History of bricks ประวัติศาสตร์ของอิฐ

bricks หรือ อิฐ มีลักษณะเป็นดินเผา ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าใช้ก่อตึก กําแพง ปราสาท โบราณสถานบ้างแห่ง วัดโบราณ นอกจากนี้อิฐยังใช้ เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น อิฐบล็อก.หรือใช้เรียกสีน้ำตาลอมแดง เช่น สีอิฐ

อิฐ มีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับ วัสดุที่นำมาใช้เช่น อิฐบล็อก อิฐมวลเบา และ อิฐมอญ อิฐมอญ เป็นที่นิยม ใช้ส่วนใหญ่ในสมัยก่อน เนื่องจากเป็นอิฐที่เป็นชนิดแรก และทำจากวัสดุที่หาได้ง่าย

“อิฐในประวัติศาสตร์ ไทย”

“ต้นกำเนิดอิฐมอฐที่เชื่อมโยงกับ ชาวมอญ ”

ชาวไทยรามัญ หรือ ชาวมอญ ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีฝีมือในการทำงานเครื่องปั่นดินเผา มาอยู่แล้ว เมื่อเข้ามาตั้งรกรากใหม่ จึงต้องทำการสร้างบ้านเรือน ชาวมอญจึงใช้ฝีมือที่มีตั้งแต่เดิม ทำอิฐมอญสร้างที่อยู่อาศัยให้กับตนเอง ต่อมาจึงยึดเป็นอาชีพทำอิฐมอญขาย.

นิยมทำอิฐเผา ปั้นหม้อ ตุ่ม กระถาง ฯลฯ และทำได้อย่างวิจิตรงดงาม มีคุณภาพ เจ้านายในวังผ่านไปมาเห็นคนมอญทำอิฐเผาสร้างวัด จึงได้สั่งเข้าไปก่อสร้างในวัง ต่อมาเห็นว่ามีความแข็งแรงทนทาน จึงนิยมนำไปใช้ในการก่อสร้างครั้งต่อ ๆ มา

จนได้ชื่อเป็นที่กล่าวขนานกันเป็นสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่คนไทยทั้งประเทศรู้จักว่า “ อิฐมอญ” จากการที่ชาวมอญมีฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผา และผูกขาดการทำอิฐ ชื่อตามคนที่ทำ หรือ เรียกชื่อตามสถานที่แหล่งที่ผลิต เช่น เรียกโอ่งใส่น้ำขนาดใหญ่ว่า ตุ่มสามโคก เพราะทำที่สามโคก เรียกหม้อหุงข้าว หรือ หม้อต้มยาดินเผาว่า หม้อบางตะนาวศรี เพราะทำที่บางตะนาวศรี ดั้งนั้น อิฐมอญ จึงเป็นสัญลักษณ์สินค้าแห่งคุณภาพจากการศึกษาสืบทอดทางวัฒนธรรมที่เป็นไปอย่างมั่งคงทำให้เครื่องปั้นดินเผาของไทยรามัญปรากฏเป็นหลักฐานการทำเครื่องปั้นดินเผาอยู่กระทั่งปัจจุบัน

       

         

ชุมชนชาวมอญในประเทศไทยที่ประกอบอาชีพการทำอิฐมอญมีหลายแห่ง ได้แก่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และ อีกหลายอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก่อนสร้าง

“ตัวอย่าง โบราณสถาณ สถาณที่ ที่ใช้ อิฐมอญในการก่อนสร้าง”

ภาคกลาง

วัดมหาธาตุ โบราณสถานเก่าแก่กลางเมืองอยุธยา อายุกว่า 600 ปี ก่อสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น หรือช่วงปี พ.ศ. 1917 – 1931 

วัดพระศรีสรรเพชญ์ หรือ วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นอดีตวัดหลวงประจำพระราชวังโบราณ อยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตรในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2035 โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

“ตัวอย่างที่ยกมาจะเป็นโบราณสถานของทางภาคกลางแต่ จริงๆแล้วอิฐมอญรับตั้งแต่โบราณมีการใช้เกือบทุกภูมิภาคของไทยเช่น ลำปาง น่าน ขึ้นอยู่กับการใช้มากหรือน้อยตามการก่อนสร้าง “

ภาคเหนือ

คนทำอิฐมอฐ คนไทยเสื้อสายจีนมอญ ทำอิฐมอญรุ่นสุดท้าย ตั้งแต่รุ่นปู่ทวด

อิฐมอญ หรือ อิฐแดง มีหลากหลายขนาด การเจาะรูที่ต่างกัน รวมถึงความเข้มของสีก็มีความแต่งต่างกัน ขึ้นอยุ่กับการใช้ดินแต่ละแหล่งด้วย แม้ว่าจะทำมาจากดินชนิดเดี่ยวกัน

“ขั้นตอนและวัตถุดิบ ทำอิฐมอญ”

1. ดินเหนียว เดิมใช้ดินจากแม้น้ำ ที่มีเนื้อละเอียดผสมกับทราย ซึ่งไม่เหนียวมากเกินไป แต่ปัจจุบันดินแม่น้ำมีค่าใช้จ่ายสูง จึงหันไปใช้ดินจากพื้นที่ลุ่ม ซึ่งมีคุณลักษณะเหมือนดินแม่น้ำ คือเป็นดินสองชั้น ชั้นบนเป็นดินเหนียวปนทราย ส่วนชั้นล่างเป็นดินเหนียวล้วน เมื่อขุดมารวมกันก็จะได้ดินเหนียวปนทราย

      2. เถ้าแกลบ ใช้ผสมกับดินเหนียวในขั้นตอนการหมัก ซึ่งเป็นส่วนช่วยเพิ่มความหนาแน่นให้กับดินเหนียว เพราะในดินเหนียวมีน้ำอยู่มาก อาจทำให้ดินเหลวเกินไป ไม่เป็นก้อน เถ้าแกลบนี้ได้มาจากการเผาอิฐ ที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง เมื่อแกลบไหม้จนหมดก็จะกลายเป็นเถ้าที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้อีก

3. ฟืน และแกลบ ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการเผา ต้องแห้ง ไม่เปียกน้ำ หรือมีความชื้นมากเกินไป เพราะจะลดประสิทธิภาพในการเผา

“ขั้นตอนการทำ”

1. เริ่มจากการนำดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย มาหมักกับเถ้าแกลบ ในบ่อหมัก ซึ่งมีน้ำเป็นส่วนช่วยผสมให้ดินและเถ้าแกลบเข้ากันเป็นเนื้อเดียว หมักอย่างนี้ไว้ประมาณ 1 คืน แล้วนำมานวด ย่ำ หรือปั่น แล้วแต่ความถนัดของผู้ผลิต ซึ่งจะช่วยให้ดินเหนียวและเถ้าแกลบเข้ากันได้มากขึ้น และดินที่ได้จากมีเนื้อละเอียด

2. รีด หรืออัด ขึ้นรูปอิฐ ในเครื่องรีด หรือแม่พิมพ์ไม้ ตัดให้ดินเหนียวมีรูปทรงสี่เหลี่ยมตามขนาดที่ต้องการ และปาดหน้า เก็บเหลี่ยมมุมให้เรียบร้อยสมบูรณ์ เตรียมตัวตากแห้ง ขั้นตอนนี้สำคัญมาก หากรูปร่างก่อนดินเหนียวแห้งยังเป็นรูปร่างที่ไม่สมบูรณ์ หรือมีการชำรุด เมื่อดินเหนียวแห้งแล้วก็จะไม่สามารถแก้ไขได้

3. ผึ่งอิฐที่รีด หรืออัดออกมาเรียบร้อยแล้วในที่ร่ม 2-3 วัน ให้ดินพอแข็งตัวอย่างช้า ๆ เพราะหากนำไปตากแดดทันทีจะทำให้น้ำที่อยู่ในดินเหนียวระเหยเร็วเกินไป ส่งผลให้อิฐแตกได้ หลังจากนั้นนำอิฐดิบไปตากแดดต่อ โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน หรืออาจจะนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และการตัดสินใจของผู้ผลิต เช่น เป็นช่วงฤดูฝน ที่มีฝนตกบ่อย ๆ ทำให้อากาศเปียกชื้น อิฐดิบก็จะแข็งตัวได้ยาก หากนำอิฐดิบที่มีความชื้นมาก ๆ เข้าไปเผา อาจทำให้เกิดการหดตัวอย่างรวดเร็ว และแตกหักเสียหายได้

 4.เมื่ออิฐดิบแห้งดีแล้ว ผู้ผลิตจะนำไปเผาในเตา ซึ่งมีเตา 2 รูปแบบ คือเตาแบบชั่วคราว และเตาแบบถาวร ซึ่งส่วนมากมักใช้เตาแบบชั่วคราว โดยการนำอิฐดิบมาเรียงซ้อนกันตั้งขึ้นเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมในสภาพที่สามารถพร้อมเผาได้ทันที แล้วนำแผ่นเหล็กหรือแผ่นสังกะสีมาก่อล้อมอิฐดิบที่เรียงกันไว้ จากนั้นตักแกลบคลุมด้านบนให้ทั่ว ใส่ฟืนด้านล่างที่ผู้ผลิตจะเว้นเป็นช่องไว้ให้สามารถเสียบฟืนเข้าไปได้ แล้วจุดไฟเผา ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญ ทั้งใช้เวลานาน และใช้เงินมากที่สุด เพราะแกลบที่ใช้มีจำนวนมาก และราคาสูง ผู้ผลิตส่วนมากจึงนิยมเผาอิฐดิบครั้งละจำนวนมาก ๆ ประมาณ  70,000 – 100,000 ก้อน เพื่อประหยัดต้นทุน

ใช้เวลาเผาประมาณ 7-15 วัน หรือขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ผลิต เพื่อให้อิฐสุกดี อิฐที่ได้จะมีลักษณะสมบูรณ์ มีเหลี่ยมมุมชัดเจน ไม่มีรอยแตกร้าวเสียหาย ไม่บิดเบี้ยว สีส้มอมแดง หรือน้ำตาลทั่วทั้งก้อน ซึ่งสามารถตรวจสอบความแข็งแกร่งของอิฐแดงเบื้องต้นได้โดยการนำอิฐมากระทบกันเบา ๆ หากเป็นเสียงใส ๆ คล้ายแก้ว แปลว่าอิฐสุกดีแล้ว มีความแข็งแกร่ง ทนทาน พร้อมนำไปใช้งาน

“อิฐในประวัติศาสตร์ สากล”

ยุคอียิปต์โบราณ หิน และดิน มาผม กับปูนธรรมชาติ ได้มาจากการเผาดินและยิปซัม หลังจากนั้นก็จะนำซีเมนต์ที่ได้มาผสมกับทรายและน้ำ เพื่อใช้เป็นวัสดุประสานระหว่างหินในการก่อสร้างพีระมิดเมื่อประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสตศักราช ซึ่งยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน 

วัสดุประสานของพีระมิด คอนกรีตจีโอโพลีเมอร์ที่ทำจากหินปูนบด, คาโอลินั่ม, ซิลิกาและเกลือนาตรอน (Natron) ซึ่งเป็นสารที่พบในซากของทะเลสาบน้ำเค็มที่ระเหยไป ทั้งนี้ชาวอียิปต์ก็ยังใช้เกลือนาตรอนสำหรับรักษาสภาพของมัมมี่อีกด้วย และจากการทดลองเกลือนาตรอนเองก็มีคุณสมบัติที่สามารถเป็นตัวกระตุ้นในการสร้างปฏิกิริยากับจีโอโพลีเมอร์ได้อย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม อียิปต์โบราณ ก็ยังไม่ถือว่าใช้อิฐโดยสมบูณร์เพราะไม่ได้ผ่านการเผา ดินให้เป็นแท่ง เพียงแต่มีวิธีการที่ใกล้เคียงเท่านั้น

Great Pyramid of Giza (Khufu’s pyramid), Pyramid of Khafre, Pyramid of Menkaure (right to left). Giza, Cairo, Egypt, North Africa.https://thebuildingdiary.wordpress.com/

กำแพงเมืองจีน การก่อสร้างในยุคแรกๆของกำแพงเมืองจีนนั้น เริ่มมาก่อนสมัยราชวงศ์สุย โดยมีระบบการก่อสร้างด้วย “ดินโคลนผสมฟาง” ด้วยการนำเอาดินโคลนและฟาง หิน มาวางเป็นชั้น ๆ และกระทุ้งด้วยค้อนไม้ ซึ่งก็เป็นหลักการเดียวกับการบดอัดดินให้แน่น ส่วนฟางก็ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้กับกำแพงได้เป็นอย่างดี แต่กำแพงดินก็เสื่อมสลายไปได้ตามธรรมชาติ จนแทบจะไม่หลงเหลือโครงสร้างเดิม

ต่อมาในสมัยราชวงค์ถัง ได้เริ่มพัฒนาการก่อสร้างสถานที่ต่าง ๆด้วย “อิฐ” ซึ่งมีความแข็งแรงมาก แต่มีต้นทุนที่สูงในการก่อสร้าง ดังนั้นอิฐจึงถูกสร้างอยู่เฉพาะกำแพงวัง และป้อมปราการที่สำคัญ ๆ ทั้งภายในและภายนอก ส่วนกำแพงที่อยู่นอกเมืองไปไกล ๆ นั้นด้านในเขาก็ถมด้วยดิน โคลน และทราย และนำอิฐมาใช้เฉพาะด้านหน้าเท่านั้น  ในยุคนี้จะเป็นการใช้อิฐแบบแท้จริง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายพื้นที่ในประวัติศาสตร์ที่มีการใช้อิฐก่อสร้าง โบราณสถาณเช่น โบถส์ในยุโรป เจดีย์ ในเอเชียตะวันออกเชียงใต้เป็นต้น

“งานออกแบบดีไซต์นิตยสาร บ้านอาคารจากอิฐที่ร่วมสมัย”

“สไตล์ลอฟท์”

สไตล์ลอฟท์มีจุดเด่นตรงที่ ใช้อาคารที่มีความกว้าง เพดานสูง ส่วนตัวอาคารมักตกแต่งด้วยอิฐสีส้ม ปูนเปลือย ท่อเหล็ก  ซึ่งจะเห็นได้ว่าสไตล์ลอฟท์จะเน้นใช้วัสดุและลักษณะเด่นที่เน้นความ “ดิบ” ให้ความรู้สึกถึงโรงงานอุตสาหกรรมหนักในสมัยก่อน โดยในปัจจุบันก็ได้มีการดัดแปลงสไตล์ลอฟท์นี้มาใช้กับอาคารเล็กๆ อย่างแพร่หลายมากขึ้น

นิตยสาร

บ้าน

“บ้านและอาคาร”

ปัจจุบันกระแสการใช้อิฐในการสร้างบ้านหรืออาคารกลับมาเป้นที่นิยม เนื่องจาก ให้ความรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติจากตัววัสดุเอง การระบายความร้อย อยุ่แล้วเย้นสบาย และเรื่องความรุ้สึกทางศิลปะบ้านหรืออาคารสมัยใหม่ลักษณะนี้ จะเน้นเชื่อมโยงกับธรรมชาติดดยมีต้นไม้ และอิฐเป็นองค์ประกอบสำคัญ ตัวบ้านจะไม่มีการฉาบปูด เปิดให้เห็นเนื้อิฐและลวดลายชัดเจน

“อิฐ ดูเหมือน จะเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคย ราคาถูก และเคยผ่านตามา แต่จะมีสักกี่คนที่ รู้ถึงเรื่องราว พูดได้ว่าอิฐเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ของคนเรามาช้านาน ทอดแทรกในวิถีชีวิตการย้ายถิ่นฐาน อาชีพของคนทำอิฐที่ใกล้จะสูญหายตามเวลา

วัถุดิบ กระบวณการขั้นตอน ที่กว่าจะได้อิฐแต่ละก้อน ผ่านการพัฒนา ปรับปรุงส่วนผสม ให้เข้ากับยุคอุตสหกรรม ที่เน้นผลิตจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่า แม้เป็น อิฐ 1 ก้อน ก็มีเรื่องราว เป็นของตัวเอง ”

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.