Gemba หมายถึง “สถานที่จริง” ปัจจุบันการนําคํานี้มาใช้เป็นคําศัพท์ในการบริหาร เพื่อให้หมายความถึง “สถานที่ ทํางาน” (workplace) หรือสถานที่ซึ่งเกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับงาน (value added) หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมมักจะหมายถึง ที่หน้างานหรือจุดปฏิบัติ งานในโรงงาน (shopfloor) เป็นคำภาษาญี่ปุ่น โดยอ่านว่า เก็มบะ
การบริหารแบบ Gemba คือส่วนหนึ่งของแนวคิด Kaizen ที่เป็นแนวคิดการปรับปรุงแบบต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตของโตโยต้า Go to Gemba คือ การที่ผู้บริหาร หัวหน้างานต้องเข้ามา แก้ไขปัญหา มาสถาณที่จริงด้วยตัวเอง เพือรับรุ้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แทนที่จะรอรับรายงานปัญหาจากพนักงานเพียงอย่างเดี่ยว
โดยจุดประสงค์ของ Gamba คือ การรับรู้ปัญหา ที่เกิดขึ้นและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด
ขยายความ Gemba Kaizen เป็นการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิต (Productivity) ภายในหน่วยงาน เป็นปรัชญาของหน่วยงานในญี่ปุ่นที่มีเป้าหมายเพื่อการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องในการจ้างงาน การผลิต และ ประสิทธิภาพ การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องจะต้องรวมการเข้าไปในพื้นที่ทำงานจริง การที่ผู้บริหารเดินเข้าไปสังเกตการณ์ และ สอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จริงจะช่วยให้ผู้บริหารมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการช่วยทำให้สถานที่ทำงานเกิดศักยภาพสูงสุด
เก็มบะนี้มีเป้าหมายสูงสุดคือ การบริหารกำไร โดยมีเรื่องคนเป็นพื้นฐาน ตั้งแต่การทำงานเป็นกลุ่ม จนถึงพัฒนาตนเองด้วยระบบข้อเสนอแนะ และ การสร้างวินัยให้ตนเอง
Gemba ความหมายของตัวอักษร
G – หมายถึงการเดินไปเพื่อให้เห็นสภาพที่แท้จริง (Go and see) ในพื้นที่ทำงานว่าเป็นอย่างไร การเดิน และ เห็น เป็นกฎเหล็ก และ เทคนิคที่เป็นหัวใจหลัก
E – Engage การมอบหมายเป็นเรื่องที่สำคัญ ก่อนมอบหมายให้พนักงานในพื้นที่ทำงานจริง (Gemba) ผู้บริหารจะต้องถามคำถามเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงโดยไม่ด่วนสรุป การใช้เทคนิค “ถามทำไม 5 หน” จะช่วยให้เข้าใจถึงเหตุของปัญหาที่แท้จริง นอกจากนั้นการถาม “อะไร” “ทำไม” “อย่างไร” และ “ที่ไหน” ก็จะช่วยในการค้นหาปัญหาได้ด้วย สิ่งที่ต้องจำไว้คือ “การหาทางแก้ปัญหา หรือ ทางออกที่ดีที่สุดควรมาจากพนักงานที่ทำงานในพื้นที่นั้น”
M – Muda, Mura and Muri เมื่อเข้าไปในพื้นที่ทำงานจริง (Gemba) ผู้บริหารมีโอกาสที่จะเห็นความสูญเปล่า (Muda) ต่าง ๆ และหลายครั้งที่เรามองข้าม Mura และ Muri เช่นการทำงานหนักเกินไปของพนักงาน และ กระบวนการที่ไม่ได้ระดับ ดังนั้นอย่าลืมจดสิ่งที่เห็นเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ความสูญเปล่าต่อไป
B – ไปยัง Gemba อย่างเคารพสถานที่ และ โดยไม่บอกล่วงหน้า การไปยัง Gemba จะเป็นการบริหารความนอบน้อมและเพื่อให้บริหารผู้อื่น ดังนั้นถ้าต้องการให้พนักงานบอกปัญหาที่ทำให้เขาคับข้องใจ ผู้บริหารจะต้องแสดงถึงความเคารพ ถ่อมตน จริงใจ พร้อมและยินดีที่จะช่วย
A – การวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์ ทั้งนี้ผู้บริหารจะต้องมั่นใจว่าทุกคนในพื้นที่ทำงาน (Gemba) เข้าร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล/สิ่งที่พบ การให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม
5 กฎเหล็กของการบริหารจัดการ Gemba
1. เมื่อมีปัญหาไปยังพื้นที่ที่เป็นปัญหาก่อน เพื่อเห็นปัญหาที่อย่างถูกต้อง อันนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
2. ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อหาสาเหตุของปัญหา โดยสาเหตุมักมาจาก 4 M คือ คน เครื่องจักร วัตถุดิบ วิธีการทำงาน มาตรการต่าง ๆ
3. หามาตรการแก้ไขปัญหาชั่วคราวก่อน
4. หาต้นต่อที่แท้จริงของปัญหา โดยการถาม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม และวิเคราะห์ด้วยพาเรตโต้
5. กำหนดมาตรฐานวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อป้องกันการเกิดปัญหา
สรุปวิธีการทำงาน ของ Gemba Kaizen
- คอยตรวจสอบกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง
- ตรวจสอบการดำเนินการที่เหมาะสมของคำสั่งก่อนหน้านี้
- เสมอแก้ปัญหาในจุดโดยไม่ชักช้าเกี่ยวข้องกับพนักงานสามัญในกระบวนการ
- เพื่อดำเนินการประชุมการทำงานที่แบนเนอร์ด้วยตัวบ่งชี้การผลิตขององค์กร
- แนะนำการฝึกการอภิปรายสั้น ๆ โดยตรงในพื้นที่การผลิต
นอกจาก Gemba ยังมี Gemba ที่มีความหมาย คล้ายกัน ได้แก่