“Rustic White glaze production” การผลิตเคลือบสีขาวแบบชนบท

การผลิตเคลือบสีขาวแบบชนบทหรือ เคลือบสี ขาวที่มีให้ความรู้สึกย้อนยุค สมัยก่อน ดุดิบ ทึบไม่โปร่งแสง ผิวด้าน และมีตำรอยเคลือบหลุดรอบตำหนิ เหล่านี้ คือ คำอธิบายของเคลือบ สีขาวแบบ ชนบท และ มาทำความรู้จักกับเคลือบชนิดนี้มี ว่าคืออะไร มีส่วนประกอบที่เกิดจากสารหรือ เคลือบ แบบไหน การเกิดตำหนิ จุด และรองรอย ทำอย่างไร

ที่มาของรูปภาพ: moodboard déco

” การผลิตเคลือบสีขาวแบบชนบท เคลือบเก่า “

เคลือบสีขาวด้าน เป็นเคลือบที่ เป็นขั้นพื้นฐานแรกๆ ของการทำเคลือบ ที่นอกเหนือจากเคลือบใส ซึ้งหลักๆ การทำเคลือบสีขาว มีส่วนประกอบสำคัญ 4 ได้แก่ เคลือบใส ทานค่ำ เซอโคเนียม เนื้อดิน ฟริตเล็กน้อย

1. เคลือบใส

เป็นเคลือบที่เป็นเบสขั้นพื้นฐานของการใช้เคลือบเกือบทุกชนิ ยกเว้นเคลือบไฟต่ำ ที่มีการใช้ฟริต,เคลือบผลึกบางตัว และเคลือบขี้เถ้าบางถั่ว โดยส่วนประกอบหลักๆของเคลือบใสที่มีการใช้กัน มักแตกต่างไปแต่ละพื้นที่ โดยจะมีการพัฒนา แล้วแต่ว่าสตู โรงงานนั้นๆ มีวัตถุดิบชนิดใดมากน้อย เพราะเคลือบใส ที่ผลิตเองจะมีราคาถูก แต่ก็แลกมาด้วยการผสม ที่ต้องใช้เวลาและความเม้นยำ ในการผสม เคลือบใสบางที่ได้จากโรงงานเคลือบที่มีการผลิตแบบชนิดบง โดยจะมีรหัสกับกับ เช่น DG490 DG 460 เป็นต้น และมีในรูปแบบของน้ำ ซึ้งมีการผสมมาแล้วพร้อมใช้แบบที่สตูดิเซรามิคทำ ซึ่งเราใช้เคลือบใสที่ได้มาจากลำปาง เป็นชนิดเดี่ยวกับที่ใช้ที่โรงงาน เคลือบใสจะมีส่วนประกอบดังนี้

ส่วนประกอบ ของเคลือบใส จำนวนอัตราส่วนมักมากน้อยตามแต่ละแหล่งที่มา

ที่มาของข้อมูลและ รูปภาพ จากทีมเซรามิค Terrestrial และสอบถามจากดินขาวลำปาง

2.Talcum ทานคัม

เป็นส่วนประกอบอีกชนิดที่ ใช้ในการทำเคลือบ ชนบท เคลือบเก่า โดยทานค่ำหรือทัมคัม แล้วแต่กการเรียก จะมีทั้งในตัวเคลือบใส และมีการปรับแต่งเพิ่ม เติ่ม ขึ้นมาโดย ทานค่ำจะมีคุณสมบัติทำให้เคลือบเกิดความทึบแสง แสงรอดผ่านได้น้อย ทำให้เคลือบมีผิวด้าน ซึ่งความต้องการให้เคลือบมีผิวที่ด้านมากหรือน้อย จะอยุ่ที่ไม่ปริมาณไม่เกิน10% เท่านั้น ทานค่ำจะมีหลักษณะเป็นผงคล้ายแป้งสีขาว

ที่มาของข้อมูลและ รูปภาพ จากทีมเซรามิค Terrestrial
ที่มาของข้อมูลและ รูปภาพ จากทีมเซรามิค Terrestrial

3.Zirconium เซอโคเนียม

เซอโคเนียม หรือที่เรียก เซอโคเนียมซิลิเกต เป็นส่วนประกอบอีก อย่างที่ ใช้การทำเคลือบ หลายๆชนิด และยังมีในเคลือบ ใส ด้วย เซอโคเนียม จะช่วยทำให้ เคลือบชนิดนั้นๆ ขาวขึ้น เช่น เคลือบสีขาว ก็จะขาวขึ้นไปเรื่อยๆเมื่อใส่ในปริมาณมาก เคลือบสีเหลือง ก็จะค่อยๆขาวขึ้นจากเหลือง เป็นเหลือง อ่อน ซึ่งความขาวจะขึ้นอยุ่กับ การใส่ โดยปกติจะไม่อยุ่ที่ ไม่เกิน 10% นอกจากจะทำให้เคลือบขาวแล้ว ยังสามารถทำจุดสีขาวบนเคลือบ โดยใช้ปริมาณที่ข้นมากๆ เช่นการทำ จุดขาวบนถ้วยจานสีดำ และจุดขาวบนถ้วยจานสีเทา เป็นต้น

ที่มาของข้อมูลและ รูปภาพ จากทีมเซรามิค Terrestrial

4.เนื้อดิน

เนื้อดินถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ไม่ต่างจากส่วนประกอบ อื่นๆ ในงานเซรามิค การเลือกใช้ดินให้ถูกกับเคลือบ เพื่อทำงานขึ้นมาถือเป็นขั้นตอนสำคัญซึ้ง ก่อนที่มีการเลือกเนื้อดินจะต้องมีการทดลองเคลือบ การทำให้เนื้อดิน เกิดจุด สมิมเพราะ สไตล์ชิ้นงานที่มีเคลือบชนบท เคลือบเก่า มักใช้เนื้อดินที่มีสีเข้ม สีแดงอมส้ม อิฐ ซึ่งจะสื่อถึงความเก่า ความดิบ มากกว่าเนื้อดินสีขาว และจุด สมิทสีดำ ที่กระจ่ายตัวใน เนื้อดิน ก็เกิดจากการใช้ ผงโลหะ นวนลงไปในเนื้อดิน ในการบวนการ อัด ขึ้นรูป การ โทรอิ้ง เนื้อดินที่เผาที่ได้ ออกมา จะมีทั้งจุด และสีเข้ม ตามที่ต้องการ

ที่มาของข้อมูลและ รูปภาพ จาก ทีมเซรามิค Terrestrial
ที่มาของข้อมูลและ รูปภาพ จาก ทีมเซรามิค Terrestrial

5.ฟริต

ฟริต หรือ ฟรัส คือเบส สำหรับการทำเคลือบ ในลักษณะของเคลือบไฟต่ำ แต่หากนำมาใช้ในงาน เคลือบสีขาวชนบท เคลือบเก่า จะใช้เพียงเล็กน้อย เพราะฟริตมีคุณสมบัติในการช่วยทให้เคลือบไหลตัว และหลอมตัวได้ดีในอุณหภูมิ ที่ต่ำ จึงถือว่าเป็นตัวที่ช่วยเสริม และ เคลือบที่ได้จาก ฟริต มักให้อารมความดิบ และ และเอ็ฟเฟคที่แปลกตาที่เคลือบใส ทำไม่ได้ทั้งหมด เพราะการผสมสีของเคลือบ ซึ่งฟริตมีหลาย เกรด และรหัส ซึ่ง จะขึ้นอยู่กับราคา และความเหมาะกับกับชิ้นงาน ยกตัวอย่างเคลือบที่ ทีเซรามิค ใช้จะเป็นเคลือบฟริตรหัส 103 ที่ได้จากลำปาง

ที่มาของข้อมูลและ รูปภาพ จาก ทีมเซรามิค Terrestrial และการสอบถาม บ.NYH
ที่มาของข้อมูลและ รูปภาพ จาก ทีมเซรามิค Terrestrial และการสอบถาม บ.NYH

เคลือบขาวชนบท เคลือบขาวเก่า เป็นสไตล์ของ งานเซรามิค ที่ มีการทดลองแบบหลากหลาย ทั้งในและต่างประเภท โดย แต่ละที่จะใช้เนื้อดินที่ต่างกัน เมื่อเผาในอุณหภูมิเคลือบแล้วสีของเนื้อดินจะ เข้มหรืออ่อน จากสารที่อยู่ในดิน โดย งานที่นิยมใช้ให้เกิดสีเนื้อดินเข้ม คือ ดินที่ได้จากดินพื้นบ้าน ซึ้งแม้เเต่ในไทยเองดินพื้นบ้านก็มีหลากหลายที่อย่างมาก เพราะเป็นดินที่ได้จากแหล่งนั้นๆ ต้องผ่านการนำมาทดลองขึ้นรูปปรับแต่งอีกที่จนกว่าจะได้ดินที่ เหมาะ และนอกจากเนื้อดินที่สำคัญและ ถ้าขาดเคลือบขาวที่เหมาะสม การทำเคลือบชนิดนี้ก็จะเหมือนขาด บางอย่างไป เคลือบขาวก็ต้องทดลองที่ขาว แต่ต้องไม่มากกว่าเสีดิน เพื่อทำให้จุดบนเนื้อดินปรากฏซึ้งโดยส่วนใหญ่แล้ว การจับคู่ระหว่างเนื้อดินและ เคลือบเป้นนิ่งสำคัญมากๆเพราะหาก ดินและเคลือบกดตัวไม่เท่ากัน หรือไม่ใกล้เคียงกัน ชิ้นงานจะบิดเบี้ยวแตกราว ขณะเผา จะเห้นได้ว่า เคลือบขาวชนิดนี้เหมือนจะทำได้ง่าย แต่จริงๆแล้ว มีขั้นตอนการทำงานที่ละเอียด และขั้นตอนต้องให้ความใส่ใจกับเนื้อดินและเคลือบ อยุ่มาก

ที่มาของข้อมูลและ รูปภาพ
https://thelittlepotcompany.co.uk/blogs/pottery/developing-a-rustic-white-pottery-glaze

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.