เมื่อพูดถึงการออกแบบกราฟฟิค เราต้องให้ความสนใจไปที่ตัวอักษรและการใช้สี ซึ่งสีเป็นองค์ประกอบของตัวพิมพ์ที่อธิบายว่าข้อความที่ปรากฏบนหน้านั้นดูหนักแน่นแค่ไหน ฉะนั้นการใช้ความสมดุลของสีต่าง ๆและสีขาวอย่างเหมาะสมจะทำให้สามารถอ่านข้อความนั้นง่ายขึ้น และอีกอย่างในการเลือกสีให้เข้ากับ Typeface นั้นจำเป็นต้องเลือกให้เข้าคู่กับและไปในทางเดียวกันด้วย เพราะมันมีผลกระทบต่อจิตใจผู้บริโภค
อย่างที่เคยเขียนในบทความก่อนหน้านี้ คำศัพท์พื้นฐานน่ารู้เกี่ยวกับตัวอักษร (Typographic) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Typeface ซึ่งเป็นศัพท์เนื้อหาหลักในบทความนี้ หากให้ย้อนความ Typeface คือรูปแบบอักษรต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาซึ่งแต่ละแบบอักษรจะให้ความรู้สึกและอารมณ์ที่ต่างกัน (เคยอธิบายในบทความ ลักษณะของตัวอักษรและฟอนต์ สามารถสื่ออารมณ์ออกมาได้) บ่างแบบให้ความรู้สึกเป็นมิตรน่ารัก บางแบบให้ความรู้สึกเป็นทางการ


ตัวอย่างของแบบอักษรที่ต่างกันสองแบบ หากเราพิมพ์คำว่า i love you ที่ต่างกันสอง เราจะสังเกตได้ถึงความแตกต่างระหว่างสองอันนี้ และเกิดประเด็นที่ว่าคุณรู้สึกอย่างไร และแต่ละแบบอักษรสื่อออกมาอย่างไร แบบแรกอาจทำให้เรารู้สึกจริงจัง ส่วนแบบที่สองอาจทำให้รู้สึกถึงความขบขัน ไม่เป็นทางการ
แล้วเมื่อเรานำมาอธิบายกับการใช้สี
อย่างที่เรารู้กันว่าสีมีทั้งโทนเย็นและโทนร้อน และแต่ละสีแต่ละโทนจะแสดงอารมณ์ออกมาแตกต่างกัน ซึ่งคีย์เวิร์คสำคัญของบทความนี้คือ อารมณ์ ทั้งแบบอักษรและสี มักจะมีอารมณ์ต่างกัน เมื่อเราจับคู่ให้เข้าคู่กัน การออกแบบหรือการสื่อความหมายออกมาก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อีกทั้งยังสามารถอธิบายการใช้สีกับแนวคิดจิตวิทยาได้ด้วย สีและมนุษญ์เชื่อมโยงกันตรงที่ สีช่วยให้มนุษญ์รับรู้ความหมายและสิ่งต่าง ๆ อาทิ สีผลไม้ สภาพอากาศ หรือความรู้สึกต่าง ๆ สีจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเลือกเข้ามาใช้กับแบบตัวอักษร
________________________________________
Carl Jung นักจิตวิทยาชาวสวิส ผลงานของเขาเกี่ยวกับจิตวิทยาสีเจาะลึกถึงคุณสมบัติและความหมายของสี เขาใช้ความคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพทั้งสี่แบบและเชื่อมโยงเข้ากับสี:

Cool Blue: ไม่มีอคติ วัตถุประสงค์ เด่น วิเคราะห์ หัวข้อ ทางการ (Melancholic)
Earth Green: นิ่งสงบ สงบ ผ่อนคลาย (Phlegmatic)
Sunshine Yellow: ร่าเริงร่าเริง มีชีวิตชีวา กระตือรือร้น (Sanguine)
Fiery Red: เป็นบวก เด็ดขาด กล้าแสดงออก (Choleric)
เอาหล่ะ หลังจากที่เราทราบถึงอารมณ์และความหมายของสีหลักกันแล้ว Carl Jung ได้จำแนกสีและอารมณ์เพิ่มเติม ซึ่งสีมี “อารมณ์” ที่แตกต่างกันทั้งในแง่บวกและลบ
- สีแดง: ความตื่นเต้น ความรัก ความแข็งแกร่ง พลังงานความหลงใหล ความโกรธ อันตราย ความต้องการ ความอดทน ความก้าวร้าว ความเจ็บปวด
- สีน้ำเงิน: ความไว้วางใจ ความสามารถ ความสงบ ความภักดี สติปัญญา ความมั่นคง ความเป็นชาย ภาวะซึมเศร้า ความกลัว ความเย็นชา
- สีเหลือง: ร่าเริง ความสุข พลังงานความคิดสร้างสรรค์ ช่วงเวลาที่ดี ความหึงหวง ความไม่มั่นคง
- สีเขียว: คุณภาพ ธรรมชาติ การรักษา ความสดใหม่ การเติบโต เงิน / ความมั่งคั่ง ความอิจฉา ความผิด
- สีส้ม: ความมั่นใจ ความสำเร็จ ความเป็นกันเอง ความกล้าหาญ ความเป็นมิตร ความล้าสมัย
- สีชมพู: ความจริงใจ ความซับซ้อน ความอ่อนหวาน ความเมตตา ความขี้เล่น ความเป็นผู้หญิง ความไม่สมบูรณ์ ความอ่อนแอ
- สีม่วง: ความทะเยอทะยาน จิตวิญญาณ ราชวงศ์ ความหรูหรา ศรัทธา อารมณ์แปรปรวน จินตนาการ ความลึกลับ
- สีดำ: ละคร คลาส พิธีการ ความปลอดภัย ความเศร้าโศก ความซับซ้อน ความเศร้าโศก ความกลัว
- ขาว / เงิน: ความสะอาด บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา เรียบง่าย ว่างเปล่า ระมัดระวัง ระยะห่าง
- สีน้ำตาล: ความเข้มงวด ความเป็นมิตร ความทนทาน
แต่สีไม่ใช้ปัจจัยเดียวที่มีผลต่อการเห็นของผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว ขนาด ความคมชัดและระยะห่าง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความสามารถในการอ่านข้อความด้วย
_________________________
แบบอักษร & ความหมาย & สี
แบบอักษรจะช่วยเพิ่มภาพให้กับเนื้อหาข้อความ ส่วนสีจะช่วยเรียกความสนใจให้กับข้อความของคุณ

ตัวอย่าง
การ์ด : เนื้อหาที่เราต้องการสื่อสารออกมาภายในการ์ด อยากจะให้ดูมีความขี้เล่น เป็นมิตร และน่าอ่าน
แบบอักษร : จะสังเกตได้ว่าแบบอักษรจะไม่มีแบบ Serif จะเป็นอักษรที่เน้นขอบมน เพื่อให้ดูมีความธรรมชาติ
สี : จะไม่มีการเลือกใช้ข้อความสีทำ ที่จะทำให้ข้อความดูกระด้าง แต่จะเลือกใช้สีอื่น ๆ อาทิ ที่ชมพู ที่ส้ม สีม่วงอ่อน เพื่อให้ดูสดใส
การที่เราจะสร้างชุดข้อความหนึ่งขึ้นมาอย่าลืมว่าเราต้องมองวัตถุประสงค์ที่เราต้องการสื่อออกมาด้วย

เมนู : จะสังเกตหัวข้อหลักข้างบนจะใช้แบบอักษรที่ดูโดดเด่นออกมา และเลือกที่ที่ฉีกออกจากเนื้อหา และในส่วนเนื้อหา จะใช้แบบอักษรที่เรียบง่ายและสีดำ เพื่อง่ายต่อการอ่านและเข้าใจ

issuu.com
หน้าปก : เมื่อสังเกตหัวข้อหลัก ที่เลือกใช้สีม่วง และเนื้อหาอื่น ๆ ที่ใช้สีม่วงเช่นกัน เพราะต้องการสื่อสารให้ไปในทางเดียวกับภาพ
จากตัวอย่างที่ได้ยกมา การเลือกสีให้เข้ากับภาพลักษณ์หรือเนื้อหาที่ต้องการสื่อออกมานั้น ขึ้นอยู่กับความคิดส่วนตัวของผู้สร้างสรรค์ หรือความหมายที่ต้องการสื่อออกมา หรือเพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกับภาพที่ใช้ หรืออีกแบบคือต้องการใช้สีที่ตัดกันกับพื้นหลัง
ไม่มีกฏตายตัวที่แน่นอนว่า ต้องใช้สีแดง(มีความเด่น)เพื่อเป็นหัวข้อ และใช้สีดำเพื่อเป็นคำอธิบาย
________________________________________
แนวทางการใช้ชุดสี
คุณสามารถจับคู่สีได้เพื่อสร้างชุดค่าผสมที่ดูน่าสนใจ เราจึงยกตัวอย่างชุดสีมาอธิบายเบื้อต้น

สีโมโนโครม
มุ่งเน้นไปที่สีเดียวแต่ต่างกันที่โทนสีและเฉดสี อาจเป็นเหมือนจานที่น่าเบื่อ แต่มันช่วยเพิ่มความสนใจและมิติข้อมูลให้กับองค์ประกอบและใช้งานง่าย
ภาพโดย Patiwat Sariya

สีข้างเคียง
สีข้างเคียงคือกลุ่มของสามหรือสี่สีที่ติดกันภายในวงล้อสี ดังนั้นการรวมเฉดสีเหล่านี้จึงมีความคล้ายคลึงกันกับโทนสีเดียว
ภาพโดย shutterstock.com

คู่สี
คู่สีอยู่ด้านตรงข้ามของวงล้อสี หนึ่งสีมักเป็นสีหลักและอีกหนึ่งสีมักเป็นสีรอง คู่สีหลักคือสีน้ำเงินและสีส้ม สีแดงและสีเขียว และสีเหลืองและสีม่วง
คู่สีจะเสริมกันเพื่อเพิ่มความคมชัดและความเข้มของภาพ
ภาพโดย shutterstock.com

สีทั้งสาม
สีทั้งสามประกอบด้วยสีจำนวนสามสี ซึ่งเทคนิคการเลือกสีโดยใช้สามเหลี่ยมด้านเท่ามาทาบลงบนวงล้อสี ซึ่งสีทั้งสามคือ สีหลัก สีรอง สีตติยภูมิ
ภาพโดย shutterstock.com
นอกจากนี้
- แบบอักษรและสีก็สำคัญในการสร้างแบรนด์เช่นกัน : สิ่งสำคัญที่ต้องจำเมื่อพูดถึงการสร้างแบรนด์คือ คุณยังต้องสร้างชุดจานสีและสีหรือสไตล์สำหรับแบบอักษรและภาพลักษณ์ของคุณเพื่อให้เป็นที่จดจำในฐานะของคุณเอง