ปัจจุบันในการส่งออกพืชหรือผลิตผลพืชไปต่างประเทศนั้น ผู้ส่งออกสามารถยื่นขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชได้ เพื่อเป็นยืนยันว่าพืชหรือผลิตผลพืชที่ส่งออกนั้นปลอดภัย และปลอดศัตรูพืช ซึ่งกรมวิชาการเกษตรมีหน่วยงานที่พร้อมให้บริการ/ทำหน้าที่บริการตรวจพืชเพื่อรับรองความปลอดภัย/ปลอดศัตรูพืช และให้สอดคล้องกับมาตราการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชภายใต้องค์กรการค้าโลก WTO(World Trade Organization : องค์การการค้าโลก ) รวมถึงการออกใบรับรองดังกล่าว สำหรับการส่งออกไปต่างประเทศ
จุดประสงค์ของใบรับรองสุขอนามัยพืชนั้นคือ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของการนำเข้าของต่างประเทศ – ตรวจพืช ศัตรูพืช และควบคุมให้มีการกำจัดศัตรูพืชทางกักกันพืชที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ใบรับรองสุขอนามัยพืช
ใบรับรองสุขอนามัยพืช (หรือ ‘ใบรับรองปลอดศัตรูพืช’ ) มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า “Phytosanitary Certificate” หรือเรียกว่า PC คือใบรับรองที่ออกให้กับพืชหรือผลิตผลพืชเพื่อส่งออกต่างประเทศ และมีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองว่าสินค้าที่ส่งออกนั้นปลอดจากแมลง ศัตรูพืช และเป็นไปตามเงื่อนไขปลายทาง

ซึ่งการใบรับรองสุขอนามัยพืชนั้นไม่ได้เป็นมาตรการบังคับให้ผู้ส่งออกพืชหรือผลิตผลพืชต้องขอใบรับรอง แต่เป็นการให้บริการสำหรับผู้ส่งออกที่ต้องการใบรับรองยืนยันผลผลิตเหล่านั้น และใบรับรองปลอดศัตรูพืชนั้นจะออกให้เฉพาะกรณีรับรองการปลอดศัตรูพืชที่ส่งออกไปยังต่างประเทศเท่านั้น
การขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary certificate : PC ) เพื่อใช้ในการส่งออก
เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบและการยื่นที่ถูกต้องต้องทำดังต่อไปนี้ (อ้างอิงข้อมูลจาก doa.go.th)

การออก ใบรับรองสุขอนามัยพืช / การขึ้นทะเบียนรับรอง
*เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัส COVID-19 จีงมีการปรับเปลี่ยนขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 : การยื่นใบคำขอยื่นคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช แบบคำขอขึ้นทะเบียนรับรอง และยื่นเอกสารประกอบ
- กรอกคำขอ ตามแบบฟอร์ม พ.ก.7
- ส่งทางอีเมล epqsg2020@gmail.com หรือ ส่งทางโทรสาร 0 2579 1581
ตัวอย่างเอกสารยื่นคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช

ประกอบไปด้วยกัน 4 ส่วนได้แก่
1.ตัวแทนผู้ส่งออก
2.ชื่อและที่อยู่อยู่ส่งออก และรายละเอียดของผู้รับปลายทาง
3.รายละเอียดพืชที่ต้องการใบรับรอง
4.บันทึกของเจ้าหน้าที่ (อนุมัติ/ไม่อนุมัติ)
เอกสารประกอบ อาทิเช่น หนังสืออนุญาตนำเข้า (Import permit ) บัญชีรายการสินค้า (Packing List) ใบกำกับภาษี ( Invoice) ใบ Letter of Credit ( L/C ) เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 : นัดหมายเจ้าหน้าที่เพื่อนตรวจสอบสินค้า และควบคุมการกำจัดศัตรูพืช
- โทรนัดติดต่อเจ้าหน้าที่ เบอร์ 0 2579 1581 เพื่อนัดหมายวัน-เวลา กับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะไปปฏิบัติงานโดยตรง
ขั้นตอนที่ 3 : เจ้าหน้าที่จัดทำใบรับรองสุขอนามัยพืช
- เจ้าหน้าที่ลงบันทึกรายงานการปฏิบัติงานตรวจสอบศัตรูพืชในสินค้า และหรือ ควบคุมการกำจัดศัตรูพืช
- และตรวจสอบเอกสารเพื่อจัดทำใบรับรองสุขอนามัยพืช
ขั้นตอนที่ 4 : ชำระค่าธรรมเนียม
- ผู้ประกอบการชำระค่าธรรมเนียม ณ จุดบริการที่จัดเตรียมไว้
- ค่าใช้จ่ายสามารถแบ่งออกได้เป็น
- ค่าธรรมเนียมใบรับรองปลอดศัตรูพืชฉบับละ 50 บาท
- ค่าป่วยการ (กรณีนัดหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่) คิดตามระยะเวลาในการปฏิบัติงานโดยเริ่มนับจากเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงานจนถึงสำนักงาน เวลา 08.30 น. -18.00 น. ชั่วโมงแรก 60 บาท ชั่วโมงต่อไป 20 บาท
- หลังเวลา 18.00 น. ชั่วโมงแรก 80 ชั่วโมงต่อไป 40 บาท
- ค่าพาหนะเดินทาง (กรณีนัดหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงานนอกสถานที่) ให้ชำระตามอัตราที่กำหนดในประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดอัตราค่ายานพาหนะสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507
ขั้นตอนที่ 5 : ผู้ประกอบการรับใบรับรองสุขอนามัยพืช / หนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนรับรอง(ตัวจริง)
- ใบรับรองสุขอนามัยพืช รับด้วยตนเอง ณ จุดบริการที่จัดเตรียมไว้
- หนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนรับรอง เจ้าหน้าที่สแกนส่งให้ผู้ประกอบการทางอีเมล ที่ผู้ประกอบการแจ้งไว้ และสามารถรับ หนังสือสำคัญฯ ฉบับจริง ได้ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 09.30-12.00 น.
แผนผังแสดงรายละเอียด/ขั้นตอนการยื่นขอและจัดทำ
คำแนะนำการยื่นเอกสารเพื่อขอใบรับรองอนามัยพืช
ผู้ส่งออกควรศึกษาเงื่อนไขข้อกำหนดในการนำเข้าสินค้าของประเทศปลายทาง เพื่อจะได้จัดเตรียมสินค้าได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามข้อกําหนดในการนําเข้าของประเทศปลายทาง
ตัวอย่างพืชและผลผลิตที่ต้องขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช Phytosanitary certificate : PC
ผลไม้ : ทุเรียน ลำไย มังคุด มะพร้าวอ่อน มะม่วง ขนุน กล้วย สัปปะรด เงาะ ลองกอง กล้วยหอม น้อยหน่า ลิ้นจี่ ชมพู่ แคนตาลูป องุ่น อะโวคาโด
ผักสด : ขิง เผือก หอมแดง ถั่วเหลือง แครอท กะหล่ำปลี ถั่วลันเตา ข่า มะเขือเทศ แตงกวา บล็อกโคลี่ กระเทียม ขมิ้น ผักกาดหอม/ผักสลัด พริกหยวก ใบมะกรูดสด มะนาว หน่อไม้ ใบเตย
หากต้องการทราบถึงข้อมูลสรุปสินค้าเกษตรที่มีการส่งออกในส่วนเฉพาะขอใบรับรองสุขอนามัยพืช ปี 2561 2562 2563 ทั้งหมด สามารถเข้าไปดูได้ที่ link < click
ข้อมูลล่าสุด 2563 > ข้อมูลการส่งออกสินค้าเกษตร (พืช) ไปต่างประเทศ ปี 2563 ที่มีการขอใบรับรองสุขอนามัยพืช
ตัวอย่างใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate)

หากต้องการศึกษาเรื่องการส่งออกสินค้าทางเรือไปยังประเทศอเมริกาสามารถอ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่