ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีดรงงานเซรามิคเครื่องปั้นดินเผามากมาย ได้แก่โรงงานผลิตภัณฑ์ จนชาม ถ้วย แจกัน กระถาง และงานกระเบื้องต่างๆนอกจากนี้ยังมีโรงงานขนาดเล็กสตูดิโอที่ทำเครื่องประดับ เครื่องตกแต่ง เช่นตกแต่งส่วน ตกแต่งบ้าน เช่นที่เขี่ยบุหรี่ ตุ๊กตาสัตว์ กระดุม เครื่องประดับ โรงงานต่างๆที่กล่าวมามักใช้เคลือบ ใส เคลือบทึบเคลือเงา แต่นอกจากชนิดที่กล่าวมาแล้วยังมีเคลือบอีกชนิดหนึ่งที่ น่าสนใจ คือ “เคลือบผลึก” ซึ่งไม่ได้รับความนิยมเท่าเคลือบที่กล่าวมา ในทางอุตสห-กรรม เนื่องจากต้องใช้เตาไฟฟ้าในการควบคุมและปรับลดอุณหภูมิแบบแม่นยำมาก
“เคลือบผลึกคืออะไร ?”
เคลือบผลึกคือเคลือบที่มีผลึกเกิดขึ้น ซึ้งอาจจะเกิดภายใต้ผิวเคลือบก็ได้การเกิดผลึกขึ้นเกิดจากการควบคุมอุณหภูมิของเคลือบภายหลังที่หลอมละลายและให้เย้นลงอย่างช้าๆทำให้วัตถถุดิบหรืออกไซต์ที่ใช้ในปริมาณมากในส่วนผสมของเคลือบมากเกินกว่าการอิ่มตัว นั้นได้แยกออกมาเป็นส่วนของผลึกนั้นเอง แต่การเย็นตัวของเคลือบ ของเคลือบ ภายหลังทีหลอมละลาย แล้วควบคุมไม่ได้ลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ผลึกก็อาจจะไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแค่บางส่วน
“การแบ่งประเภทของเคลือบผลึก” เคลือบผลึก สามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
1. ประเภทที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้อง ในการส่องขยายดูจึงเห็นได้ เนื่องจาก ผลึกที่เกิดขึ้นมีขนาดเล็กและหนาแน่นมาก จนทำให้การมองเห็นด้วยตาปล่าวปรากฎขึ้น เห็นเป็นผิวลักษณะด้านๆหรือกึ้งด้านกึ่งมัน ดูอ่อนนุ่มเป้นประกายหรือมีลักษณะมัน หรือคล้ายกับเปลื่อกไข่ทีมีความนุ่มเมือสัมผัส หรือเรียกว่าเคลือบด้านก็ได้
2. ประเภทที่มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ เป็นการเกิดผลึกภายในเคลือบหรือผิวเคลือบ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
2.1 เคลือบอะเวทูรินหรือเรียนกอีกอย่างหนึ่งว่าเคลือบทรายทอง เป็นเคลือบผลึกที่เป็นเคลือบขนาดใหญ่ที่เพียงพอจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลักษณะที่เกิดขึ้นจะเป็นเกล็ดเล็กๆที่เรียกว่า Fitter ซึ่งจะอยู่ใต้ ผิวเคลือบ หรืออาจจะมีขนาดเล็กหรือจำนวนมาก ที่วางซ้อนกันเป้นลักษณะของการสะท้อนแสง ด้านใยผลึกทำให้มีลักษณะเป็นประกายยิบยับคล้ายเพชร หรือเรียกว่าแร่ ปัจจัยที่ทำให้เกิดเคลือบ อะเวนทูรีน ได้แก่ ส่วนผสมของเคลือบ ต้อมมีส่วนผสมของอลูมินาผสมอยุ่ในปริมาณน้อยใช้ออกไซด์โลหะเช่น เหล็กออกไซต์ และโคเมียมออกไซด์ ซึ้งโดยทั่วไปเคลือบชนิดนี้จะมีเหล็กออกไซด์ผสมอยุ่ที่ร้อยละ 8-15 เท่านั้น
2.2 เคลือบผลึกซึ้งถือเป็นเคลือบที่ได้พูดถึงก่อนหน้านี้ ลักษณะที่เกิดเคลือบจะเป็นผลึกขึ้นมาอย่างชัดเจน หรืออาจจะเป็นบางส่วนหรือมีการซ้อนอนุ่ใต้ชั้นผิวเคลือบคลายลูกแก้วที่มีแกนด้านใน สามารถมองเห้นละเป็นกลุ่มเรียกว่า ดอกเคลือบหรือเกล็ดเคลือบ เคลือบผลึกส่วนมากเกิดจากสังกสีออกไซด์ผสมเข้ากับเคลือบที่ทำปฎกิริยากับซิลลิกาที่ผสมในเคลือบเกิดเป็น ซิงซิลิเกตหรือที่ตกในเคลือบเมื่อมีการเผาจนถึงจุดหลอมละลายที่ 1,000-1,180 องศาซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ทำให้ซิลค์ตกผลึก
“วิธีการทำให้เคลือบผลึกเกิดขึ้น”
1.วัตถุดิบหลักที่ทำให้เคลือบผลึกเกิดขึ้น ต้องประกอบด้วยอลุมินา หรือสารในกลุ่มกลาง ผสมในปริมาณนน้อย ส่วนมากจะไปทางเบส เนื่องจากเคลือบต้องการการไหลตัวของเคลือบสูงสารจำพวกด่างจะช่วยให้เคลือบไหลตัวดี
2.สารเคมีที่ใช้ในเคลือบผลึกโดยเฉพาะสารเคมีที่ใช้ในกลุ่มด่าง ควรเป้นสารเคมีที่มีน้ำหนักมวลของอะตอมต่ำและมีปริมาณมาก เช่น โซเดียม โพเทสเซียม แคลเซียม ซึ้งสารพวกมีเป้นส่วนประกอบของการทำเคลือบอยุ่แล้ว อยู่ทั้งในเคลือบที่ผสมแล้วและสารตั้งต้นเบส
3.สารเคมีที่อยุ่ในรูปแบบกรด ซึ้ง อาจจะต้องมีเพียงเล็กน้อยแต่ก็ไม่มีไม่ได้ เช่น ซิลิกา ที่ช่วยให้เคลือบเผาได้สูงและช่วยลหลอม ไทเทเนียม
4.การใช้หินฟันมามาช่วยในการทำเคลือบผลึก ควรใช้หินปูนฟันม้าประเภท โซดาเฟลสปา จำทพให้เกิดผลึกได้มากกว่าและมีขนานใหญ่ ซึ้งจะดีกว่าการใช้ โพแทสเซียมเฟลสปา
5.ที่สำคัญที่สุดสารที่ช่วยให้เคลือบมีความชัดเจนที่ลายดอก และขนาดใหญ่คือ สังกะสี ออกไชด์อย่างที่รุ้ว่าถ้าเคลือบผลึกต้องมีสังกะสีเป็นตัวช่วย ยังมีเหล็กออกไซด์ และไททาเนียมไดออกไซด์