“แก้ว “เป็นสิ่งที่ เราทุกคนพบเห็น เคยได้ยินหรือเจอเป็นเรื่อง ปกติในชีวิตประจำวัน เพราะไม่ว่าเราจะมองไปรอบตัวเรา สิ่งของต่างๆก้มักจะมีส่วนประกอบของแก้ว ไม่มากก็น้อย แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าจริงๆแล้วแก้วนั้น อยุ่มานานมากกแล้ว ก่อนที่จะพูดถึงเรื่อง การประดิษฐ์แก้ว จะข้อแนะนำประวัติความเป็นมาของแก้วที่เราใช้กันในทุกวันก่อนว่า เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?
ประวัติการค้นพบแก้ว มีหลายทีมาและแต่ละประวัติมีความยาวนานมาก จึงไม่อาจะทราบได้แน่ชัดว่า ประวัติอันไหนถูกต้องที่สุดแต่ และเพื่อเป้นการสรุปให้เข้าใจโดยง่าย ทุกข้อมูล มักจะเริ่มต้นที่ว่า มนุษย์เริ่มรู้จักวิธีทำแก้วขึ้นเมื่อไรและอย่างไรนั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดปรากฏเพียงว่าในสมัย 3,000-4,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ได้มีการใช้แก้วเป็นเครื่องประดับแล้ว สันนิษฐานกันว่ามนุษย์คงพบแก้วโดยบังเอิญ ภายหลังจากที่ก่อกองไฟบนทรายขาว และจากประสบการณ์นี้จึงเริ่มรู้จักวิธีทำแก้ว ในช่วงศตวรรษที่ 1-4 วิธีการผลิตแก้วได้แพร่หลายจากอียิปต์ โดยชาวอีหยิปตืได้ใช้แก้วในการทำลูกปัดเครื่องประดับ เครื่องเคลือบหม้อและไหดิน แต่ในช่วงแรกนี้แก้วจะไม่ได้มีหน้าตาแบบที่เราเห็นแบบโปร่งใส่แก้วในยุคแรกจะอยุ่ในรูปแบบของทึบแสง คล้ายเคลือบบนเซรามิค อียิปต์เป็นที่รู้จักกันในยุคนั้นและได้เริ่มพัฒนาการผลิตแก้วมีวิวัฒนาการให้กระจกเหลวได้แล้วจึงนำไปรีดบนพื้นหินเพื่อให้เรียบหรือตกแต่งมัน ก้าวสำคัญใน glassmaking

ผ่านมาที่ยุโรป ค.ศ.ที่ 20 การค้นพบของการเป่าแก้วให้เป็นรูปร่างต่างๆในศตวรรษที่ผ่านมา มากเพิ่มรายการหลายรูปทรงได้แก้วกลวงสำหรับ แจกัน บันทึกทางช่าง การค้นพบของการเป่าแก้วระหว่าง โรมโบราณเริ่มเป่าแก้วภายในแม่พิมพ์ได้ริเริ่มใช่แก้วท่อโลหะบางยาวใช้ในการเป่าตั้งแต่นั้นมา ได้มีการเป่าได้รูปแบบต่างๆยุคเฟื่องฟูของโรงทำเครื่องแก้วในยุโรปตะวันตกและเมดิเตอร์เรเนียน วัตถุแก้วเริ่มปรากฏทั่วอิตาลี , ฝรั่งเศส, เยอรมันและสวิสเซอร์แลนด์ เป็นโรมที่ริเริ่มใช้กระจกเพื่อสถาปัตยกรรมกับการค้นพบของกระจกใส
หลังจากนั้นได้มีการนำกระจก แก้ว ไปใช้ในการประดิษฐ์แว่นตา (ค.ศ. 1285) กล้องจุลทรรศน์ (ค.ศ. 1558) กล้องโทรทัศน์ (ค.ศ. 1609) และใช้งานอื่นๆ อีกมากมายแล้ว ความต้องการผลิตจึงมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เทคนิคการผลิต จึงได้มีการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จึงถึงปัจจุบัน
“ส่วนผสม วิธีการประดิษฐ์แก้ว “
กระจกและแก้วเป็นวัตถุโปร่งแสงหรือกึ่งโปร่งแสง ที่ได้จากการหลอมเหลวออกไซด์ของโลหะต่างๆ เช่น ซิลิกาออกไซด์ โซเดียมออกไซด์ แคลเซียมออกไซด์ และตะกั่วออกไซด์ จนได้เป็นของเหลวเนื้อเดียวกัน แล้วทำให้เย็นลงเป็นของแข็งรูปร่างต่างๆ ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม
1. วัตถุดิบหลักตัวพื้น ได้แก่
- ทราย (Silica Sand) 63%
- โซดาแอช (Soda Ash) 20%
- หินปูน (Limestone) 15%
2. วัตถุดิบและสารเคมีที่เป็นตัวเสริมในการทำแก้ว ได้แก่
- ตัวฟอกสีเพื่อให้เนื้อใส
- ตัวช่วยเร่งการหลอมละลาย
- ตัวไล่ฟองอากาศหรือแก๊สที่เกิดจากการสลายตัวของวัตถุดิบ
- ตัวให้ออกซิเจน
- สารลดความหนืด
- สารเพิ่มความทนอลูมินา
- สารที่ทำให้เกิดสี
- โคบอลต์ ทำให้เกิดสีน้ำเงิน
- ทองแดง ทำให้เกิดสีทอง
- ซีลีเนียม ทำให้เกิดสีแดง
- ถ่าน ทำให้เกิดสีน้ำตาล
- ฯลฯ
“ขั้นตอนพื้นฐานในการผสมส่วนผสมการทำแก้ว “
ขั้นตอนต่อ ไปนำเอาวัตถุดิบดังกล่าวเข้าเครื่องบด และผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม แล้วนำเข้าเตาหลอมอุณหภูมิประมาณ 1,500-1,600 องศาเซลเซียส จนส่วนต่างๆ หลอมละลายแล้วส่งไปยังเครื่องขึ้นรูป เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป และการทำแก้วจะแบ่งเป้น2ประเภทใหญ่ๆเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย
1.การทำแก้ว โดยใช้แร่งงานคนและทำได้ที่ละใบ อาจจะใช้1-2คน
แก้วในลักษณะนี้จะใช้การเป่าแก้ว โดยใช้ส่วนผสมของแก้วมาเผาในอุณหภูมิที่แก้วจะหลอมละลายคล้าย น้ำตาล และใช้ปลายแท่งเหล็กที่มีรูตรงกลางในการเป่า และ1คน อาจจะเป็นคนเป่าและอีก1คนอาจจะเป็นคนควบคุม รูปทรงของแก้ว งานประเภทนี้จะเน้นเป็นการทำใบต่อใบ
2. การทำแก้วโดยใช้เครื่องจักรและทำในประริมาณที่มากๆในแบบเดี่ยวกัน
งานประเภทนี้จะเป็นในรูปแบบอุตสหกรรมประเภท ขวดส่วนมาก ตัวอย่างเช่นขวดแก้วในท้องตลาดที่ขายที่ละมากๆ เหล่านี้จะใช้เครื่องจักในการเป่าขึ้นรูปทั้งหมด ทุกชิ้นจะมีความใกล้เคียงหรือเหมือนกัน ตามรูปแบบ และผลิตได้อย่างรวดเร็ว เช่น โรงงานผลิตแก้วสำหรับใส่ เครื่องดืมต่างๆ