (NVA))ถือเป็นความสูญเปล่าและจำเป็นต้องกำจัดออกไป

ขั้นตอนการจัดทำแผนผังสายธารคุณค่า   
ขั้นตอนที่ 1 ความต้องการของลูกค้า (Customer Requirement) คือ การเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง แล้วตอบสนองความต้องการนั้นได้อย่างถูกต้องจนทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ  
ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์ (Product Family) เป็นการเลือกกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีขั้นตอนผลิตที่เหมือนกัน 
ขั้นตอนที่ 3 เขียนแผนภาพสถานการณ์ปัจจุบัน (Current State Drawing) เป็นการวาดแผนภาพกระบวนการผลิตที่แสดงทั้งการไหลของวัตถุดิบและการไหลของข้อมูล เพื่อทำให้มองเห็นถึงความสูญเปล่าต่าง ๆที่ซ่อนอยู่และหาทางกำจัดออกไป ซึ่งจะแบ่งเป็นการวาดแผนภาพภายนอก (External Mapping) และการวาดแผนภาพภายใน (Internal Mapping)

ขั้นตอนการนำ Value Stream หรือ VSM มาใช้ มีดังนี้
1. กำหนดขอบแขตในการศึกษา โดยอาจกำหนดกลุ่มลูกค้า/ผู้รับบริการ หรือผลิตภัณฑ์
2. ศึกษา/ทำความเข้าใจกระบวนการ โดยศึกษาตามขอบเขตของโครงการนะครับ ไม่เช่นนั้นมันจะใหญ่จนออกทะเลไปครับ
3. เขียน VSM ปัจจุบัน เน้นย้ำว่าให้เขียนแบบปัจจุบันและตรงตามความเป็นจริงนะครับ อาจใช้วิธีการไปลงดูหน้างานแล้วบันทึกขั้นตอน/เวลา ไม่ต้องกลัวว่าจะรู้สึกแย่ถ้าเห็นขั้นตอนที่อาจไม่เป็นอย่างที่หวังไว้ ที่เราทำ VSM ก็เพราะต้องการทำให้กระบวนการมันดีขึ้นครับ
4. ระบุความสูญเสียและโอกาสในการพัฒนา เมื่อเห็น VSM แล้วสิ่งที่เราต้องหานั่นก็คือความสูญเสีย (Wastes) ของแต่ละขั้นตอน ถ้ายังไม่รู้จักว่าความสูญเสียคืออะไร สามารถคลิกลิ้งก์ที่โพสเรื่อง Lean ด้านบนได้เลยครับ แน่นอนว่าหากเรามองเห็นความสูญเสียแล้ว ก็น่าจะพอมองเห็นว่าจากความสูญเสียที่พบ เราจะมีโอกาสที่จะพัฒนาอย่างไรได้บ้าง ออกไอเดีย แสดงความเห็นกันให้เต็มที่นะครับ
5. เขียน VSM ในอนาคต เมื่อเราหาความสูญเสียและโอกาสพัฒนาได้แล้ว เราก็จะมาเขียน VSM ที่เราได้ปรับปรุงเพื่อจะนำไปใช้ครับ
6. กำหนดแผนการปรับปรุง ก่อนจะนำกระบวนการไปใช้ เราก็ควรจะต้องวางแผนว่าจะนำไปใช้อย่างไร และจะมีการวัดผลลัพธ์การพัฒนาอย่างไรบ้าง ซึ่งแน่นอนครับ หากไม่วัดผล เราก็จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าปรับปรุงกระบวนการแล้วดีขึ้นหรือไม่อย่างไร
7. ปรับปรุงและประเมินผล วางแผนแล้วก็ถึงเวลาที่เราจะนำกระบวนการที่ปรับปรุงไปใช้ พร้อมกับการประเมินผลเป็นระยะๆ เพื่อติดตามความก้าวหน้าและปรับปรุงกระบวนการในรอบต่อๆ ไป ในขั้นตอนที่ 6. แและ 7. ทุกท่านอาจคุ้นๆ ว่ามันคล้ายกับวงจรการพัฒนาคุณภาพ (PDCA)

เบื้องต้นของ VSM จะเห็นได้ว่า VSM มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงกระบวนการเป็นอย่างมาก โดยรายละเอียดลึกๆ รวมถึงการใช้งาน VSM นั้นมีอีกเยอะและแยกย้อนอีกพอสมควร ขึ้นอยุ่กับการนำมาประยุกตืใช้ของแต่ละหน่วยงานและความเหมาะสม ยหตัวอย่างเช้นการประยุกตืใช้ในการเข้ารับการรักษาในดรงพยาบาลคลีนิค รวมไปถึงขั้นตอนทางการผลิตสิ้นค้าจัดส่งสิ้นค้าด้วย

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.