CINEMATIC LIGHTS

CINEMATIC LIGHTS

ตามกองถ่ายภาพยนต์หรือ Video Production ต่างๆนั้นหากมีการถ่ายทำที่อยู่ภายในห้องที่มีแสงค่อนข้างจำกัด จึงจำเป็นต้องจัดเซ็ตแสงขึ้นมาหรือแม้กระทั้งผู้จัดทำวิดีโอเหล่านั้นต้องการเซ็ตแสงทั้งหมดขึ้นเอง เพื่อให้สามารถควบคุมการถ่ายทำได้ง่าย ภาพยนต์หรือวิดีโอนั้นๆจะให้ความรู้สึกหรืออารมณ์ในแบบที่มันควรจะเป็นมากที่สุด


ในบทความ “3P Lighting – THREE POINT LIGHTING” เราได้พูดถึงเรื่องลักษณะการจัดแสงในการถ่ายทำไปแล้วสำหรับในบทความนีัเราจะมาพูดกันถึงเรื่องประเภทของไฟที่ใช้ในการถ่ายทำภาพยนต์หรือวิดีโอว่าส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้ไฟประเภทไหนในการจัดแสง และแต่ละประเภทมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร

หากคุณเห็นตามกองถ่ายคุณจะเห็นไฟมากมายหลายประเภท แต่คุณจะเห็นไฟอยู่แบบหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือไฟ Tungsten Light

TUNGSTEN HALOGEN LIGHT

มันเป็นหลอดไฟที่มีขนาดเล็ก ใช้งานง่าย สว่างและราคาไม่แพง ซึ่งจะมีลักษณะย่อยให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย มีทั้งตัวที่ให้กำลังต่ำไปจนถึงสูง มันให้แสงที่ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ สามารถใช้หลายๆจุดเพื่อกำเนิดแสงได้

Tungsten light มันมีข้อเสียคือความร้อนที่เกิดขึ้นเมื่อใช้งานไปนานๆเนื่องจากเป็นหลอดควอทซ์ที่มีไส้หลอดและก๊าซฮาโลเจนอยู่ด้านใน แต่ในทางกลับกันมันก็เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มีปริมาณมมากเพียงพอต่อการใช้งานด้วยเช่นเดียวกัน
คุณมักจะเห็นการใช้ Fresnel lens ในการควบคุมปริมาณแสงและทิศทางแสงที่เกิดขึ้น

TUNGSTEN : มักใช้ให้แสงสีส้ม แสงโทนอบอุ่น เหมาะกับการใช้ในพื้นที่ปิด เมื่อเปิดไฟทิ้งไว้นานๆจะแล้วปิดสวิตซ์จะไม่ทำให้ไฟดับทันทีแต่จะค่อยๆดับ

ข้อดี
– ให้แสงสีที่สมบูรณ์แบบ
– ราคาต่ำ
– ไม่มีสารปรอทในหลอด
– ให้อุณหภูมิสีที่ดีกว่า
– เปิดแล้วสว่างทันที
– Dimming แสงได้
ข้อเสีย
– ความร้อนสูงเมื่อใช้งาน
– ใช้พลังงานสูง
– หลอดไฟดูแลยาก ต้องเก็บรักษาและใช้งานอย่างระมัดระวัง
– ต้องมีความเชี่ยวชาญในการใช้งาน

HMI (HYDRAGYRUM MEDIUM-ARCIODIDE LAMP)

เป็นหลอดไฟที่ให้แสงพลังงานสูง มักใช้ในอุตสาหกรรม หรือตามกองถ่ายภาพยนต์ใหญ่ๆ มีลักษณะไม่เหมือนกับ Tungsten ตรงที่ใช้อิเล็กโทรดสองขั้วในการกระตุ้นปรอท สามารถแปลงไฟเป็นแสงได้มากกว่าถึง 4 เท่า

HMI มักถูกใช้ในพื้นที่กว้าง พื้นที่โล่ง ด้านนอกอาคาร ในฉากที่ที่ต้องการแสงเพื่อโฟกัสตัววัตถุหรือบุคคลเพิ่ม แต่มีข้อเสียก็คือต้องใช้เวลาในการเซ็ตนานกว่าไฟประเภทอื่นๆเนื่องจากมันมีขนาดใหญ่และจำเป็นต้องเปิดให้ชาจแสงส่องสว่างอย่างเต็มที่ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาทีก่อนถึงจะสามารถนำไปใช้ถ่ายทำได้ และในการย้าย 1 ครั้งต้องปิดไฟก่อนเพราะหลอดมีความเปราะบาง

ข้อดี
– ให้แสงสว่างที่สูงมาก
– ประสิทธิภาพสูง
– อุณหภูมิสีที่สูง
ข้อเสีย
– ค่าใช้จ่ายสูง ต้นทุนทั้งหลอดและอุปกรณ์ประกอบสูง
– ใช้พลังงานสูง
– หาก Dimming แสงจะทำให้สีเพี้ยน ต้องใช้ Softbox ในการควบคุมแสงแทน
– ต้องใช้งานอย่างระมัดระวังหากตกหล่นแตกอาจเกิดการระเบิดของแก๊ส

FLUORESCENT LIGHT

เป็นหลอดไฟประเภทที่เราใช้กันตามบ้านทั่วๆไป ที่ด้านในมีแก๊สที่ผลิตแสงผ่านปฎิกิริยาเคมีกับปรอทส่องออกมาเป็นแสงยูวีในหลอดแก้ว สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั้งที่เป็นหลอดยาวและหลอดไส้ ให้แสงที่สม่ำเสมอและใช้พลังงานน้อย ใช้งานได้ง่ายเพียงแค่มี Softbox หรือ อุปกรณ์กันแสงอื่นๆก็สามารถควบคุมแสงได้แล้ว

FLUORESCENT LIGHT : สามารถใช้หลอดไฟประเภทนี้ส่องแสงตกกระทบใกล้ๆกับตัววัตถุได้ไม่ทำให้แสงสะท้อนมากเกินไป กะทัดรัด มีอุณหภูมิเมื่อใช้งานต่ำกว่า Tungsten & HMI
ข้อดี
– ประหยัด
– ใช้พลังงานน้อย
– มีอายุการใช้งานนาน
– อุณหภูมิต่ำ
– ให้แสงที่ Soft
– มีปริมาณแสงที่สม่ำเสมอ
ข้อเสีย
– แสงอาจมีการกระพริบ
– คุณภาพของแสงต่ำ

FLUORESCENT LIGHT
Image : https://www.cined.com/common-types-of-film-lights/

LED (LIGHT EMITTING DIODE)

LED เป็นไฟที่มีประสิทธิภาพสูง และสามารถเลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย แต่มีข้อจำกัดคือการให้แสงในพื้นที่กว้างๆที่ยังคงสู้ประเภทอื่นๆไม่ได้ ตามปกติแล้ว LED เป็นแสงที่มีลักษณะเป็นสีเขียว และใช้การผสมสีเพื่อให้เกิดแสงสีขาวขึ้นมา

LED สามารถใช้งานได้ง่ายเพียงแค่ต่อกับแบตเตอรี่ก็ใช้งานได้แล้ว พกพาได้สะดวกเหมาะกับฉากที่ต้องการแสงแต่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถยกไฟเซ็ตใหญ่ไปติดตั้งได้ อุปกรณ์เชื่อมต่อน้อยสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้สะดวกตามสถานการณ์

ข้อดี
– ให้แสง Soft และแสงที่สว่างได้
– เป็นแสงบริสุทธิ์ที่ไม่มี UV
– ใช้พลังงานต่ำ
– Dimming แสงปรับลดเพิ่มความเข้มข้นแสงได้
– อายุการใช้งานนาน
– เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
– ใช้งานง่าย เคลื่อนย้ายง่าย ไม่มีความเสี่ยงในความเสียหายของตัวหลอด
ข้อเสีย
– ต้นทุนต่อหลอดสูง ยิ่งอยากได้แสงที่มีปริมาณมาจะเสียต้นทุนที่สูงตาม

สำหรับ LED เมื่อเทียบกับ Fluorescent แล้วจะให้แสงที่ค่อนข้างเฉพาะจุดมากกว่า ดังนั้นหากต้องการใช้แสงที่มีปริมาณกว้างๆควรใช้หลอดประเภท Flourescent จะดีกว่าตามภาพตัวอย่างด้านล่าง

และอีกจุดหนึ่งคือแสงจาก LED นั้นให้แสงที่มีมิติ ดูอิ่ม และขับสีที่สดให้แก่ภาพมากกว่า Flourescent

หลอดไฟทั้ง 4 ชนิดนั้นถูกใช้งานในงานกองถ่ายภาพยนต์ งานสร้างวิดีโอที่เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบันกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งการเลือกใช้งานในแต่ละชนิดนั้นควรดูวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แต่ละประเภทเหมาะสมกับสถานการณ์ทีแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานต้องการ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.