การใช้แปรงบนผิวเคลือบงานเซรามิกสไตล์ชนบทเก่าแก่

ก่อนที่เราจะมาดู ผลกระทบหรือขั้นตอน การ ทำแจกันแนวชนบท หรือ แนวโบราณวินเทจ สไตล์งาน แนวชนบทซึ้งส่วนมากมักนำมาใช้กับแจกันและของประกอบ อื่นๆ มากกว่าชิ้นงานบนโต๊ะอาหาร ในที่นี้จะขอเปรียบเทียบสไตล์นี้ กับแจกันเพราะจะเห็นภาพได้อย่างชัดเจน มีลักษณะแบบไหน แล้วทำไหม ถึงได้รับความนิยมในช่วงหลังในการนำมาตกแต่ง มากขึ้นเรื่อยๆ มีจุดเด่นอะไรที่ช่วยดึงดึดความน่าใจให้กับชิ้นงานสไตล์นี้

ที่มาของรูปภาพ:https://www.jhwallpaints.com/pages/designer-collection?
ห้องตกแต่งที่ได้รับแรงบรรดาลใจจากสไลต์วินเทส

“แจกันแนวชนบทหรือแนววินเทจ”

เริ่มเแรกเดิมที่นี้ แจกันสไตล์นี้ เป็นขิ้นงานที่ได้รับความนิยมในฝั่งยุโรปและอเมริกามาก่อน สืบเนื่องจากศิลปะที่เกี่ยวข้องคือสไลต์วินเทจมีต้นกำเนิดจาก แถบนั้น หลังจากนั้นก็ได้รับความนิยมและแพร่ขยายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา ซึ้งการตกแต่งห้องนอกจากจะอยุ่ที่สีผนัง พื้นห้อง เฟอร์นิเจอร์ แล้ว ภายในบ้าน การตกแต่งห้องสไตล์ วินเทจมักมีเครื่องปั้นดินเผา ไม่มากก็น้อยตามมุมต่างๆ เพราะเครื่องปั้นดินเผาให้อารมณ์ การเข้าถึงธรรมชาติการเป็นชนบทมากกว่าวัสดุชนิดอื่น เช่น แจกัน คอนโทน้ำ เป้นต้น

แจกันส่วนมากก็มักมีสีเข้ม เช่น สีดำ สีน้ำตาลอิฐ สีเทาเข้ม หรือโทนสว่างเช่น โทนขาวม่น เทาม่น หรือเหลืองม่นๆ ทั้งหมดจะมีสีที่ไม่มีสีใดโดนเด่นแต่จะเน้นพื้นที่หยาบ ขุรขระมากกว่า ตัวแจกันมักทำจากดินพื้นถิ่นซึ้งแต่ละที่มีความแตกต่างกันเรื่องของสี ทำให้ ต่อให้เป็นสไตล์วินเทสเหมือนกัน แต่ชิ้นงานที่ออกมาอาจจะมีความแตกต่างกัน

นอกจากนี้จุดเด่นของ สไตล์งานชนบท วินเทจ ยังให้อารมณ์เศร้า แต่เป็นกันเองน่าค้นหา เพราะโทนสี เลี้ยนแบบการใช้งานเสมือนชิ้นงานผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน พื้นผิวที่ให้สัมผัสแตกต่างจากงานประเภทเอื่น มีความเป็นธรรมชาติสูง

วิธีการทำชิ้นงานสไตล์ชนบท สไตล์วินเทจ มีด้วยกันหลายวิธีวิธีที่จะนำในวันนี้คือเทคนิคการใช้แปรง

“การใช้แปรง ที่มีผลต่อ พื้นผิวเคลือบ บนงานเซรามิคสไตล์ ชนบทเก่า “

การใช้แปรงในการทำ ชิ้นงานสไตล์ชนบท สไตล์วินเทจ เป็นวิธีที่ใช้อย่างแพร่หลาย โดย มากจะใช้แปรงที่หัวใหญ่ไม่แหลม เพื่อใช้ในการปาด สร้างพื้นผิว โดยวิธีการทำจะแบ่งออกเป็นได้ดังนี้

ที่มาของรูปภาพและข้อมูล https://th.aliexpress.com/item/4001258143940.html
ภาพ ตัวอย่างแปรงที่สามารถทำมาประยุกต์สร้างชิ้นงาน

1.การเตรียมชิ้นงานบีส ทำความสะอาดพร้อมลงสีเคลือบ การลงสีพื้น การลงสีพื้นมักเป็นสีที่มีพื้นที่มากที่สุดโดย เป็นสีที่ต้องการเน้นให้เห็น ของชิ้นงานนั้นๆ โดยมากจะเป็นสี เข้มเช่น น้ำตาล ดำ หรือ สีที่อ่อนแต่ไม่ว่างมากออกม่นๆเช่น เทาม่นติดดำ ขาวอมเหลือง

ข้อมูลและรูปภาพ มาจากทีมสตูดิโฮเซรามิค
Terrestrial
ภาพการลงสีพื้น โทนน้ำตาล

2.การลงสีรอง เป็นสีโทนมืดหรือสว่างก็ได้ เช่น การลงสีดำเพือเพิ่ม เงาให้กับตัวชิ้นงานโดยลงแทรกรหว่างสีน้ำตาล เพื่อพื้นพื้นผิวให้ลึก โดยเนื้อสีมักจะมีความข้น โดยการใช้แปรงปัดที่ละจุด เว้นระยะห่าง ไม่ลงหนาหรือลง ทั่วจนเกินไป

ข้อมูลและรูปภาพ มาจากทีมสตูดิโฮเซรามิค
Terrestrial
ภาพการลงสีดำแทรก โทนน้ำตาล

3.การลงสีที่โดนเด่น เพื่อสร้างความเก่าแก คล้ายมีฝุ่นผง ทำให้เกิดพื้นผิว ทราบขระขระ แก่ชิ้นงาน โดยมากมักใช้สี อ่อน เช่นสีเท่าม่น ขาวอมเหลือง เมื่อสีอ่อน มาผสมกับสีเข้มที่ลงไปก่อนน่าจะเกิดการผสมกันเล็กน้อยให้สีดูเก่าดูเปื้อนมากขึ้นนนอกจากนี้เมื่อใช้เนื้อสีข้นจะยิ่งทำให้ เกิดพื้นผิว มากขึ้น

ข้อมูลและรูปภาพ มาจากทีมสตูดิโฮเซรามิค
Terrestrial
ภาพการลงสีขาวแทรก โทนน้ำตาลดำที่ลงก่อนหน้า

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.