Below the line II : Grip, Sound, Stunts, Wardrobe, Makeup

Below the line II : Grip, Sound, Stunts, Wardrobe, Makeup

คุณได้รู้จักตำแหน่งหน้าที่ในกองถ่ายภาพยนต์ในบทความAbove the line – Director, Producer(EP), Casting Director และบทความ Below the line” กันไปแล้วในบทความนี้เราจะพูดถึงตำแหน่งหน้าที่ Below the line ที่เหลือในกองถ่ายทำที่ทุกๆตำแหน่งล้วนมีความสำคัญในการผลิตผลงานภาพยนต์

A GRIP

หน้าที่หลักของ Grip คือการติดตั้ง ตั้งค่า ควบคุมอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับแสงในกองถ่ายภาพยนต์ รวมไปถึงการจัดระเบียบ บำรุงรักษา ซึ่งจะมีหัวหน้าแผนก Grip ที่เรียกว่า Key Grip และจะมีแผนกแยกคือ Dolly Grips ที่คอยช่วยแผนกกล้องเคลื่อนย้ายการถ่ายทำ

คุณสมบัติของตำแหน่ง Grip

  • คอยจัดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นหน้างาน ต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
  • มีความคล่องตัวสูงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

Grips Vs Gaffer : สองตำแหน่งนี้จะมีหน้าที่ที่ต่างกันคือ Gaffer จะคอยดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวกับไฟฟ้าในกองถ่ายทำ ดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้า งานอิเลคทรอนิกส์ คอยจัดสรรไฟฟ้าในการถ่ายทำให้กับฉากนั้นๆ

ซึ่งโดยปกติแล้วตำแหน่ง Grips นั้นมักจะมีแผนกย่อยๆอยู่ด้วยอีกหลายๆแผนกคอยซับพอร์ตฝ่ายอื่นๆในการทำงาน มักมี Grip-Electric (G/E) เป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน โดยมีหน้าที่ ในการจัดโฟกัสไฟ จัดแสงไฟ และสายไฟทั้งหมด

SOUND DESIGN

เป็นอีกหนึ่งหน้าที่ที่ช่วยสร้างภาพยนต์ให้มีบรรยากาศและช่วยเพิ่มอารมณ์ให้แก่หนังเรื่องนั้นๆ มีทั้งเสียงประกอบเพิ่ม Mood&Tone เสียงประกอบระหว่างบทสนทนา เสียงดนตรี เสียงจังหวะ ต่างๆล้วนออกมาจาก Sound Design

ซึ่งหากยกตัวอย่างเสียงที่เกิดขึ้นจาก Sound Design คือเสียง Lightsaber : เกิดจากการผสมเสียงหลายๆเสียงคือเสียงมอเตอร์เครื่องฉายภาพยนต์ เสียงรบกวนของทีวี ประกอบกับเสียงไมค์ที่แกว่งหน้าลำโพง จนเกิดเป็นเสียง Lightsaber ที่เราได้ยินกัน

Sound Design หรือนักออกแบบเสียงตามโปรดักชั่นขนาดใหญ่มักจะเป็นทีมเสียงที่แบ่งการทำงานออกเป็นส่วนๆทั้ง ศิลปินโฟลลี่ย์(ช่างเทคนิคเสียงและบรรณาธิการ), วิศวกรเสียง, ทีม ADR

งานส่วนใหญ่ของนักออกแบบเสียงมักจะเกิดหลังจากช่วงการถ่ายทำ แต่นักออกแบบเสียงจะสามารถมีส่วนร่วมได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มการผลิตภาพยนต์เพื่อวางแผนการถ่ายทำและออกแบบฉากที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆจะช่วยให้สามารถทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น

STUNT

สตั๊นแมนเป็นอีกตำแหน่งที่สำคัญในการสร้างภาพยนต์สักเรื่อง เป็นหน้าที่ที่ต้องใช้ทักษะทางกายภาพที่เฉพาะ ส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงที่เป็นลักษณะผาดโผน เพื่อใช้คนดูเชื่อว่าฉากฉากนั้นเกิดขึ้นจริงๆ หรือเป็นการแสดงของนักแสดงหลักจริง

ความยากของการเป็นสตั๊นแมนคือการเลียนแบบท่าทางของนักแสดงหลักให้เหมือนจริงๆผสมกับความสามารถเฉพาะทางกายภาพและด้านเทคนิคเพื่อแสดงออกมาให้สมจริงมากที่สุด และที่สำคัญคือการฝึกเพื่อเข้าฉากแอคชั้นผาดโผนจนชำนาญ

จริงๆแล้วตำแหน่งสตั๊นนั้นรวมถึงสตั๊นที่แสดงแทนนักแสดงหลักและสตั๊นที่สร้างฉากแอคชั่นต่างๆขึ้นมาเช่นสตั๊นที่ขับรถพุ่งชนกันบนถนน สตั๊นที่โดนระเบิดหรือตกจากที่สูงๆ หรือทีมสตั๊นที่ออกแบบฉากต่อสู้ขึ้น เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นหนึ่งในสิ่งประกอบฉาก ซึ่งถือเป็นหน้าที่ที่ต้องทุ่มเทการทำงานค่อนข้างสูง

WARDROBE DEPARTMENT

แผนกเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย เป็นอีกแผนกเบื้องหลังที่มีความสำคัญ คอยจัดการเรื่องชุด เครื่องแต่งตาย เครื่องประดับให้กับตัวละคร แผนกนี้จะประกอบไปด้วยหลายๆตำแหน่งเช่น ดีไซน์เนอร์ออกแบบเครื่องแต่งกาย ผู้ช่วย ผู้ดูแลชุด

มีรางวัลออสการ์สำหรับเรื่องของการออกแบบเครื่องแต่งกาย ซึ่งทำให้ภาพยนต์หลายๆเรื่องมุ่งเน้นไปที่การทำฉากและชุดให้เด่น ดูสวยงามที่สุดเกิดเป็นการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมภาพยนต์ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้เราเห็นพัฒนาการและการดีไซน์ชุดที่เกิดขึ้นเรื่อยๆตามหนังที่เราชม

ซึ่งเครื่องแต่งกายถือเป็นหนึ่งส่วนที่สำคัญมากๆในกองถ่ายภาพยนต์ แผนกผู้ออกแบบชุดและเครื่องแต่งกายต้องเกี่ยวกับการสร้างหนังภาพยนต์ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นในการเขียนบทเพื่อให้สามารถสร้างชุดหรือดีไซน์ส่วนประกอบต่างๆออกมาให้เข้ากับภาพยนต์มากที่สุด ซึ่งคอสตูมมักส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในภาพยนต์ประเภทหนังฮีโร่ เพราะชุดเป็นเหมือหนึ่งสัญญลักษณ์ของฮีโร่หรือตัวละครนั้นๆ หากทำออกมาดูไม่ดีหรือไม่เหมาะสมกับนักแสดงอาจทำให้ภาพยนต์ไม่สนุกและดูขัดตาได้ทั้งเรื่อง

MAKEUP

ตำแหน่งสุดท้ายที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้คือช่างแต่งหน้าหรือแผนกแต่งหน้านั่นเอง เช่นเดียวกันกับแผนกเครื่องแต่งกายที่มีการมอบรางวัลออสการ์สาขาการแต่งหน้าและทรงผมยอดเยี่ยม

ช่างแต่งหน้าตามภาพยนต์ทั่วๆไปอาจเป็นงานแต่งหน้าที่เกิดขึ้นตามลักษณะทั่วๆไปที่เราพบเห็นกัน แต่ในหนังภาพยนต์อีกประเภทที่จำเป็นต้องแต่งหน้านักแสดงให้เปลี่ยนจากเดิมทั้งหมดเช่น หนังซอมบี้ หนังตัวประหลาด หรือสิ่งหนังสยองขวัญ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นภาพยนต์ที่แสดงความสามารถของแผนก Makeup ได้เป็นอย่างดี การทำงานในลักษณะนี้ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะทางทำให้คุณเห็นคนหนุ่มที่เล่นเป็นคนแก่ หรือแม้กระทั้งผู้หญิงที่เล่นเป็นผู้ชาย

หากจะยกตัวอย่างทีม Makeup คงต้องขอยกตัวอย่างทีมที่ช่วยแปลงโฉม Karen Gillan เพื่อรับบทเนบิวลาร์ในภาพยนต์เรื่อง Guardians of the Galaxy ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการทำงานหนักของแผนกนี้ นอกไปจากนั้นแล้วภาพยนต์อีกหลายๆเรื่องที่ตำแหน่งในฝ่ายนี้ต้องทำงานนานถึง 1 วันเต็มเพื่อสร้างตัวละครสักหนึ่งตัวขึ้นมาเพื่อถ่ายทำเพียงฉากเดียวเราก็พบเห็นกันได้บ่อยครั้งตามอุตสาหกรรมภาพยนต์

ทั้งหมดนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งของตำแหน่งต่างๆที่อยู่ในกองถ่ายภาพยนต์และมีความสำคัญไม่แพ้กับตำแหน่งอื่นๆ และเป็นเหมือนส่วนประกอบชิ้นสำคัญที่งานสร้างภาพยนต์จะขาดไม่ได้เช่นเดียวกัน

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.