ก่อนที่เราจะมารู้จักกับ “Kintsugi. ไอเดียใช้โดยไม่มีทอง” อยากจะให้เข้าใจถึงที่มาและความหมายของ” Kintsugi. “ก่อนว่าคืออะไร
Kintsugi มาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งภาษาญี่ปุ่น 金:คิน แปลว่า ทอง / 継ぎ: ซึกิ แปลว่า แปะ, ต่อ, ซ่อม ซึ่งจะแปลได้ว่าซ่อมด้วยทองนั่นเอง
ประวัติความเป็นมาของ ” Kintsugi. “
ประวัติความเป็นมาของคินสึงินี้ เริ่มมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 15 โชกุน Ashikaga Yoshimasa อาชิคางะ โยชิมาสะ ส่งถ้วยชาที่แตกแล้วไปซ่อมที่จีน จากนั้นจีนก็ส่งถ้วยชากลับมายังญี่ปุ่นอีกครั้ง มันถูกซ่อมให้ดู ไม่ค่อยสวย กว่าเดิมด้วยการใช้ลวดเย็บแปะมาตามรอยแตกของถ้วยชานั้น ช่างฝีมือญี่ปุ่นจึงนำกลับมาซ่อมให้ดีขึ้นเสมือนเป็นถ้วยชาใบใหม่ด้วยเทคนิคคินสึงินั่นเอง
ในสมัยก่อนจานชามเซรามิคนั้นมีราคาแพงมากไม่ว่าจะเป็น Bone china หรือ Poreclain เมื่อจานหรือชามแตก คนญี่ปุ่นสมัยก่อนมีแนวคิดซ่อมจานชามที่แตกด้วยยางรักและทอง ทำให้เราสามารถนำจานชามที่แตกเหล่านั้นนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งจะได้จานที่มีลวดลายสีสวยงามมากขึ้นอีกด้วย แต่ในปัจจุบันนี้มูลค่าของทองนั้นสูงกว่ามูลค่าของจานชามเซรามิคมาก เทคนิค Kintsugi จึงไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน แต่เราก็สามารถนำเทคนิค Kintsugi มาประยุกต์ใช้หรือตกแต่งจานชามเซรามิคให้มีความสวยงามมากขึ้นและยังช่วยเพิ่มมูลค่าของจานเซรามิคได้
“ปรัชญาของ KINTSUGI”
Kintsugi ได้กลายเป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตคล้ายกับ wabi-sabi ที่ประกอบด้วยการยอมรับความไม่สมบูรณ์และข้อบกพร่อง ในไม่ช้าเทคนิคนี้ก็ได้รับความนิยมและแพร่กระจายไปยังวัตถุและประเทศอื่น ๆ เช่นจีนและเกาหลี
ชาวญี่ปุ่นพยายามที่จะรักษาความสมบูรณ์แบบอยู่ตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริงทุกคนทำผิดพลาดบางคนพยายามซ่อนสิ่งเหล่านี้ ปรัชญาของ Kintsugi ไม่ใช่การซ่อนข้อบกพร่องเหล่านี้ แต่ให้พิจารณาในทางบวกและมีคุณค่า
เชื่อกันว่าคินสึงิมีความเกี่ยวข้องกับมัสชินปรัชญาของญี่ปุ่น [無心] ซึ่งแปลว่า “ไม่สำคัญ” และครอบคลุมแนวคิดเรื่องการไม่ยึดติดยอมรับการเปลี่ยนแปลงและโชคชะตา
ขั้นตอนการทำ “Kintsugi”
“Kintsugi”ที่ทำโดยไม่ใช้ทอง มีทั้งหมด2 วิธี คือ การใช้ทองแค่10%และการใช้สารทดแทนทอง ในตัวเชื่อม
โดยจะอธิบายจากการใช้ จากการทำ”Kintsugi”แบบใช้ทอง เพราะมีวิธีการทำที่เหมือนกันเพียงแต่เป็นการลดส่วนผสมของทอง และการใช้สารทดแทนผงทองที่มีราคาสูง
“วิธีการทำ อุปกรณ์ “
1.การทำให้ยางรักแข็งตัว
ขั้นตอนที่จะทำให้การซ่อมถ้วยชามด้วยวิธี คินสึงิ ให้ออกมาคงทนและสวยงาม ต้องมีการเตรียมตัวดังนี้
อุปกรณ์ที่ต้องมี ยางรัก, คอตตอนบัด ทำจากผ้าใยธรรมชาติ

เริ่มจากทายางรักทั่วบริเวณที่ต้องการซ่อมแซม ในระหว่างที่ยางรักยังไม่แห้งให้รีบเช็ดทำความสะอาดส่วนที่เลอะออกไป

นำไปวางลงในกล่องที่มาในเซ็ต ทิ้งไว้ 1 คืนให้ยางรักแห้ง อาจจะลองทารักลงบนกระดาษแล้ววางไว้ด้วยกัน เมื่อผ่านไป1คืนแล้วลองเอาคอตตอนบัดเช็ดดู หากสียางรักไม่ติดขึ้นมาก็หมายความว่า รักแห้งสนิดแล้ว (ข้อสำคัญคือ)ความชื้นก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้ยางรักแห้ง ดังนั้นควรใส่กล่องที่มากับเซ็ต หรือถ้าหากรักแห้งช้ากว่าปกติให้ใช้กระดาษทิชชู่ชุบน้ำ แล้วนำไปวางในมุมกล่องเพื่อปรับความชื้นให้เหมาะสม
2.การขึ้นรูปซ่อมแซมส่วนที่แตกบิ่นด้วย(โคคุโซะ)
การขึ้นรูปซ่อมแซมส่วนที่แตกบิ่น มีขั้นตอนดังนี้
อุปกรณ์ที่ต้อง,มียางรัก ,ใยสำลี , ขี้เลื่อย , ไม้พลาสติก , แผ่นไม้ไผ่ , โต๊ะระดับ(แผ่นรอง), เม็ดข้าว,คัตเตอร์,คอตตอนบัด (ทำจากผ้าใยธรรมชาติ)
นำเม็ดข้าวมาบนด้วยไม้พลาสติก ให้ละเอียดและเหนี่ยวเป็นก้อน

เมื่อบดข้าวละเอียดแล้ว นำยางรักผสมลงไปในอัตราส่วนที่เท่ากัน

นำใยสำลีและขี้เลื่อยมาผสมลงไปให้เข้ากันอีกที

ผสมแล้วปั้นออกมาให้ได้ขนาดประมาณติ่งหูก็จะได้ “โคคุโซะ” ที่สามารถเอาไปขึ้นรูปซ่อมแซมส่วนที่แตกหัก

นำ “โคคุโซะ” ไปขึ้นรูปส่วนที่บิ่นของจานชามด้วยไม้ไผ่ แล้วใช้มือจัดแต่งรูปร่าง
【เทคนิค】ใช้นิ้วแตะกับขี้เรื่อยก่อนจัดแต่งรูปร่าง เพราะจะทำให้ยางรักไม่ติดมือ และง่ายต่อการจัดแต่งรูปร่างอีกด้วย
จัดเก็บใส่ลงในกล่อง ทิ้งให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ (ถ้าเป็นการซ่อมรอยแตกให้ทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์) อาจจะลองทากับกระดาษทิ้งไว้เพื่อสังเกตุเปรียบเทียบกันว่าแห้งสนิดหรือไม่ เมื่อยางรักแห้งสนิดแล้ว ให้แต่งรูปทรงโคคุโซะด้วยคัตเตอร์หรือกระดาษทรายในส่วนที่ยื่นออกมา 【เทคนิค】เวลาใช้คัตเตอร์หรือหินขัดในการแต่งรูปควรระมัดระวังอย่าให้ส่วนที่ซ่อมแซมหลุดออกมา แต่ถ้าทำหลุดอย่าพึ่งทิ้งออก เพราะสามารถใช้ยางรักทาและนำมาติดอีกครั้งก็ได้
3.ขั้นตอนการติดยางรัก(ซาบิอุรุชิ) และการขัดขึ้นรูป
เพื่อให้ส่วนที่ซ่อมแซมมีความแข็งแรงสวยงามจึงต้องมีการทายางรัก ลงไปในส่วนที่ละเอียด
อุปกรณ์ที่ต้องมียางรัก ,ผงดินสอพอง, ไม้พลาสติก , แผ่นไม้ไผ่ , หินขัด ,โต๊ะระดับ(แผ่นรอง), น้ำ,ชามสังกะสี,คอตตอนบัด (ทำจากผ้าใยธรรมชาติ)

นำผงดินสอพองมาผสมกับน้ำ แล้วผสมให้เข้ากันจนเหนียว

นำยางรักมาผสมในอัตราส่วน 1 ต่อ 5 คลุกเคล้าให้เข้ากัน ก็จะได้ยางรัก(ซาบิอุรุชิ)

นำไม้ไผ่ค่อยๆทายางรัก(ซาบิอุรุชิ) เคลือบลงไปที่ตัวงาน แล้วนำไปตากให้แห้งสนิด (อย่างน้อยประมาณ 4-5 วัน)

เมื่อแห้งดีแล้ว นำชามสังกะสีใส่น้ำและนำหินขัดแช่ลงไปให้ชุ่ม หลังจากนั้นนำหินขัดแล้ว ขัดส่วนที่ซ่อมแซมให้ได้รูปทรงอย่างสวยงาม และนำไปตากไว้ให้แห้งอีก 1 คืน
4.ขั้นตอนการทาปิด /และขัดเงา
ขั้นตอนนี้จะเป็นการทายางรักปิดทับให้เรียบและป้องกันน้ำที่จะซึมเข้าไปในจุดที่ซ่อมแซม
อุปกรณ์ที่ต้องมียางรักสีน้ำตาลแดง(เบนงาราอุรุชิ),หินขัด, ชามสังกะสี,น้ำ, คอตตอนบัด (ทำจากผ้าใยธรรมชาติ)

นำยางรักสีน้ำตาลแดง(เบนงาราอุรุชิ)ที่อยู่ในเซ็ตมาทาทับจุดที่ซ่อมแซม ทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 3-4 วัน【เทคนิค】หากทาหนาไปอาจทำให้มีรอยแตกเวลายางรักแห้ง ดังนั้นให้ทาบางๆด้วยความละเอียดอ่อน

หลังจากยางรักที่ทาแห้งแล้ว ให้นำชามสังกะสีใส่น้ำแช่ด้วยหินขัด วางส่วนที่ซ่อมแซมกับพื้นและค่อยๆขัดให้เรียบ เช็ดด้วยผ้าให้แห้ง และตากทิ้งไว้ 1 คืนให้แห้งสนิด
※การเคลือบสีและขัดให้เงานั้น สามารถทำซ้ำกี่ครั้งก็ได้ เพราะยิ่งทำซ้ำก็จะมีความทนทานมากขึ้น และรูปทรงก็สวยมากยิ่งขึ้น
5.ขั้นตอนการปิดทอง
และก็มาถึงขั้นตอนการปิดทองแล้วค่ะ มาเริ่มกันเลย
อุปกรณ์ที่ต้องมี ยางรักสีน้ำตาลแดง(เบนงาราอุรุชิ),สำลี,ผงทอง, กระดาษสีขาว
※ควรปูพื้นด้วยกระดาษขาว เพื่อรองเก็บผงทองที่ตกไว้ใช้ในครั้งต่อไป กระดาษสีขาวทำให้เห็นผงทองได้

นำยางรัก(เบนงาราอุรุชิ)มาทาอีกครั้ง และควรทาผงทองให้เรียบเนียน เพราะจะออกมาเรียบเนียนและสวยงามมากขึ้น ดังนั้นจึงควรทาช้าๆอย่างปราณีต หลังจากทายางรักเสร็จแล้วให้นำไปวางในกล่อง ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพราะจะทำให้ผงทองติดง่ายค่ะ

เมื่อครบ 30 นาที ยกออกจากกล่อง และใช้สำลีแตะผงทองแล้วค่อยๆโปะเบาๆบริเวณยางรัก แนะนำว่าให้แตะทองเยอะๆเพื่องานจะได้ออกมาสวยงาม เสร็จแล้วทิ้งให้แห้งประมาณ 3-4 วัน
【เทคนิค】ระหว่างขั้นตอนนี้สีของยางรักที่ใช้อาจจะโผล่ออกมาได้ ดังนั้นควรจะเติมผงทองเรื่อยๆให้ทั่วถึง

เมื่อแน่ใจว่าแห้งแล้ว นำคอตตอนบัดชุบน้ำเพื่อเช็ดผงทองที่เลอะออก
【เทคนิค】ควรเช็คให้แน่ใจว่ายางรักนั้นแห้งจริงแล้วถึงจะทำขั้นตอนนี้ได้ เพราะถ้ายางรักไม่แห้งจะทำให้ผงทองที่ปิดไว้เลอะออกมาได้
6.ขั้นตอนการฝังผงทอง/ขัดให้เงาขึ้น
มาถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้วค่ะ ขั้นตอนการทำให้ผงทองติดฝังแน่นมากขึ้น
อุปกรณ์ที่ต้องมี ยางรัก,หินอ่อน, กระดาษทิชชุ่

นำยางรักมาทาทับบนผงทองและใช้กระดาษทิชชู่เช็ดออกทันที โดยใช้นิวกดทับแล้วเช็ด เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ เมื่อเช็ดเอายางรักออกหมดแล้วทิ้งให้แห้งอีกประมาณ 1 คืน

เมื่อแห้งแล้ว นำหินอ่อนขัดส่วนที่ลงผงทองให้อยู่ทรงรูป ก็เป็นการเสร็จสิ้นทุกขั้นตอน

สารที่ใช้ทดแทนทองแท้ในการทำ “KINTSUGI”
BG810 (10%) เป็นน้ำทองแท้10% เหมาะสำหรับคนที่ชอบความเงางามของทอง ให้ความสมจริงเหมือนกับเทคนิค Kintsugi ที่ใช้ผงทองจริง เผาที่อุณหภูมิ 780-820 องศาเซลเซียส

การใช้ 58MT1001 Metallic Gold (Ongalze) เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการใช้ทองจริง ซึ่ง Metallic Gold ตัวนี้ข้อดีคือสามารถทำนูนได้ โดยหลังเผาไม่ทำให้ สีแตก(crack) จึงสามารถใช้วิธีการบีบ คล้ายบีบเค้ก ลงบนชิ้นงานทำให้เกิดความนูนอีกทั้งจานที่ตกแต่งด้วย Metallic Gold นี้สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้อีกด้วยค่ะ เผาที่อุณหภูมิ 780-850 องศาเซลเซียส


นอกจากวิธีการซ่อม”KINTSUGI”ยังมีวิธีการซ่อมแบบอื่นๆของญี่ปุ่นเช่น
ฮิบิ [ひび] – ประกอบด้วยการแสดงร่วมกัน รอยแตก และแนบชิ้นส่วนเสียกับการซ้อนทับกันน้อยที่สุดหรือเติมในส่วนที่ขาดหายไป
คะเกะโนะคินซึกิเร no kintsugi rei [欠けの金継ぎ例] – เมื่อใช้เรซินและทองเพื่อเติมเต็มชิ้นที่หายไป
โยบิตะสึงิ Yobitsugi [呼び継ぎ] – เมื่อใช้เศษหรือชิ้นส่วนของวัตถุอื่น ๆ ในการแก้ไขปัญหาหรือสร้างขึ้นมาใหม่
ในขณะที่การซ่อมแซมในรูปแบบอื่น ๆ จะเสื่อมสภาพลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่ kintsugi ก็มีความทนทานสูงเช่นเดียวกับวัตถุดั้งเดิม จึงแสดงให้เห็นว่าบาดแผลทำให้เราเข้มแข็งและแข็งแกร่งขึ้นดังนั้นเราจึงไม่ควรซ่อนมันไว้