ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง
“ยุคแรก ของเครื่องปั่นดินเผาจีน”
ประวัติเครื่องปั้นดินเผาของจีนเริ่มในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งในสมัยนั้นเครื่องปั้นดินเผายังไม่มีการเคลือบ ในยุดแรกเครื่องปั้นดินเผาของจีนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
ลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา ( Yang Shao Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ
ลุ่มน้ำแยงซี ( Yangtze ) บริเวณมณฑลชานตุงพบ วัฒนธรรมหลงซาน ( Lung Shan Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่ง เป็นภาชนะ 3 ขา
ตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาและการค้นพบในยุคแรค
เครื่องปั้นดินเผาหลุมศพ ในมณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน ได้ถูกขุดค้นพบทั้งหม้อ 3 ขาสำหรับประกอบอาหาร ตู้สำหรับเก็บอาหารและภาชนะใส่เครื่องดื่ม รวมถึงเครื่องปั้นดินเผาสำหรับการฝังศพอีกหลายรูปแบบ บริเวณซากโบราณสถานยุคอารยธรรมยุคหินใหม่ตอนปลาย ซึ่งมีอายุย้อนกลับไปมากกว่า 4,000 ปี โดยเชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดของจีน
เครื่องปั้นดินเผา’เก่าแก่5,000ปี จากวัฒนธรรม‘หม่าเจียเหยา’
วัฒนธรรมหม่าเจียเหยารุ่งโรจน์ในยุคหินใหม่ตอนปลาย (Late Neolithic) และถูกค้นพบโดยโจฮัน กันนาร์ แอนเดอร์สัน นักโบราณคดีชาวสวีเดน ณ หมู่บ้านหม่าเจียเหยา ในช่วงทศวรรษ 1920
“วัฒนธรรมหม่าเจียเหยามีบทบาทสำคัญมากในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศของจีนตอนต้น”

“ยุคต่อมาของเครื่องปั้นดินเผาจีน การปรากฏของการเคลือบ “
ราชวงศ์จิ๋น (249 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 207 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
จะมีเครื่องปั้นที่สำคัญคือ ภาชนะ “เย่ว” (Yue ware) ทำจากเนื้อดินสีคล้ำ เคลือบด้วยน้ำเคลือบที่มีส่วนผสมของขี้เถ้าไม้และดิน ภาชนะเย่วถือได้ว่าเป็นภาชนะที่โดดเด่นของราชวงศ์จิ๋นเลยก็ว่าได้ค่ะด้วยในเรื่องของสีที่มีความคล้ำจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของ “เย่ว” และมีความนิยมทำกันแพร่หลายในช่วงนั้น การเผาของภาชนะเย่วจะเผาที่อุณหภูมิสูงเคลือบสีเขียวหรือเทา และภาชนะเย่วยังถือได้ว่าเป็นเคลือบเซลาดอนรุ่นแรกเลยนะคะ ซึ่งทำสีเขียวไข่กาและได้รับการสืบสานพัฒนาขึ้นในราชวงศ์ต่อมา
ราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช – คริสต์ศักราช 220)
ในช่วงนั้นจีนมีนโยบายผูกมิตรกับต่างชาติ การเดินทางเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าของจีนทำให้จีนได้ความรู้เรื่องน้ำเคลือบตะกั่วที่พวกโรมันใช้ในขณะนั้น ภาชนะที่เป็นเอกลักษณ์ของสมัยราชวงศ์ฮั่นก็คือภาชนะไหภูเขา(Hill Jar)คือฝาปิดภาชนะเป็นภาพภูเขา ตัวภาชนะตกแต่งด้วยภาพนูนต่ำเป็นภาพสิงสาราสัตว์ ภาพทิวทัศน์บนฝาภาชนะได้คติจากความเชื่อในเรื่องสวรรค์ ความสุข

ราชวงศ์ถัง และห้าราชวงศ์ (คริสต์ศักราช 589 – คริสต์ศักราช 617)
งานศิลปะทางเครื่องปั้นดินเผามีการพัฒนาต่อเนื่องจากราชวงศ์ที่ผ่านมา นอกจากเทคนิควิธีแบบเก่ายังมีการค้นคว้าวิธีการใหม่ๆเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะแนวนี้ให้เกิดความงามและมีคุณค่ามากขึ้นดังต่อไปนี้ค่ะ
-น้ำเคลือบตะกั่ว มีการพัฒนาก้าวไกลด้านฝีมือจนเกิดลักษณะพิเศษเป็นที่ยอมรับทั่วไปจนปัจุบันนี้คือ เครื่องปั้นที่เรียกว่า “ถังสามสี” (Tang San Cai) ลักษณะคือจะมีการใช้เคลือบสีโดยประมาณ3สีเป็นสีที่สดใสเคลือบสีเหล่านี้จะไหลน้อยๆเมื่อแต่ละสีไหลมาผสมกันจะทำให้เกิดความนุ่มนวลของสีเปรียบได้กับการระบายภาพบนกระดาษด้วยสีน้ำ

สรุปเครื่องปั้นดินเผาของ จีนก่อน พอร์สเลน เครื่องปั้นดินเผาในยุคนี้ มีการพัฒนาในรูปแบบของเคลือบของข้างน้อย และนิยมใช้สีดินที่ค่อนข้างคล้ำไม่สดใส อาจจะเป็นเพราะยุคแรกเน้นไปที่รูปแบบของการใช้งานเป็นหลักมมากกว่าความสวยงาม มีเพียงการเขียนลายด้วยสี1-2สี การพัฒนาเครื่องปั่นดินเผามักเป็นไปตามยุคของแต่ราชวงค์ ซึ้งจะมีความแตกต่างกัน และด้วย ทรัพยากร ดิน และส่วนประกอบต่างๆจึงเอื้อต่อการพัฒนาเซรามิคเป็นอย่างมาก