เฟลด์สปาร์ หรือ หินฟันม้า พบได้ทั่วไปในหินอัคนี หินแปร หินตะกอน ฯ เฟลด์สปาร์เป็นแร่ที่มีปริมาณธาตุอัลคาไลด์สูง มีธาตุเหล็กต่ำ โดยเฟสด์ปาร์นั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่นิยมใช้กันมากในงานเซรามิกทั้งงานขึ้นรูป และในงานเคลือบเซรามิก เนื่องจากมีผลทำให้อุณหภูมิการหลอมตัวต่ำลงจึงมีหน้าที่เป็นฟลักซ์ทำให้เกิดเป็นเนื้อแก้วยึดเหนี่ยวเนื้อ ทำให้เกิดความแกร่งและความโปร่งใสของชิ้นงานหลังเคลือบ และหาได้ง่ายในธรรมชาติอีกด้วย
แหล่งในประเทศ
แหล่งผลิตเฟลด์สปาร์ที่สำคัญจะอยู่ในบริเวณใกล้เทือกเขา ซึ่งมีการดันตัวของพื้นดินขึ้นมาซ้อนกัน เป็นเวลานาน เช่น เทือกเขาทางด้านตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัด ตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ แหล่งในจังหวัดตากและราชบุรีถือเป็นแหล่งสำคัญและมีการผลิตต่อเนื่อง สำหรับโซดาเฟลด์สปาร์นั้นมีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
เฟลด์สปาร์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่นั้นจะมีอยู่ 2 เภทได้แก่
- โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ (Potash Feldspar) ใช้ผสมในเนื้อดินเป็นหลัก
- โซเดียมเฟลด์สปาร์ (Sodium Feldspar) ใช้ผสมในเนื้อดินและสูตรเคลือบ

แร่เฟลด์สปาร์นิยมใช้มากในงานเซรามิก เนื่องจากแร่ชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยลดจุดหลอมเหลวของชิ้นงานและหาได้ง่ายในธรรมชาติ จึงมีการนำมาเป็นสารตัวเติมในสูตรการผสมน้ำดิน และนำมาผสมในสูตรน้ำเคลือบเพื่อช่วยลดอุณหภูมิในการเผาเคลือบลง แต่หากใส่ในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ชิ้นงานเสียรูปหลังการเผาได้