จากบทความที่แล้ว Camera Angle, Shot, Movement เราได้พูดถึงมุมในการถ่ายทำภาพยนต์ที่เป็นมุมในการเล่นองศาแปลกๆและใช้การสร้าง movement เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับภาพ สำหรับในบทความนี้เราจะมาพูดกันต่อในเรื่องของมุมถ่ายที่เป็นที่นิยมกันอีกเพิ่มเติม เพื่อให้คุณสามารถนำไปใช้ในงานถ่ายวิดีโอหรือภาพยนต์ให้ดูน่าสนใจได้
Overhead Shots
เป็นมุมที่เราสามารถพบเห็นกันได้อย่างบ่อยครั้ง มักถูกใช้ในซีนที่กำลังเล่นกับเรื่องอารมณ์ ความรู้สึกของตัวละคร โดยมีเทคนิคเมื่อจะใช้โดยต้องคำนึงว่ามุมเหล่านี้จะต้องไม่โผล่มาแบบกระทันหันมันอาจจะทำให้ผู้ชมถูกดึงออกจากภาพยนต์เลยจากที่เคยอินกับฉากอยู่ก็ได้ อาจต้องคำนึงถึงฉากก่อนหน้าและฉากต่อไปด้วย มุม Overhead shots สามารถใช้ถ่ายได้เหนือนักแสดงและวัตถุ นอกไปจากนั้นยังใช้ร่วมกับเทคนิคการแพนกล้องสร้าง Movement ให้กับภาพได้

Overhead shot เป็นการถ่ายภาพจากด้านบนของวัตถุหรือบุคคลที่อยู่ในลักษณะมุม 90 องศาตั้งฉาก หรือมักถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามุม Bird’s eye view ซึ่งการถ่ายแบบนี้นั้นมากทำได้ยากเนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการถ่ายเพื่อให้ดุสมูทมากที่สุด และนอกไปจากนั้นอาจเกิดข้อจำกัดจากสถานที่ถ่ายทำอีกด้วยเช่นเดียวกัน
มักใช้เมื่อ
- มีการถ่ายฉากลักษณะแนวตั้ง
- สร้างอารมณ์และส่งพลังให้กับผู้ชม
- เมื่อต้องการลดตัวละครและโฟกัสเพียงแค่บางตัวละครให้เด่นมากขึ้น
ลองดูตัวอย่างการใช้มุม Overhead จากภาพยนต์เรื่อง Minority Report ด้านล่างจะเห็นได้ว่าถูกใช้ในฉากไล่ล่าที่ถ่ายทำออกมาได้อย่างต่อเนื่องและสามารถเก็บอารมณ์ของหนังได้จนจบฉาก
อีกหนึ่งตัวอย่างที่ใช้มุม Overhead shot ในการถ่ายทำเป็นฉากจากภาพยนต์เรื่อง Arbogast Meets Mother (1960) ที่มีจุดประสงค์ในการใช้คือไม่ต้องการให้รู้ว่าฆาตรกรในฉากเป็นใคร
และอีกฉากที่เราพบเห็นกันบ่อยๆคือการใช้เพื่อถ่ายโชว์จังหวะจัดแจงอุปกรณ์หรือกำลังทำอะไรอยู่
The tilt shot
สำหรับในแนวนอนหากมีการแพนกล้องไปตามแนวระนาบจะเรียกว่าเทคนิคการแพนกล้อง แต่หากเป็นการเก็บภาพที่มี Movement ในแนวตั้งจะถูกเรียกว่าการถ่ายแบบ tilt shot ซึ่งสามารถสื่อภาพออกมาที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าคุณกำลังก้มและเงยหน้าขึ้นนั่นเอง
มักถูกใช้เมื่อ
- ในฉากเริ่มต้นที่กำลังจะนำไปสู่สถานที่บางแห่งหรือกำลังอินโทรเพื่อเข้าฉากบางอย่าง
- ถ่ายเข้าฉากที่อยู่ในพื้นที่ขนาดใหญ่
- แต่สำหรับการแพนขึ้นด้านบนสามารถเพิ่มให้ตัวละครดูอ่อนแอลงได้
The Dolly Shot
การถ่ายดอลลี่ช็อตเป็นการถ่ายทำแบบติดตามวัตถุ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของวัตถุหรือบุคคลนั้นๆในฉาก ซึ่งตามที่คุณเห็นทั่วๆไปตามกองถ่ายอุปกรณ์ที่ช่วยในการถ่ายดอลลี่คือรางลักษณะเหมือนกับรางรถไฟขนาดเล็ก ซึ่งรางเหล่านั้นสามารถติดตั้งได้ตามความต้องการของการถ่ายทำทั้งในลักษณะวงกลม เส้นตรง หรือซิกแซค นอกไปจากนั้นการใช้รถเพื่อถ่ายทำก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

มักถูกใช้เมื่อ
- มีการถ่ายทำแบบเคลื่อนไหวที่ต้องดูสมูทราบรื่น
- ดอลลี่เพื่อเข้าเน้นบทสนทนา อารมณ์ จังหวะสำคัญ หรือช่วงเวลาไคล์แม็ก
- เคลื่อนออกจากตัววัตถุหรือบุคคลเพื่อตัดอารมณ์หรือเพื่อให้มองเห็นสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัว
โดยเรายกตัวอย่างจากภาพยนต์เรื่อง Joker 2019 เป็นการดอลลี่ในลักษณะด้านข้าง
และการดอลลี่จากด้านหน้า ก็สามารถดูตัวอย่างด้านล่าง จากภาพยนต์เรื่อง Do the right thing (1989) เป็นเหมือนยุคบุกเบิกการถ่ายทำแบบดอลลี่ติดตามตัวละครจากด้านหน้ามาหลังจากนั้น
Zoom Shots
ช็อตซูมสามารถถ่ายได้โดยปรับเลนส์โฟกัสของกล้องเข้ามาให้ใกล้มากขึ้นขณะที่ถ่ายทำ แต่หากการหมุนเลนส์แบบ manual อาจทำให้ภาพวิดีโอที่ออกมาดูสั่น แต่สำหรับกล้องที่มีไว้สำหรับถ่ายภาพยนต์ จะมีระบบซูม wireless เพื่อให้ภาพออกมาดูสมูทมากที่สุด และเทคนิคการถ่ายซูมช็อตนั้นมักใช้ประกอบกับเทคนิค การดอลลี่ (Dolly)
มักถูกใช้เมื่อ
- ต้องการดึงดูดความสนใจไปที่รายละเอียดบางอย่างในฉากนั้นๆ
- เพิ่มพลังให้กับตัวละคร สร้างความยิ่งใหญ่
- เน้นย้ำในซีนดราม่าหรือตลกขบขัน
จากตัวอย่างด้านบนคุณจะเห็นลักษณะการถ่ายแบบ Zoom shot แต่หากดูไปในช่วงท้ายๆคลิปช่วงวินาทีที่ 22 จะเป็นตัวอย่างการใช้เทคนิคซูมที่เรียกว่า Dolly Zoom shot ที่เป็นการผสมระหว่างการซูมกับการดอลลี่นั่นเอง
การซูมออกเป็นเทคนิคที่มีไว้ใช้ในตอนที่ต้องการให้เห็นสภาพอารมณ์หรือความรู้สึกของตัวละครก่อนที่จะขยายภาพให้กว้างขึ้นเพื่อให้เห็นสภาพแวดล้อม บริบทรอบๆตัว ลองดูตัวอย่างการใช้จากคลิปตัวอย่างด้านล่างนี้จากภาพยนต์เรื่อง Barry Lyndon (1975)
และมีการซูมอีกประเภทที่เรียกว่า Crash Zoom มันคือการซูมภาพเข้าหรือออกอย่างรวดเร็ว ซึ่งช็อตในลักษณะนี้จะเป็นการใช้กับฉากที่กำลังจะเข้าสู่ฉากแอคชั่นมากกว่า
Over the shoulder shot (OTS)
เป็นช็อตที่ถ่ายทำโดยการวางกล้องไว้ด้านหลังของนักแสดง และถ่ายผ่านไหล่ มันสามารถช่วยในการสื่อสารภาพเมื่อมีคนสองคนที่กำลังคุยกัน สร้างความสัมพันธ์ให้กับตัวละครและคนดูได้เป็นอย่างดี
มักถูกใช้เมื่อ
- ปรับทิศทางการมองของคนดูจากฉากๆหนึ่งเปลี่ยนเป็นอีกฉาก
- สร้างความเข้าใจให้กับตัวละครในบทสนทนา

การใช้ช็อต OTS นั้นจะทำให้ตัวละครที่กำลังพูดอยู่ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว เพิ่มอารมณ์ร่วมระหว่างสองตัวละคร หรือหากไม่ใช่ภาพยนต์ก็มักจะถูกใช้ในวิดีโอที่เป็นการสัมภาษณ์ เป็นต้น
ขอยกตัวอย่าง Over the shoulder shot หรือเรียกอีกอย่างว่า ช็อตปาดไหล่ ในภาพยนต์เรื่อง The Godfather


นอกไปจากนั้นการใช้ช็อตผ่านไหล่สามารถปรับมุมกล้องเข้าให้เห็นแคบๆและออกให้เห็นกว้างๆได้ทั้งสองมุมมองเพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับซีนบทสนทนานั้นสร้างความน่าสนใจให้มากยิ่งขึ้น
The two shot
เป็นช็อตที่มักถูกใช้ในฉากโรแมนติก ความตึงเครียดระหว่างสองตัวละคร ฉากแอคชั่น เป็นอีกหนึ่งช็อตที่ช่วยผู้กำกับได้มากในการสร้างปฏิกริยาของตัวละครสองตัวที่กำลังจะประทะกันหรือมีความสัมพันธ์บางอย่างกัน
/cdn.vox-cdn.com/uploads/chorus_image/image/64903594/MV5BOWZmMGVhMzktMjQ2OC00MTRjLWJjMTgtZDE4NmRjZTkwMzQ2XkEyXkFqcGdeQW1yb3NzZXI_._V1_.0.jpg?w=1200&ssl=1)
สองช็อตมีทั้งแบบที่หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ตรงกันข้ามกัน หรือมองหน้ากันก็สามารถใช้ได้ล้วนขึ้นอยู่กับบริบทของตัวละครเหล่านั้นที่ต้องการให้สื่อสารออกมา และคุณมักจะเห็นการใช้สองช็อตในการทำโปสเตอร์ภาพยนต์เพื่อโปรโมทอยู่บ่อยครั้ง


