การเคลือบด้วยมือบนเซรามิกคืออะไร,เทคนิคคืออะไร

What is hand-painting glaze on ceramics - what are techniques
"การเคลือบด้วยมือบนเซรามิกคืออะไร"
การเคลือบเซรามิคด้วยมือ คือ การใช้มือ จุ่มลงไปในเคลือบ ไม่ว่าจะเป็นเคลือบใส เคลือบด้าน อื่นๆ แทนการใช้เครื่องมือ ที่คีบที่ใช้จุ่ม เป็นวิธีการเคลือบงานชนิดหนึ่งมีที่สมัยก่อน มีการอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นวิธีการเคลือบชนิดแรกๆที่ใช้ เพราะยังไม่ได้มีการคิดค้นประดิษฐ์. เครื่องมือจุ่ม แต่ในปัจจุบันเรามีเครื่องมือสำหรับจุ่มเคลือบที่หลากหลาย ซึ่งมีความสะดวกในการใช้งาน 
      การเคลือบงานเซรามิคด้วยมือ คาดการณ์จากข้อมูล ว่าถูกคิดค้นมาพร้อมกับการที่เปลี่ยนผ่านระหว่างงานเซรามิคเริ่มมีเคลือบ เข้ามาใช้ในการแทนการเผา ที่เขียนแค่ลายบนเซรามิค ซึ้งการเคลือบเคลือบงานด้วยมือ มักจะพบเห็นได้ ไม่บ่อยแล้วในปัจจุบัน เพราะว่า การใช้มือมักเกิดตำหนิของชิ้นงานที่ใหญ่กว่าการใช้อุปกรณ์คีบ

“เทคนิคการจุ่มเซรามิคด้วยมือ “
เทคนิคการชุมหรือจุ่มเซรามิค ด้วยมือ มักเกี่ยวข้องกับวิธีการของแต่ละบุคคลด้วย เนื่องจาก จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่าวิธีการจุ่มหรือชุบนี้มักใช้กับแค่ชิ้นงานบางประเภทเท่านั้น ยกตัวอย่าง ที่สตูโอซึ่งอาจจะมีความเหมือนและแตกต่าง แต่จะมีพื้นฐานมาจากวิธีการเดี่ยวกัน ใช้กับงาน 2 ประเภท ดังนี้

-งานที่มีขนาดใหญ่ เกินกว่าจะใช้ที่คีบ คีบจุ่มได้ เช่น ถ้วยจาน ที่มีขนาด 11 นิ้วขึ้นไป

-งานที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งหากใช้ที่คีบจะทำให้เสียเวลากว่าการใช้มือ

เทคนิคการชุมหรือจุ่มเซรามิค ด้วยมือ ที่ใช้งานที่สตูจะมีดังนี้

1.ช่างจะต้องรู้ถึงรูปร่างลักษณะของภาชนะก่อนชุมเสมอ เนื่องจากลักษณะของชิ้นงาน มีความสำคัญต่อการชุ่ม,จุ่มชิ้นงานเซรามิคเป็นอย่างยิ่ง การจับไม่ถูกวิธีจะส่งผลเสียหลายอย่าง เช่น ชิ้นงานแตกหัก ระหว่างการชุบ ,เคลือบไหลไม่ดีเพราะจับไม่ถูกวิธี ,ตำนหนิบนชิ้นงานใหญ่เกินไป

การชุบจาน
การชุบถ้วย

2.ดูจังหวะการไหลของเคลือบ เนื่องจาก ภาชนะเซรามิคมีหลายประเภท การจับ ชิ้นงาน เช่น ถ้วย และจาน ก็มีวิธีการไหลของน้ำเคลือบที่ต่างกัน วิธีการดูทิศทางของการไหล ถ้าทำได้ถูกต้องคือ ต้องให้เกิดตำหนิจากการไหลของเคลือบให้น้อยที่สุด เพือลดเวลาในการแต่งชิ้นงาน และลดการเกิดทำหนิ แต่หากเกิตำหนิต้องรู้กจักการ แต่งชิ้นงานให้ กลับมาเนียนด้วยเช่นกัน

การคว่ำแบบเอียงทำให้น้ำเคลือบไหลตามแนวถ้วย
ตำหนิจะเกิด 1 มุมจาก ปาก ถ้วย

3.การตกแต่งงานมักทำตอนที่ชิ้นงานหมาน50% ในการกลบตำหนิของชิ้นงาน เนื่องจาก ต้องอาศัยการสังเกตว่าเคลือบ หมาดพอที่จะจับได้ยัง การแต้มปิดตำหนิและแต่งในช่วงนี้จะช่วยให้เคลือบ ที่ปิดทับหรือตกแต่งเนียนยิ่งขึ้น เพราะ ถ้า ชิ้นงานที่ชุบแห้ง100% การปิดรอยตำหนิก่อนแต่งจะยากเคลือบจะหลุด ขั้นตอนนี้ม่ความสำคัญมาก เพราะหากทำไม่ดี ชิ้นงานจะเกิดตำหนิหลังเผาแบบชัดเจน

การตกแต่งชิ้นงานจุดบริเวณตำหนิ

การชุ่ม,จุ่มชิ้นงานด้วยมือ เทคนิคการทำ มักขึ้นอยู่กับความถนัด และ ประสบการณ์ของผุ้ทำ เพราะยิ่งมีประสบการณ์ งานที่เกี่ยวกับงานฝีมือมักทำออกมาได้ดีกว่าเพราะจะต้องมีความละเอียด ใจเย็น แม้ว่าวิธีการชุบด้วยมือจะไม่ได้รับ ความแพร่หลายแล้วในปัจจุบันแต่ก็ยังมีโรงงานหรือสตูหลายๆแห่งที่ใช้วิธีการนี้อยู่ เพราะการชุบแบบนี้มักทิ้งตำหนิเล็กน้อยให้กับงาน ทำให้รุ้สึกถึงความเป็นงานฝืมือมากกว่าการใช้อุปกรณ์หรือการเคลือบงานแบบวิธีอื่น ทำให้สามารถนำมาสร้างจุดเด่น แต่งต่างจาก ได้

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.