การสร้างแอนิเมชั่นและการบันทึกเสียง และนำจับมารวมกันเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์นั้น ยังมีข้อโต้เถียงเกี่ยวกับจัดเรียงขั้นตอนการถ่ายทำหรือแอนิเมชั่น บ้างก็กล่าวว่า ต้องบันทึกเสียงก่อนการสร้างแอนิเมชั่น หรือการสร้างแอนิเมชั่นขึ้นมาก่อนแล้วมีพากย์เสียงภายหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ขั้นตอนของแต่ละองค์กรว่าจะเลือกใช้แบบไหน ตัวอย่างเช่น Pixar กับ Disney ค่ายดังของการสร้างแอนิเมชั่น พวกเขาใช้วิธีการพากย์เสียง ก่อนการทำแอนิเมชั่น

บทความที่เกี่ยวข้อง :
” เสียงสำหรับแอนิเมชั่นนั้นเป็นเหมือนหัวใจสำคัญของแอนิเมชั่น “

จุดที่เราโฟกัสมากที่สุดคือ ปาก ถึงแม้ว่าส่วนอื่น ๆ ของใบหน้าที่สำคัญรองลงอย่าง คิ้ว ตา จมูก หรือรูปใบหน้าก็ตาม เพราะหากเป็นแอนิเมชั่นง่าย ๆ การขยับแต่ปากให้ตรงกับคำพูดก็เพียงพอแล้ว


การเข้าใจกับบทพูดของตัวละคร

ตัวละครแต่ละตัวจะมีบทพูดในแต่ละคนเอง เพียงจะมีช่วงจังหวะหายใจ หรือช่วงจังหวะที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปปาก ฉะนั้นหากเราจะเข้าใจและอ่านบทพูดมาก่อนจะสามารถแบ่งช่วงได้ว่าจังหวะไหนควรเป็นรูปปากแบบไหน
การไม่เคลื่อนไหวทุกพยางค์
เมื่อการทำลิปซิงค์ ไม่ต้องพยายามสร้างรูปปากสำหรับทุกพยางค์ที่พูดออกมา นั้นคือข้อผิดพลาด เพราะว่าหากทำแบบนั้นตัวละครของคุณจะมีการขยับเปิดและปิดที่มากกว่าที่จำเป็น คำแนะนำคือ ให้เน้นที่รูปร่างปากที่สำคัญในการออกเสียง และผสมผสานรูปปากอื่น ๆ (หากอ้างอิงจากการเคลื่อนไหวของมนุษย์ เมื่อคุณอัดวิดีโอและมองอย่างพิจารณาคุณจะเป็นรูปปากขยับเพียงเล็กน้อย)
ช่วงปิดปาก

แน่นอนว่าตัวละครของคุณไม่สามารถที่จะเปิดปากหรือขยับตลอดเวลาแน่นอน ซึ่งในแต่ละจังหวะการพูด ควรมีจังหวะการปิดปากด้วย
ตามหาอ้างอิง

นี่เป็นอีกคำแนะนำสำหรับใครที่ยังไม่สามารถกำหนดรูปปากที่ถูกต้องได้ ก็คือการหาตัวอย่างอ้างอิง ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือการยกกระจกขึ้นมาส่องและใช้ตัวเองเป็นอ้างอิง การลองพูดบทสนทนาดัง ๆ ออกมาและศึกษารูปปากว่าเคลื่อนไหวอย่างไรในแต่ละประโยค
หรือ การอัดวิดีโอตัวเองแล้วพูดบทสนทนา และนำ Copy ลงคอมพิวเตอร์ จากนั้นดูการเคลื่อนไหวเฟรมต่อเฟรม
โปรแกรม

การหาโปรแกรมประกอบรูปปากเข้ากับเสียงนั้นในปัจจุบันคุณสามารถใช้ได้หลากหลาย โดยจะแบ่งไปตามการซับซ้อนของการใช้งาน อย่างเช่นเรียงระดับจากความง่ายคือ Microsoft Power point , Adobe premiere pro , Adobe After effect
แต่ในที่สุดแล้วการสร้างเสียง ที่มีคุณภาพออกมานั้นก็สามารถดึงดูดผู้ชมให้สามารถดูแอนิเมชั่นของเราจนจบได้ แต่หากต้องการให้แอนิเมชั่นที่ออกมาดูครบและสมบูรณ์การขยับปากให้ตรงกับเนื้อหาได้จะเป็นสิ่งที่ดีมาก เมื่ออ่านบทความมาจนถึงตรงนี้ เชื่อว่าใครหลายคนอาจจะถอดใจกับการขยับปากให้ตรงกับคำพูด เราจึงมาแนะนำโปรแกรมที่จะช่วยให้การพากย์เสียงของคุณง่ายขึ้น
| โปรแกรม Adobe Character Animator ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างอวตารและเคลื่อนไหวได้ตามที่ต้องการ โดยจับความเคลื่อนไหวผ่านกล้อง เพียงแต่ว่า ในระหว่างการอัดเสียงนั้นคุณต้องเตรียมอุปกรณ์และห้องให้พร้อมสำหรับการอัดเสียง

ภายในโปรแกรมจะมีการเคลื่อนไหวท่าทางรวมถึงปากแบบง่าย ๆ อยู่แล้ว แต่หากคุณต้องการให้การเคลื่อนไหวละเอียดกว่านั้น คงต้องอาศัยสกิลการออกแบบรูปปากด้วย Adobe PhotoShop เพื่ออัปโหลดไฟล์ลง Adobe Character Animator และการปรับแต่งรูปหน้า การเคลื่อนไหวตามภายในโปรแกรม Adobe Character Animator


สรุปได้แล้วว่า ก่อนที่เราจะปรับการเคลื่อนไหวของปากให้เข้ากับเสียงนั้น คุณต้องทราบการเคลื่อนไหวรูปปากตามการออกเสียงของมันก่อน