หากคุณเป็นผู้ส่งสินค้าหรือมีตลาดเป้าหมายที่ประเทศอเมริกา จะต้องมีความรู้ในการจะนำเข้าส่งออกอเมริกาที่จำเป็นจะต้องทราบกฎ ระเบียบ เงื่อนไขรวมถึงเอกสารต่างๆ ก่อนการนำเข้าส่งออกอเมริกา รวมถึงสินค้าทุกประเภทและโดยเฉพาะในช่วงนี้การนำเข้าสินค้าประเภทอาหารในอเมริกาจะต้องมีเอกสารที่ร้องขอมากยิ่งขึ้นตามกฎการนำเข้า และขอความร่วมมือผู้ส่งทุกรายที่ส่งสินค้าประเภทอาหารช่วยดำเนินการด้านเอกสารดังนี้

1.) แยกใบขนขาออก และ BL ในนามบริษัทลูกค้าเอง
หากลูกค้าจดทะเบียนนิติบุคคลจะต้องแยกใบขนขาออก และ BL ในนามบริษัทลูกค้าเอง สามารถแยกเอกสารใบขนขาออกและ BL ได้ต่อเมื่อได้ลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมศุลกากร (รวมทางส่งทางเรือ) หรือมี Paperless แล้วเท่านั้น โดยมีค่าใช้จ่าย 4,500 บาท/ชิปเมนท์
ซึ่งการแยกเอกสาร BL และใบขนขาออกนี้ รายการสินค้าในเอกสารจะเป็นของลูกค้าเพียงรายเดียว ซึ่งสามารถนำไปประกอบยื่นกับสรรพากรและใช้สิทธิ์ผู้ส่งออก Vat 0% ได้ และจะต้องเตรียมเอกสารมอบอำนาจให้ชิปปิ้งเราดำเนินการด้านพิธีการศุลกากร
การจัดเตรียมเอกสารสำหรับแยก BL/ใบขนขาออก
- หนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 3 เดือน
กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม เซ็นต์และติดตราประทับทุกหน้า จะเอาไปใช้ประกอบระบุเป็นผู้ส่งออกในใบขน ให้ขีดคร่อมและระบุว่า “ใช้สำหรับทำพิธีการศุลกากรเท่านั้น” ก็ได้ - ใบภพ 20 ลงตราประทับและเซ็นต์
- สำเนาบัตรกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ที่มีชื่อในหนังสือรับรองลงตราประทับและเซ็นต์
- ขอทราบชื่อในสำเนาใบจดทะเบียนผู้ส่งออก (ทางชิปปิ้งจะได้ทราบว่าจดในชื่อใคร จะได้เดินเอกสารได้ถูกต้อง)
- หนังสือมอบอำนาจชิปปิ้ง
2.) Importer of record (IOR)

ตั้งแต่ปี 2566 นี้เป็นต้นไป ลูกค้าจะต้องมีหมายเลข IOR ผู้นำเข้าในนามบริษัทบริษัทลูกค้าเอง ซึ่งหากเป็นลูกค้าหรือใช้บริการขนส่งไปอเมริกากับบริษัทเทอเรสเทรียล ทางเราสามารถช่วยเตรียมเอกสารในการลงทะเบียน IOR ได้ ซึ่งเอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่
- หนังสือรับรองบริษัท DBD หน้าแรก ฉบับภาษาไทย
- ภพ.20 ฉบับภาษาไทย
- หนังสือรับรองบริษัท DBD หน้าแรก ฉบับแปลภาษาอังกฤษ English translation
- PP 20 ฉบับแปลภาษาอังกฤษ English translation
- Corporate Certification ฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อรับรองข้อมูลว่าแปลถูกต้อง
เทอเรสเทรียลสามารถช่วยเตรียมเอกสารฉบับภาษาอังกฤษได้หากคุณไม่มีและเข้าไปกรอกฟรอม IOR Information Request เพื่อให้เราช่วยเตรียมเอกสารหนังสือรับรอง / ภพ.20 ฉบับภาษาอังกฤษ และเอกสาร Corporate Certification
3.) พันธบัตรศุลกากร (Custom Bond)

จากข้อ 2.) ที่ได้กล่าวถึง IOR หากลงทะเบียนผู้นำเข้าอเมริกาและได้รับหมายเลขผู้นำเข้าแล้ว จะต้องมีพันธบัตรศุลกากร (Custom Bond) เป็นประกันการนำเข้า หากไม่มีทางเราสามารถช่วยแนะนำและเตรียมเอกสาร POA ได้ ค่าใช้จ่ายสำหรับพันธบัตร Custom Bond มี 2 ตัวเลือกได้แก่ Single Bond เริ่มต้นที่ $100 และ Multiple bond สามารถใช้ได้ทั้งปี เริ่มต้นที่ $200 เลือกได้ว่าจะลงทะเบียนแบบไหน
4.) US FDA

สำหรับสินค้าประเภทอาหารจะต้องการลงทะเบียน US FDA และได้รับ Registration Number ผูกติดกับโรงงานผลิตสินค้าเพื่อใช้ในการแจ้งสำหรับนำเข้าสหรัฐอเมริกา
5.) หมายเลข Dun Numbers

Dun and Bradstreet เป็นบริษัทเอกชนที่เก็บข้อมูลของธุรกิจทั่วโลก โดยหนึ่งในบริการที่พวกเขามีคือ หมายเลขการลงทะเบียน DUNs จะมีการใช้มากเมื่อนำเข้าอาหาร เราขอแนะนำอย่างยิ่งให้ธุรกิจลงทะเบียนเพื่อรับหมายเลข DUNS เป็นการลงทะเบียนเพียงครั้งเดียว เนื่องจากเราคาดว่ามันจะกลายเป็นข้อกำหนดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หากยังไม่มีหมายเลข DUNs สามารถดูรายละเอียดวิธีการลงทะเบียนที่ลิ้งค์นี้ https://goterrestrial.com/duns-and-how-to-register/ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
6.) FSVP – Foreign supplier verification program

คือข้อบังคับชุดที่สองที่มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทที่นำเข้าอาหารเข้ามาในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การจดทะเบียน FDA ครั้งแรก มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อจดทะเบียนโรงงานต่างประเทศที่ผลิตหรือมีอาหารและเครื่องสำอางค์สำหรับสหรัฐอเมริกา แต่ FSVP มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบว่าอาหารที่นำเข้ามาในสหรัฐอเมริกาผ่านการประเมินความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสมและปลอดภัยในการนำเข้า การลงทะเบียนนี้จะใช้กับบริษัทที่ส่งเอกสาร FDA สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งแยกจากการลงทะเบียน FDA และต้องต่ออายุทุกๆ 1 หรือ 2 ปี นอกจากนี้องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกายังเป็นผู้จัดการเรื่อง FSVP อีกด้วย ซึ่ง FSVP ได้มีผลบังคับใช้แล้ว โดยมีการบังคับใช้แล้วซึ่งอาจจะเกิดขึ้นภายในเร็ว ๆ นี้ และเลือกบังคับใช้เพื่อไม่ให้เกิดการแทรกแซงการค้า ในขณะเดียวกันก็ยังให้เวลากับบริษัทต่างๆ ในการลงทะเบียน