Oxidizing and reduction history (ประวัติ ออกซิเดชั่น และ รีดักชั่น ) ก่อนที่จะไปรุ้จักกับ ประวัติของ ออกซิเดชั่น และ รีดักชั่นต้องรุ้จักก่อนว่าทั้ง2คำนี้ คืออะไรและหมายความว่าอย่างไร
-Oxidizing Firing (การเผาแบบออกซิเดชั่น ) มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “การเผาไหม้แบบสมบูรณ์ ” ซึ่ง เกิดจากบรรยากาศในเตามีออกซิเจนมากเกินพอ เมื่อเผาไหม้แล้วจะมีออกซิเจนเหลืออยู่ มีลักษณะเป็นการเผาที่ปล่อยให้อากาศหรือออกซิเจนเข้ารวมตัวกับเชื้อเพลิง เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ เช่น ใช้เชื้อเพลิงที่เป็นแก๊ส ลักษณะภายในเตาเมื่อมีการเผาแบบออกซิเดชั่น คือ สะอาด ไม่มีควัน
การเผาแบบออกซิเดชั่น ยังเป็นการเผาที่ใช้กันมาก ตั้งแต่โรงงาน สตูดิโอ สถาณที่ศึกษาทางเซรามิค เป็นต้น เคลือบที่นิยมใช้ในงานอุตสหกรรมส่วนมาก จะเป็นการเผาแบบนี้ เพราะเคลือบสีที่มี คิดค้นสารเคมีที่ใช้ในการทำเคลือบเหมาะสมกับการเผาออกซิเดชั่นมากกว่า การเผาแบบนี้เป็นการเผาที่ง่าย และ สีของชิ้นงานไม่ผิดเพี้ยน ช่วงของการเกิด ออกซิเดชั่น ดีที่สุดสำหรับการเผาอยู่ระหว่าง 930-1040°C ซึ่งเป็นช่วงสำคัญสำหรับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพราะเป็นช่วงที่เคลือบเริ่มหลอมละลาย


-Reduction Firing (การเผาแบบรีดักชั่น) มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า”การเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ ” ในเตาเผามีปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอที่จะทำปฏิกิริยากับ เชื้อเพลิง เมื่อเผาไหม้แล้วจะมีคาร์บอนมอนอกไซด์เหลืออยู่ในเตา
มักใช้สำหรับการเผาไฟสูง เหมาะสาหรับเผาภาชนะ พอร์ซเลน ในการเผาไฟต่านั้นจะหลีกเลี่ยงมาก เพราะจะ ทำให้เกิดผลเสียแก่เคลือบที่มีส่วนผสมของตะกั่ว(เคลือบส่วนมากที่มีสี จะมีสารตระกั่วอยุ่ในสารประกอบเคลือบ)เช่น เคลือบเรสคอปเปอร๋ ซึ้งจริงๆแล้วถ้าเผาในบรรยากาศออกซิเชั่นจะเป็นสีเขียว แต่ออกมาเป้นสีแดง การเผาที่ทำให้เกิดควันจะทำให้สีของชิ้นงานมีความผิดเพี้ยนไป เราจะเรียกว่า เอ็ฟเฟกเคลือบ เคลือบที่ได้จะมีความแปลกใหม่ แตกต่างกันในแต่ละใบ อาจจะมี1สีหรือ2สีใน1ใบก็ได้ เคลือบที่นิยมใช้ในงานประเภทนี้จะเหมาะกับงานศิลปะ แจกันประดับส่วนใบใหญ่เป็นต้น

การเผางาน ที่บรรยากาศต่างกันมีผลต่อชิ้นงานถึงแม้ว่าจะเป็นเคลือบชนิดเดี่ยวกัน ถ้าเผา บรรยากาศต่างกันสีที่ออกมาก็จะต่างกันตามไปด้วย การเผาจึงมีส่วนสำคัญเพราะเป็นขั้นตอนสุดท้าย ทื่จะบอกได้ว่าชิ้นงานจะออกมาดีหรือไม่?
-ความเป็นมาของ การเผาออกซิเดชั่น และ รีดักชั่น
ความเป็นมาของการเผางานแบบ ออกซิเดชั่นและรีดักชั่น ไม่มีการจดบันทึกไว้แน่นอนว่าเริ่มต้นจากที่ใด แต่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มจากการเผาแบบไม่มีเคลือบ หรือเป็นการเผาแบบง่ายๆ ที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นฟาง แก็บ หรือเศษ ไม้ในการเผา ให้เห้นเป้นเนื้อดินสีแดงอมส้ม การเผาแบบนี้ยังไม่ถือว่า “เป็นการเผางานแบบออกซิเดชั่นและรีดักชั่น”ชิ้นงานประเภทนี้ได้แก่ การเผาหม้อ ไห ของคนโบราณหรือ แหล่งผลิตเซรามิค สมัยก่อนเช่นบ้านหม้อ จังหวัดขอนแก่นเป็นต้น

-การพัฒนาเซรามิคต่อมา การใช้เคลือบในการเคลือบชิ้นงาน การเผาแบบออกซิเดชั่นนี้มี ประวัติความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่ ที่มนุษย์สามารถคิดค้นเตาเผา ที่ใช้อิฐและดินขาวประกอบขึ้นเป็นเตา จากที่คำนึกถึงการใช้งานเพียงง่ายๆ เริ่มเห็นถึงความสวยงามของเซรามิค การใช้สีสันของเคลือบ ชาติทีมีการทำเซรามิคและมีเคลือบที่โดดเด่นได้แด่ อียิปต์คือ โถต่างๆแจกัน โถคานุปิก จีน แจกันถ้วยขนาดใหญ่ ญี่ปุ่นโบราณ ถ้วยชาม แก้ว กาน้ำชา และเอเชียภูมิภาคตะวันออกเชียงใต้ ให โถใส่น้ำ เหตุผลเพราะ เซรามิค ในสมัยก่อน สีสันที่เกิดขึ้นจากเคลือบทำได้ยากจึงมักแสดงถึงฐานะของผุ้ครอบครอง ยิ่งมีสีสันที่โดดเด่น สวยงาม ก็จะแสดงถึงความร่ำรวยอำนาจ ภูมิภาคและอารยธรรมเหล่านี้จึงมักมีการคิดค้น สีเคลือบใหม่ๆขึ้นเสมอ ในยุคนี้จึงถือได้ว่าเป็น”การเผาแบบ ออกซิเดชั่นแบบสมบรณ์ “และยังเป็นนต้นแบบของการใช้เตา เผาเซรามิค มีการพัฒนา มาจนถึงปัจจุบัน
-การเผาแบบออกซิเดชั่นเป็นที่แพร่หลายไปทั่วในสมัยก่อน แล้วการเผาแบบ รีดักชั่นเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ต้องย้อนประวัติไปที่สมัยจีนโบราณมี เรื่องเล่าและข้อมุลที่จดอย่างไม่เป้นทางการที่เล่าสืบต่อ เมื่อเซรามิคเป็นที่ต้องการ เหล่าราชวงศ์จีน ต้องการเผาเซรามิคให้มีความแตกต่าง ในสมัยนั้นสีที่พบมากได้แก่ สีขาว ฟ้า คราม และเขียว อยากได้สีแดงสด จึงได้ให้ช่างทำเซรามิคทำแจกันให้ ถ้าทำไม่ได้จะต้องถูกประหาร ช่างทำได้ทดลองเผา ทดลองอยุ่หลายรอบ จนมี1ใบที่ให้สีแดงต่างจากอีกหลาบใบที่ให้สีเขียว ต่อมาได้ทำการทดลองซ้ำ แต่ไมเป็นผล เขาจึงกลัวถูกดดนประหารเลยฆ่า ตัวตาย โดนการเขาไปพร้อมกับชิ้นงานในเตา การเกิดควันทำให้เคลือบเปลี่ยนสีเป็นสีแดง แต่เรื่องราวจริงๆสันนิฐานว่า ในช่วง ประมาณศตวรรษที่ 8 ชาวจีนได้บังเอิญพบการเผาแบบ รีดักชั่น จาการที่มี สัวต์ตัวเล็กตกลงไปในเคลือบและเผาพร้อมกับงาน การเผาแบบนี้จึงทำให้เกิดความแตกต่างสีใหม่และความแปลกตา และ ในช่วงเวลาเดียวกับชาวเปอร์เซียก็พัฒนาเคลือบมุกจากการรีดักชัน เช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตามการเผาแบบรีดักชั่นมีข้อเสียตรงการเผาแบบนี้ทำให้เกิดควันและสารพิษ จำนวนมากเป็นการเผาไหม้แบบไม่สมบูณ์ จึงมักไม่นิยมทำกันในช่วงยุคหลัง มีเพียงการเผาบางประเภทที่ใช้การเผางานแบบนี้อยู่เช่น การเผารากุ คือการเผาแบบพิเศษที่ทำให้เกิดควันและเผาด้วยการใช้เศษใบไม้หรือฟางในการทำให้เกิดควัน
