สำหรับท่านใดที่มีความประสงค์จะเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกต้องการลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมศุลกากร ทางเรามีคำแนะนำสำหรับการติดตั้งและการลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมศุลกากรเบื้องต้นเพื่อให้ท่านทราบข้อมูล รายละเอียด เกี่ยวกับการลงทะเบียนในบทความนี้
พิธีการศุลกากรคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร?
พิธีการศุลกากรเป็นหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการนำเข้า-ส่งออก ก่อนที่จะสามารถดำเนินพิธีการศุลกากรได้นั้น ผู้นำเข้า-ส่งออกเป็นได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาจะต้องมีการลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมศุลกากรและได้รับเลข Paperless แล้วเท่านั้น จึงจะสามารถดำเนินพิธีการส่งออกกับกรมศุลกากรได้ โดยการเช็คข้อมูลเบื้องต้นก่อนจะสามารถลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมศุลกากร ดังนี้

นิติบุคคล
1.) จะต้องจดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล รูปแบบบริษัท หรือเป็นผู้ประกอบการ
2.) จะต้องมีวัตถุประสงค์ในหนังสือรับรองของบริษัทเนื้อความเกี่ยวกับการนำเข้า/ส่งออก “ประกอบกิจการนำเข้ามาจำหน่ายหรือส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ” และจะต้องรวมถึง “การขนส่งและขนถ่ายสินค้า โดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ” ด้วย
3.) หากไม่มีเนื้อความเล่านี้ในวัตถุประสงค์ในหนังสือรับรองของบริษัทจะต้องไปเพิ่มวัตถุประสงค์ก่อน โดยสามารถไปเพิ่มสำนักทะเบียน ณ จังหวัดที่ขอจดทะเบียนนั้น ๆ
หากเพิ่มวัตถุประสงค์หรือมีวัตถุประสงค์ครบถ้วนแล้วถึงจะสามารถไปลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมศุลกากรได้
เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนกับกรมศุลกากร
นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาใช้เอกสารอะไรบ้าง โดยจะแบ่งเป็นสัญลักษณ์ดังนี้ 🟢 นิติบุคคล 🟡 บุคคลธรรมดา
🟢🟡 1. กรณีคนไทย : บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้มีอำนาจลงนามตามหนังสือรับรอง)
🟢🟡 2. กรณีบุคคลต่างประเทศ : สําเนาหนังสือเดินทาง (Passport)
🟢 3. หนังสือรับรองนิติบุคคล – DBD (อายุไม่เกิน 3 เดือน)
🟢 4. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือก.พ. 20
🟢 5. บอจ.3 (แบบแสดงรายการจัดตั้งบริษัท)
🟢 6. บอจ.5 (สาเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น)
🟢🟡 7. แบบค่าขอการลงทะเบียนของกรมศุลกากร
🟢🟡 8. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้มีอำนาจลงนามตามหนังสือรับรองไม่สามารถดำเนินการลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง)
🟢🟡 9. บัตรประจําตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอานาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน)
หลังจากที่เราเช็คข้อมูลเบื้องต้นแล้ว เตรียมเอกสารทั้งหมดที่ใช้ในการลงทะเบียนอย่าลืมลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจและประทับตราบริษัท (หากมี) และไปลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมศุลกากร
ขั้นตอนการลงทะเบียนผู้ส่งออกกับกรมศุลกากร

1.) ลงทะเบียนผ่านระบบลงทะเบียนผู้มาติดต่อออนไลน์ทางเว็บไซต์กรมศุลกากร (Online Customs Registration)
2.) ลงทะเบียน ณ หน่วยบริการรับลงทะเบียนของกรมศุลกากร หรือไปลงทะเบียนที่กรมศุลกากรใกล้บ้าน
โดยสามารถโทรไปสอบถามรายละเอียดและการเตรียมเอกสารได้ที่กรมศุลกากรหรือกรมศุลกากรใกล้บ้านของท่าน
3.) หลังจากลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกรมศุลกากรเรียบร้อยแล้ว จะต้องเพิ่มผู้มีอำนาจกระทำการแทนในระบบด้วย โดยจะต้องใช้สำเนาบัตรกรรมการผู้มีอำนาจตัวจริงไปเพิ่มผู้มีอำนาจที่กรมศุลกากร
เอกสารที่ใช้มีใบคำขอ 7 และ ใบแนบ ก / สำเนาหนังสือรับรองบริษัท / ภพ.20 อายุไม่เกิน 3 เดือน ประทับตราและลงลายมือชื่อ หรือเตรียมหลักฐานไปแล้วไปที่ศุลกากร แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะทำเรื่องขอเพิ่มผู้มีอำนาจกระทำการแทนก็ได้
4.) หลังจากลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมศุลกากรเรียบร้อยแล้วจะได้รับใบตอบรับการลงทะเบียน ได้รับเลข Paperless
5.) หลังจากลงทะเบียนและได้รับเลข Paperless แล้วถึงจะสามารถส่งออกได้ และสามารถมอบอำนาจให้ตัวแทนของบริษัทเราไปดำเนินการแยกใบขนขาออกให้ได้
หมายเหตุ : ในกรณีที่ลูกค้าหลายรายต้องการใบขนขาออกจะต้องดำเนินการมอบอำนาจให้กับบริษัทที่ได้รับจดทะเบียนโบรกเกอร์ หรือตัวแทนของออก
สำหรับผู้ขายบน Amazon และลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งกับเทอเรสเทรียล
สำหรับลูกค้าที่ขายบน Amazon.com มีรายได้เกิน $5,000 ต่อปี กฎใหม่ของ amazon คือผู้ขายจะต้องมีหมายเลขเสียภาษี Tax ID ซึ่งจะต้องมาจากการจดทะเบียนบริษัทหรือนิติบุคคล ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ได้มีเนื้อหาแน่ชัดว่าจะต้องมาจากประเทศอเมริกาอย่างเดียวหรือไม่ จากการคาดเดาของเราคาดว่าน่าจะเป็นหมายเลขเสียภาษี หรือ Tax ID จากประเทศใดก็ได้ที่แสดงถึงการจัดตั้งบริษัท เราแนะนำอย่างยิ่งสำหรับผู้ขายที่ต้องการขยายบนแพลตฟอร์มนี้ลงทะเบียนบริษัทและมีหมายเลขเสียภาษี Tax ID
สำหรับลูกค้าของบริษัท เทอเรสเทรียล จำกัด นปี 2566 เป็นต้นไป ทางบริษัทเทอเรสเทรียลจะไม่รับการส่งสินค้าประเภทอาหารและสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงภายในการขนส่งของบริษัทเรา ลูกค้าที่ต้องการส่งสินค้าประเภทอาหารไปยังอเมริกา จะต้องแยก BL และใบขนขาออกในนามบริษัทของลูกค้าเองเท่านั้น
หากคุณมีการค้าขาย นำเข้า-ส่งออกและมีตลาดกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าต่างประเทศ เช่น อเมริกาอยู่แล้ว ทางเราแนะนำให้ลงทะเบียนบริษัทและลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมศุลกากร เพราะการลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมศุลกากรมีข้อดีคือ ง่ายต่อการดำเนินงานเอกสารเพราะเอกสารทั้งหมดจะอยู่ในชื่อของบริษัทและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากรอีกด้วย