How to ADD or REMOVE rust from glaze.

” วิธีการ เพิ่ม หรือ ขจัดสนิมออกจากเคลือบ และ วิธีการ ขจัดคราบเขม่า ” ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จัก วิธีการ เพิ่ม หรือ ขจัดสนิมออกจากเคลือบ เเละ วิธีการขจัดคราบเขม่าออกจากชิ้นงาน จะขอแนะนำ “สนิท” และ “คราบเขม่า” ที่พูดถึงในงานเซรามิค ก่อนว่าคือ อะไร? และ เกินขึ้นได้อย่างไร ?

” ที่มาของ สนิม ในงานเซรามิค ” สนิม ถ้าโดยทั่วไป ที่เรารู้จักกันมักพบเห็นตามเศษเหล็กเก่า ที่โดย น้ำความชื้น และออกซินเจน จนทำ เหล็กสีเงินวาว เปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม เลือดหมู เมื่อขูดจะออกมาเป็นผง เล็ก ๆ ซึ้งตาม ความเป็นจริงแล้ว สนิม ที่พูดในงานเซรามิค มีทั้งที่ถูก และ ไม่ถูกต้อง เพราะ งานเซรามิค จะไม่นำสนิมที่ได้จากการขูดเหล็กมาใช้ในงานเซรามิค แต่ที่มาของ สนิม ในงานเซรามิค คือ ความบังเอิญ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ไม่มีประวัติการบันทึกที่แน่ชัด มีเพียงข้อมุลที่บอกว่า การทำงาน เซรามิค ในสมัยก่อน เมื่อถึงขั้นตอนเคลือบ หรือ แม้กระทั้งปัจจุบัน เอง การบดเคลือบ เป็นขั้นตอนที่มักพบเห็นได้ ตามโรงงาน สตูดิโอ ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้บด เพื่อที่จะได้ปริมาณเคลือบ เป็นจำนวนที่ละมากๆ ก็มักจะใช้ หม้อ บดเคลือบ ทำไหมจึงต้องบดเคลือบ เพราะถ้าไม่บด เวลานำเซรามิคมาเคลือบบนชิ้นงาน ชิ้นงานจะเห็นเม็ดเคลือบที่ไม่แตกตัว เป็นจุดสีขาว ทึบ ทั่วชิ้นงาน

หม้อบดเคลือบ
http://www.thaiceramicsociety.com/pc_pre_grindmore.php

“หม้อบดเคลือบ ”
หม้อบดเคลือบ( Ball mill) คือ แท่งทรงกระบอกแนว นอนที่ ใช้ในการผสมเคลือบให้เข้ากันทำมาจากแผ่นโลหะหนา เพื่อทนแรงเหวี่ยง และ น้ำหนักของน้ำเคลือบ มีทั้งขนาดเล็กตั้งแต่10 กิโล ไปถึงขนาดใหญ่หลายร้อย กิโล

“หินบดเคลือบ “
คือ ก้อนวัสดุ เนื้อแข็งที่ ทนทาน สูง ใช้ใส่ลงไปในหม้อบดเคลือบพร้อมเคลือบ เพื่อใช้ในการบด ทำให้เคลือบละเอียด

หินบดเคลือบ

ส่วนที่ทำให้เกิด จุดสนิม ในเคลือบสีอ่อน คือ บริเวณฝาถัง และจุกเปิด ฝา ที่มักทำจากโลหะ ซึ้งเมื่อผ่านระยะเวลาการใช้งานไปนานๆ ก็มักเกิดสนิม จาก การใช้งาน โดยตัวเคลือบเอง ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ สนิมที่เกิดขึ้นมักเป็นจุดเล็กๆ เป็นบางบริเวณ หรือมักเป็นที่ภายใน จาน ถ้วย หรือ ภาชนะอื่น ๆ เพราะ สนิมที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นที่น้ำเคลือบ ไม่ใช้เนื้อดิน

ตำหนิจาก เศษ สนิม บนเคลือบสีอ่อน

” วิธีการ แก้ไข ตำหนิสนิม ในงานเซรามิค ”

วิธีการขจัด เศษสนิม ในงานเซรามิค มักมีวิธีดังต่อไปนี้
1. การกรอง น้ำเคลือบ โดยปกติ ก่อนที่จะใช้เคลือบเรามักกรองอยู่แล้ว เพราะเคลือบอาจจะมีเศษ วัสดุ ต่างๆปะปนมาซึ้ง มีผลต่อสีเคลือบ แต่การกรอง เพื่อขจัดคราบสนิมที่มีขนาดเล็กมากต้องใช้ ตะแกงที่ มีความละเอียดสูงมาก จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง เพราะบางครั้งตัวสนิม มีขนาดเล็กมาก เหมือนจุดเล็กๆเราอาจจะมองข้าวและคิดว่าไม่น่าจะมีผลมากนัก แต่เมื่อผ่านการเผาจะมีจุดสีเข้ม และชัดมากเมื่อยุ่บนเคลือบสีอ่อน

2.การใช้แท่งแม่เหล็กแรงดูดสูง กวนในน้ำเคลือบ วิธีนี้เป็นวิธี ที่ ใช้ได้ผลดี กับเคลือบที่มี ปริมาณไม่มาก จนเกินไป แม่เหล็กจะดูเศษ สนิมทั้งหมดขึ้นมาด้วย จะช่วยลด ตำหนิจากสนิมได้

3.หมั่นทำความสะอาดฝาถัง และควรเช็ดให้แห้งหลังจากกการใช้งาน หรือถ้ามีสนิท จำนวนมาก ควรใช้น้ำยาขจัดสนิมที่มี สถาณะเป็นกรด เช็ดให้แห้ง ก่อนนำไปเก็บ

“การเพิ่มจุดสนิม “
เคลือบ สนิม หรือ เคลือบที่มีจุด สีน้ำตาล เข้ม หรือ น้ำตาลแดง อาจจะกระจ่ายบางชุด หรือ ทั่วบริเวณ จริงๆแล้ว สนิท ที่เกิดบนเคลือบไม่ใช้”สนิม”เสมอไป แต่เป็น ผงซิลลิก้อนหรือสเปคเกิล ซึ่งมักพบเห็นในงานเหล็ก และ โลหะเพราะเป็นส่วนผสมสำคัญที่ ทำให้เหล็กทนไฟ เป็นผงโลหะขนาดเล็ก สีเงินวาว มีหลายขนาด ซึ้ง ขนาดที่ต่างกัน จะทำให้จุด ที่เกิดขึ้นบนงาน ต่างกันไปด้วย
โดยวิธีการเพิ่มจุดสนิมลงบนงานมีวิธีการดังนี้

1.การใส่ ผงซิลิกอน หรือ สเปคเกิล ลงไปในดิน มักใช้กับดินที่มี เนื้อดินมากเพราะถ้านำมาผสมในน้ำดินหล่อ ตัว ผงจะกองอยู่ที่ก้นด้านลางของพิมพ์ ไม่กระจายตัว อาจจะผ่านการนวดผสมกับดินหรือ การโรยขณะ ขึ้นรูปด้วยเครื่องงขึ้นรูปต่างๆ ตัว จุดสนิมที่เกิดขึ้น จะมีการกระจ่ายตัวกันได้ดี เมื่อทุบ จะเห็นว่า ตัวชิ้นงานที่เกิดขึ้น จะมีผงซิลิกอน หรือ สเปคเกิล แทรกอยุ่ทั่วใบ แต่ข้อเสียคือบางครั้ง เนื้อดินจะเกิดรู และจุดตามด ขึ้นให้เห็น บางครั้งอาจจะเกิดจากการที่ มีผง ซิลิกอนในบรเวณจุดนั้นมากเกินไป และ เนื้อดินอาจจะหดตัว ต่างจาก ผงซิลิกอน หรือ สเปคเกิล มากเกินไป

ตัวอย่างชิ้นงานที่ผสม ผงซิลิกอน หรือ สเปคเกิล

2.การผสม ผงซิลิกอน หรือ สเปคเกิล ลงไปในเคลือบ มักใช้ผงซิลิกอน หรือ สเปคเกิล ที่มีขนาดเล็กเนื้อจากจะต้องลอยตัวในน้ำเคลือบก่อนใช้งานต้องข้นให้ ดี เมื่อเคลือบชิ้นงาน ผงซิลิกอน หรือ สเปคเกิล มักกระจ่ายตัวทั่วชิ้นงาน เป็นวิธีที่ ทำให้เกิดชิ้นงานที่สวย และเกิดตำหนิน้อยกว่า แต่อาจจะต้อง เป็นเคลือบที่เข้า กับ ผงซิลิกอน ด้วย คือการหดตัว ไม่ต่างกันมากกินไป และ จะสวยขึ้นถ้า ทำกับเคลือบ เงา หรือเคลือบไฟต่ำเพราะมักจะเกิด เอฟเฟคที่แปลกตา

” ที่มา และ วิธีการแก้ไข คราบเขม่า “

เขม่าจากการเผา เซรามิค

คราบเขม่า เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นภายในเตา เซรามิค โดยเฉพาะช่วงแรก ที่ การเผาที่อุณหภูมิ 100-650 องศา เนื่องจากการเผางานเซรามิค ในช่วงแรก ต้องใช้ไฟสีส้ม ซึ้งจะเป็นไฟ อ่อน และ ร้อนน้อยกว่าไฟที่ฟ้า เนื่องจากหาเผา ด้วยไฟสีฟ้าตั้งแต่แรก ชิ้นงาน จะแตก และ เสียหาย อย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า การช็อค อุณหภูมิ ด้วยเหตุนี้ การเผา เซรามิค ในช่วงแรกจึงต้องใช้ไฟสีส้ม แต่ข้อเสียคือคราบเขม่า จะเกิดมาก หากไม่ เปิด แดปเปอร์ ( ปล่องเตา ) เพื่อเป็นการระบายควัน ออกไป จะทำให้เขม่าต่างๆไม่ถูกระบายและ ไปจับ ที่ตัวชิ้นงาน เชล และขาเชล ในเตา ในบางครั้งหากอุณภูมิ สุงขึ้นเกิน 800 องศาขึ้นไป แล้วยังไม่ปรับไฟค่อยเป็นสีฟ้า และไปเพิ่ม ช่องแดมเปอร์ จะทำให้เกิด ปฏิกิริยา รีแอคชั่น (เป็นการเผาที่ไม่สมบูรณ์ ) ซึ้งการเผา งาน เซรามิคโดยทั่วไปส่วนมากจะใช้ปฏิกิริยา ออกซิเดชั่น ( การใช้ออกซิเจน ภายนอกในการเผา เป็นการเผาที่สมบูรณ์ ) ชิ้นงานที่เผา แบบ รีแอคชั่น ในบางครั้ง เคลือบจะมีสี แตกต่างไปจากเดิม ดังนั้นเคลือบส่วนมาก จึ่ง มีการทดลองให้เผาได้ทั้งสองแบบ เพื่อป้องกัน สีเคลือบ เพี้ยน

อย่างที่กล่าว ไว้ข้างต้น วิธีการแก้ไข คือ การปรับไฟ ให้จากสีส้ม เป็นสี ฟ้าและสีใส ตามอุณหภูมิ ที่สูงขึ้น และการปรับแดมเปอร์เพื่อให้การเผา เป้นแบบ ออกสิเดชั่น แต่อย่างไรก็ตาม การเผาในบางครั้ง เมื่อใกล้ถึงอุณหภูมิ ที่เคลือบเริ่มหลอบละลาย ตัว ชิ้นงานมักติด รีแอคชั่น เนื่อจาก ความร้อนที่มากแต่ หากเปิดแดมเปอร์เยอะเกินไปอุณหภูมิจะขึ้นช้าและเสร้จยาก ดังนั้น ในช่วงเวลาที่าสำคัญที่าสุดคือช่วงเวลาที่ ที่อุณหภูมิ ที่1,145-1,250 นั้นเอง

ตัวอย่างชิ้นงานบางชิ้นที่ติด รีแอคชั่น

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.