มาทำความรู้จัก HS Code และ HTS Code กัน มันคืออะไร? Harmonized System (HS CODE) หรือ พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ เป็นระบบการจำแนกประเภทสินค้า เพื่อใช้แทนความหมายของสินค้าในแต่ละประเภท และใช้ในการตรวจสอบการจัดเก็บภาษีนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศ ซึ่งภายในบทความนี้จะบอกถึงความหมายของ HS Code และ HTS Code และวิธีการเช็คเลข HS Code กัน
เนื่องจากแต่ละประเทศมีสินค้าที่หลากหลาย และมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เพื่อกำหนดให้เข้าใจตรงกันเป็นระดับสากลที่เกี่ยวกับประเภทและชนิดสินค้านั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้การระบุสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์ที่สากลยอมรับ ซึ่งสามารถจำแนกประเภทสิ่งของต่างๆ ได้ออกเป็น 21 หมวด 97 ตอน และกว่า 5,000 ประเภทพิกัด ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ในเว็บไซต์ กรมศุลกากร
กรมศุลกากร คืออะไร
ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับพิกัดศุลกากร หรือ HS Code คือ อะไร เราจะต้องทราบก่อนว่ากรมศุลกากร ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงนั้น คืออะไร และมีหน้าที่อย่างไร
กรมศุลกากร เป็นส่วนงานราชการระดับกรม สังกัดหน่วยงานกระทรวงการคลัง ที่มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีศุลกากร ทั้งอากรขาเข้า และอากรขาออก ตลอดจนค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่มี จากของที่นำเข้ามาในและส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อเป็นรายได้ของรัฐ ในการนำไปพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และมีหน้าที่ในการปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ค้าขายสุจริต
กรมศุลกากร เกิดขึ้นมาจากความต้องการในการจัดระเบียบด้านการค้าขายอย่างหนึ่ง และเพื่อการสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาดังนี้
ความเป็นมา : HS CODE (Harmonized System) หรือ พิกัดศุลกากร เป็นระบบการจำแนกประเภทและระบุชนิดสินค้าด้วยรหัสตัวเลข 6 หลัก สำหรับแจ้งภาษีอากร ซึ่งประกาศใช้โดย องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) เกิดจากความร่วมมือกันของสมาชิกกว่า 176 ประเทศ และประเทศไทยได้เข้าร่วม เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 และระบบนี้ได้รับการยอมรับจากองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) จึงได้นำมาใช้เป็นสากลทางการค้าระหว่างประเทศ
เนื่องจากแต่ละประเทศมีสินค้าที่หลากหลายเพราะแต่ละประเทศอาจมีวัตถุดิบไม่เหมือนกัน และมีชื่อเรียกแตกต่างกัน จึงต้องมีอะไรสักอย่างที่กำหนดให้เข้าใจตรงกันในระดับสากลเกี่ยวกับประเภทและชนิดสินค้านั้น จึงมีการรวมกลุ่มแลัวกำหนดเกณฑ์ให้เข้าใจตรงกัน จึงประกาศใช้ระบบ HS CODE นั่นเอง
” รหัส HS หรือ HTS ย่อมาจาก Harmonized System หรือ Harmonized Tariff Schedule พัฒนาโดยองค์การศุลกากรโลก (WCO) รหัสที่ใช้ในการจำแนกและกำหนดสินค้าที่ซื้อขายในระดับสากล ในกรณีส่วนใหญ่เพื่อนำเข้าหรือส่งออกสินค้าระหว่างประเทศสินค้าที่ซื้อขายจะต้องได้รับรหัส HTS ที่สอดคล้องกับตารางภาษีฮาร์โมไนซ์ของประเทศที่นำเข้า
ความแตกต่างระหว่างรหัส HS และรหัส HTS คือจำนวนหลักภายในรหัส รหัสที่มีหกหลักคือมาตรฐานสากล (HS Code) และรหัสที่มี 7-11 หลัก (HTS Code) มักจะไม่ซ้ำกันหลังจากตัวเลขที่ 6 และกำหนดโดยประเทศที่นำเข้าแต่ละประเทศ “
HS Code ดูอย่างไร?
HTS Code หรือ พิกัดรหัสสถิติ
นอกจากพิกัดศุลกากร (HS Code) แล้ว ในการนำไปใช้งานจริง เราจะไม่ได้ใช้เพียงรหัสพิกัดศุลกากรเท่านั้น แต่จะใช้ตัวเลขทั้งหมด 10 ตัวด้วยกัน เราเรียกว่า “พิกัดรหัสสถิติ” (HTS Code)
พิกัดรหัสสถิติ (Commodity Code) หมายถึง ตัวเลข 11 ตัวที่ระบุสินค้าแต่ละรายการ เพื่อใช้ในระบบสากลและสื่อความหมายของพิกัด ประกอบไปด้วย ตอน ประเภท ประเภทย่อย และรหัสสถิติ ซึ่งสามารถแบ่งตัวเลขออกเป็นหมวดต่างๆ ได้ดังนี้
1. เลข 4 ตัวแรก
มาจากเลขชุด 6 ตัวของ HS Code พิกัดศุลกากร จะเป็นประเภท (Heading No.) แยกเป็น
- 2 ตัวแรกเป็นเลขลำดับของ “ตอน”
- 2 ตัวหลังเป็นเลขลำดับของ “ประเภท” ที่อยู่ในตอนนั้น
ตัวอย่างเช่น ตอนที่ 29 กำหนดให้เป็นเคมีภัณฑ์อินทรีย์ และประเภทที่ 29.07 คือ ฟีนอลและฟีนอลแอลกอฮอลล์
2. เลข 4 ตัวต่อมา
เป็นลำดับของ “ประเภทย่อย” (Subheading No.) ประกอบไปด้วย
- เลข 2 ตัวแรก เป็นเลข 2 ตัวที่เหลือจากเลขชุด 6 ตัวของ HS Code พิกัดศุลกากร
- เลข 2 ตัวหลัง เป็นประเภทย่อยระบบพิกัด
เลข 2 ตัวหลังนี้ เช่น ประเทศไทยใช้ระบบพิกัดศุลกากรอาเซียน (CEPT Code / the AHTN Protocol) ก็จะเป็นเลขขอพิกัดนี้ เมื่อรวมกับข้อ 1 จะเป็น 8 ตัว (ส่วนใหญ่เป็นเลข 8 ตัว) ตัวอย่างเช่น 2907.10.00 คือ ฟีนอล (ไฮดรอกซิเบนซิน)
3. เลข 2 ตัวสุดท้าย
คือ เลขรหัสสถิติ (Statistics code) ซึ่งเป็นรหัสสินค้า (Code for goods) และรหัสหน่วยสินค้า (Unit of goods) โดยตัวเลข 2 หลักสุดท้าย จะเป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ ทำให้รวมแล้วมี 10 ตัว
ความสำคัญของพิกัดศุลกากร หรือ HS Code
เราได้เห็นกันแล้วว่าพิกัดศุลกากร HS Code มีความสำคัญต่อการระบุจำแนกชนิดและประเภทของสินค้า โดยความสำคัญ คือ
1. กรมศุลกากรจะใช้ HS Code ในการกำหนดอัตราภาษีสินค้าทั้งขาเข้าและขาออก ซึ่งสินค้าขาเข้ามักมีการเรียกเก็บภาษี แต่สินค้าขาออกสำหรับประเทศไทยส่วนใหญ่มักไม่ต้องเสียภาษี
2. HS Code จะช่วยให้เราทราบประเภทของสินค้าและใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร หรือฟอร์มลดหย่อนภาษี FTA (Free Trade Area) ได้อย่างถูกต้อง
3. HS Code ช่วยให้เราสามารถคำนวณต้นทุนในการประกอบการ และตั้งราคาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการที่เราทราบอัตราภาษีอากรที่ชัดเจน
วิธีการหาพิกัดศุลกากร HS Code และรหัสพิกัดสินค้า HTS Code (HS Code Check)
หากคุณต้องการค้นหาพิกัดศุลกากรหรือรหัสพิกัดสินค้า คุณสามารถค้นหาได้หลายช่องทาง ซึ่งมีความสะดวกสบาย และไม่ยุ่งยาก ดังนี้
- ค้นหาผ่านทางเว็บไซต์กรมศุลกากร
- ค้นหาผ่านทาง Application ของกรมศุลกากรที่ชื่อว่า “HS Check”
- หากต้องการความเป็นสากล ค้นหาผ่านทาง https://hts.usitc.gov/
บทความจาก
https://vayoit.com
https://fastship.co
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “การหาพิกัดรหัสสถิติ HTS CODE และวิธีการคำนวนค่าภาษีนำเข้าได้” ที่นี่
บทความที่เกี่ยวข้อง :