Camera Angle, Shot, Movement

Camera Angle, Shot, Movement

ในบทความที่แล้ว Camera Shot Size สำหรับในบทความนี้เราจะมาคุยกันต่อในเรื่องของมุมถ่ายอื่นๆที่ไม่ใช่มุมตรง 45 องศาจากด้านหน้าของนักแสดงหรือตัววัตถุ ซึ่งมุมเหล่านั้นมักจะเป็นมุมเอียงๆ มุมเฉียงๆที่แตกต่างกันไปตามองศาที่ทำมุมกับนักแสดงหรือวัตถุนั้นๆ

Dutch angle

Dutch angle เป็นเทคนิคที่ถูกใช้ครั้งแรกในปีคศ. 1920 ซึ่งถูกใช้คำว่า Dutch ที่มาจากภาษาดัตซ์ที่มีโครงสร้างภาษาคล้ายๆกับภาษาเยอรมณีแต่จะรู้สึกแปลกเมื่อได้ยิน เช่นเดียวกับมุม Dutch angle ที่จะเป็นเหมือนมุมองศาแปลกๆที่ผู้กำกับต้องการถ่ายทอดให้ออกมาในแบบนั้น และถูกใช้งานเป็นเทคนิคในการถ่ายทำในเยอรมันก่อน จนกลายเป็นกระแสในอุตสาหกรรมภาพยนต์ของฮอลลีวูดในภายหลัง

โดย Dutch Angle นั้นจะสร้างความแตกต่างจากการทำมุมองศาในการถ่ายทำกับแกน X มันจะมีความรู้สึกหรือจังหวะที่ดูแตกต่างกันไปตามองศาที่ถูกปรับเปลี่ยน ตัวอย่างภาพยนต์ด้านล่างจะสามารถยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ โดยวิดีโอตัวอย่างจะค่อยๆประบองศาออกจากแกน X เพิ่มขึ้นเรื่อยๆทำให้เราเห็นความรู้สึก อารมณ์ และจังหวะในการถ่ายทอดที่แตกต่างกันไป

หากเราเจาะลึกลงมาเรื่องของมุม Dutch Angle แล้วการถ่ายทำ Shot ที่มีมุมแปลกๆแบบนี้ต้องคำนึงถึงเรื่องการใช้ให้ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมเป็นหลัก ซึ่งมันส่งผลให้กับฉากอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันหรือต่อกันด้วย มุมเอียงๆเหล่านั้นอาจทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าเฟรมเบี้ยวดังนั้นการดึงอารมณ์ให้เข้ากับตัวอละครหรือสถานการณ์นั้นๆในภาพยนต์ก็เป็นส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน

Quentin Tarantino ก็ใช้มุม Dutch ในการถ่ายทำหนังเรื่อง Inglorious Basterds ตลอดเวลา มักเป็นช็อตที่กำลังเกิดเรื่องร้ายๆขึ้นและตัวละครกำลังจะยื่นข้อเสนอบางอย่าง ช็อตแบบนี้ถูกใช้บ่อยครั้งในภาพยนต์หลายๆเรื่องที่เราได้ชมกัน

Quentin Tarantino ก็ใช้มุม Dutch ในการถ่ายทำหนังเรื่อง Inglorious Basterds
Image : https://s.studiobinder.com/wp-content/uploads/2019/01/Dutch-Angle-Shots-Example-Dutch-Tilt-Inglorious-Basterds.jpg.webp?resolution=2560,1

และในบางครั้งคุณก็จะเห็นการใช้มุม Dutch ในการสื่อสารฉากบางฉากที่ดูบิดเบี้ยวจริงๆหรือเป็นภาพเหนือจินตนาการเพื่อให้ความรู้สึกแบบนั้นเกิดขึ้นมาจริงๆ เช่นฉากในภาพยนต์เรื่อง Inception

เรื่อง Harry Potter ที่ถูกใช้ในฉากที่กำลังจะเข้าสู่ฉากตื่นเต้น ฉากลุ้นระทึกก็ได้เช่นเดียวกัน

Low Angle Shot

หนึ่งในมุมที่ช่วยให้ตัวละครของคุณดูแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เป็นมุมเสยที่กล้องถ่ายจากจุดที่ต่ำกว่าใบหน้าหรือตัวละคร ซึ่งหากถูกเสยขึ้นจากระดับสายตาของตัวละครจะถูกเรียกว่า Low Angle Shot หมด คุณอาจเห็นช็อตที่ถ่ายจากจุดที่ต่ำกว่าเท้าจากบางฉากก็เป็นได้

  • มักเป็นช็อตที่ทำให้ตัวละครหรือตามภาพยนต์ฮีโร่ดูแข็งแกร่งขึ้นได้
  • ในขณะเดียวกันก็สามารถทำให้ตัวละครดูอ่อนแอลงได้เช่นเดียวกันหากใช้วัตถุอื่นๆมาเทียบ
  • ใช้บอกความสูงของบางสิ่งได้ เปรียบเทียบให้เห็นขนาดความสูงได้ชัดเจน

ช็อตจากภาพยนต์เรื่อง The Matrix ที่ใช้สื่อสารโดยไม่ต้องบรรยายให้มีความรู้สึกว่าตัวละครกำลังหาอะไรสักอย่างอยู่ที่อยู่ในบริเวณนั้นแต่ยังไม่เจอจากมุมกล้อง Low Angle

Low Angle Shot  The Matrix
Image : https://s.studiobinder.com/wp-content/uploads/2018/07/Low-Angle-Shot-Low-Angle-Example-The-Matrix.jpg.webp?resolution=1680,2&resolution=2560,1

ความยากของการถ่ายทำมุมแบบนี้คือความต่อเนื่องของฉากที่ต้องสมูทและให้ความรู้สึกเดียวกันกับฉากก่อนหน้า เพื่อสามารถดึงอารมณ์หรือความรู้สึกผู้ชมให้อินกับสถานการณ์นั้นๆได้

มุม Low angle นั้นสามารถใช้ร่วมกันกับมุม Dutch angle ได้เช่นเดียวกันโดยแบ่งแยกหน้าที่ออกชัดเจน เพื่อให้เห็นภาพฉากจากภาพยนต์เรื่อง Mission Impossible(1996) ที่อีธานกำลังถูกกดดันจากบางอย่างโดยใช้มุม Dutch angle เพื่อสื่อสารให้รู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติและใช้มุม Low angle เพื่อสร้างความอึดอัดให้กับฉากเพิ่มความกดดัน

High angle shot

เป็นช็อตที่ถ่ายจากมุมสูงลงมาสู่ตัวละครหรือวัตถุ เกิดจากการถ่ายทำที่ใช้กล้องถ่ายจากมุมที่สูงกว่าตัวละครหรือสังเกตุได้โดยสูงกว่าระดับสายของนักแสดงนั้นเอง

  • ใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการบรรยายถึงบทบางอย่าง
  • ใช้กระตุ้นอารมณ์ของฉากนั้นๆ
  • เล่าบรรยายข้อมูลตัวละคร

คุณมักจะเห็นการใช้ High angle shot ในช็อตที่ต้องการสื่อให้เห็นภาพในมุมอื่นๆที่มองไม่เห็น ถูกใช้ในฉากที่กำลังจะต่อสู้ในฉากที่มีพื้นที่กว้างๆหรือมีคนจำนวนมากมันช่วยสร้างภาพที่ทำให้เหมือนมีผู้คนอยู่เยอะๆได้

อีกฉากที่มักถูกใช้บ่อยกับมุมลักษณะนี้คือการเล่นกับความกลัวโดยธรรมชาติของมนุษย์ที่มักจะกลัวเมื่อจะตกลงมาจากที่สูงๆ ในการถ่ายทำฉากที่ต้องการทำให้ผู้คนรู้สึกกลัวก็จะถูกใช้ช็อต high angle เพื่อเพิ่มความน่ากลัวได้

High angle shot

A Pan shot

แพนช็อตหรือแพนกล้องคือการถ่ายทำแบบที่ติดตามกับวัตถุหรือบุคคลที่กำลังเคลื่อนไหว มักใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงเพื่อให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้นจากรถที่กำลังวิ่งหรือแสงไฟจากฉากที่คนกำลังเดินอยู่บนถนน

Pan shot เป็นช็อตที่อยู่ในภาพยนต์เกือบจะทุกๆเรื่อง เทคนิคนี้ต้องให้ความสำคัญกับอุปกรณ์คือกล้องถ่ายที่สามารถแพนได้อย่างสะดวกและไม่ติดขัด มันจะช่วยคุณเล่าเรื่องได้เป็นอย่างดี

อีกหนึ่งฉาก Whip Pan ในประวัติศาสตร์ภาพยนต์ที่เป็นหนังดัง จากวิดีโอตัวอย่างด้านล่างที่แสดงให้เห็นเบื้องหลังการถ่ายทำฉากเล่นดนตรีจากภาพยนต์เรื่อง La La Land ที่กำกับโดย Damien Chazelle และนำแสดงโดย Ryan Gosling, Emma Stone

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.