กำลังการผลิต (Capacity)

กำลังการผลิต (Capacity) คืออะไร สำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

ปัจจัยความสำเร็จประการหนึ่งของการวางแผนและควบคุมการผลิตทุกวันนี้ คือ การวางแผน กำลังการผลิตกำลังการผลิต หากปราศจากการวางแผนกำลังการผลิตที่ดีพอ ก็ยากที่จะปฏิบัติงานให้ สำเร็จลุล่วงตามแผนการผลิตที่วางไว้ เป้าหมายของธุรกิจโดยทั่วไปคือ การทำกำไรสูงสุดจากการขาย โดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ผลิตตามความต้องการ ไม่ผลิตมากไปหรือน้อยเกินไป ขณะเดียวกันก็ สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้การดำเนินการผลิตให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจำเป็นต้องมีการเตรียมงานด้านการวางแผนการผลิตและบริหารกำลังการผลิต (การควบคุม) ที่ดีมีระบบการควบคุม และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

เพราะแผนที่วางไว้จำเป็นจะต้องนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมเพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้การผลิตได้ในปริมาณที่ลูกค้าต้องการ  เป็นวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่งของการบริหารการผลิต ซึ่งการที่จะสามารถผลิตได้ตามปริมาณที่กำหนดไว้ต้องอาศัยทรัพยากรขององค์กรหลายอย่าง   อันได้แก่   เงินทุน   วัตถุดิบ   แรงงาน  ตลอดจนเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง  ๆ แต่เนื่องจากทรัพยากรขององค์การมีอยู่อย่างจำกัดจึงต้องวางแผนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องจักรอุปกรณ์ตลอดจนโรงงาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ทำการผลิต ต้องอาศัยเงินลงทุนจำนวนมากและใช้เวลาในการคืนทุนนาน

ดังนั้น การวางแผนและจัดการด้านกำลังการผลิต ซึ่งเป็นการวางแผนและดำเนินการเกี่ยว กับขนาดของโรงงานหรือสถานที่ทำการผลิต จำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์ตลอดจำนวนคนงานที่ เหมาะสม จึงเป็นภาระงานสำคัญของการบริหารการผลิตโดยต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ต่อองค์การในระยะสั้นควบคู่กับระยะยาว และใช้ปัจจัยเชิงปริมาณเป็นหลักในการพิจารณาประกอบกับปัจจัยเชิงคุณภาพให้องค์กรมีกำลังการผลิตที่เหมาะสม ไม่เกิดปัญหาการผลิตได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของ ลูกค้าเพราะกำลังการผลิตน้อยเกินไป และไม่เกิดปัญหาเครื่องจักรมากเกินไปจนกลายเป็นความ สูญเปล่าเพราะกำลังการผลิตมากเกินไป

คำจำกัดความที่ควรรู้
1. กําลังการผลิต (Capacity) คือ ขีดความสามารถของ คนงาน เครื่องจักร หน่วยผลิต แผน หรือองค์กรในการผลิตผลผลิตต่อหน่วยเวลา(เป็นปริมาณของงานที่สามารถทําได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่ กําหนดไว้) กําลังการผลิตเป็นอัตราการทํางานไม่ใช่ปริมาณของงานที่ ทําได้
2. การบริหารกําลังการผลิต (Capacity Management) คือ หน้าที่ในการกําหนดวัดวางแผน และควบคุม (เฝ้าติดตามและปรับแก้ไข) พิกัดหรือระดับของกําลังการผลิตเพื่อให้สามารถดําเนินการ ตามแผนหรือตารางการผลิตได้ทั้งหมด กล่าวโดยสรุป การบริหารกําลัง การผลิตประกอบด้วยหน้าที่ 2 ประการ คือ การวางแผนกําลังการผลิต และการควบคุมกําลังการผลิต และเกี่ยวข้องกับกําลังการผลิต 2 ประเภท คือ กําลังการผลิตที่ต้องการ (Capacity Required) และกําลังการผลิตที่นําไปใช้ได้ (Capacity Available)
3. การวางแผนกําลังการผลิต (Capacity Planning) เป็น กระบวนการในการจัดหา ทรัพยากรการผลิตที่จําเป็นต่อการทําให้บรรลุ ตามแผนการผลิต (Priority Plan) ที่ได้วางไว้สําหรับ ช่วงระยะเวลาหนึ่งใน อนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงวิธีการที่สามารถทําให้ กําลังการผลิต มีอยู่พร้อม ซึ่งขึ้นอยู่กับเครื่องจักรและ/หรือกําลังคน โดยอาจพิจารณา ถึงกําลังการผลิตในช่วงเวลา ปกติ ล่วงเวลา จํานวนกะการทํางานรวม ทั้งจากหน่วยผลิตอื่น ๆ ในโรงงาน และจากแหล่งภายนอก (Outsources) แผนการผลิตจะไม่สามารถนําไปดําเนินการได้ หากปราศจากกําลัง การผลิตที่เพียงพอ ของหน่วยงานในการตอบสนองความต้องการ ดังนั้น การวางแผนกําลังการผลิตจึงเสมือนเป็นการเชื่อมแผนการผลิตกับ ทรัพยากรการผลิต ให้มีความสอดคล้องกัน
4. การควบคุมกําลังการผลิต (Capacity Control) เป็นกระบวนการในการเฝ้าติดตาม ผลผลิตจากการผลิต (Production Output) หลังจากนั้นเปรียบเทียบระหว่างระดับผลผลิตตามแผน กําลังการผลิตและ ระดับผลผลิตที่ทําได้จริง เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแปรปรวนไปจากแผน (ที่สูงหรือ ต่ำกว่าแผน) และดําเนินการจัดหามาตรการแก้ไขตามความจําเป็น เพื่อให้หน่วยงานสามารถตอบ สนองความต้องการได้อย่างประหยัด ซึ่งโดยทั่วไปอาจหมายถึงการปรับกําลังการผลิตหรืออาจปรับ แผนการผลิต
5. กําลังการผลิตที่นําไปใช้ได้ (Capacity Available) หมายถึง ขีดความสามารถของระบบ หรือทรัพยากรในการผลิตผลผลิต ออกมาได้ต่อช่วงเวลา กําลังการผลิตที่นําไปใช้ได้จะขึ้นอยู่กับ รายละเอียด ข้อกําหนดของผลิตภัณฑ์ (ความยาก-ง่าย) ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ โรงงาน และจํานวน เครื่องจักร รวมทั้งความอุตสาหพยายามในการ ทํางาน (Work Effort)
6. ความต้องการกําลังการผลิตหรือภาระงาน (Capacity Required or Load) หมายถึง กําลังการผลิต หรือเวลาของระบบ หรือ ทรัพยากรที่จําเป็นต่อการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้อง การใน ช่วงเวลาหนึ่งที่กําหนดให้ เป็นความต้องการกําลังการผลิตที่เกิดจาก ปริมาณงานที่กําหนด ให้กับหน่วยผลิตหน่วยใดหน่วยหนึ่งในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งจากใบสั่งที่ได้สั่งไปแล้วและใบสั่งงาน ตามแผน กําลังการผลิต ที่ต้องการในหน่วยผลิตหนึ่งสามารถคํานวณได้จากผลรวมของเวลา ที่ ต้องการจากใบสั่งตามแผนทั้งหมดและใบสั่งจริงที่จะต้องทําการผลิต บนหน่วยผลิต ดังกล่าวในแต่ ละช่วงเวลา
7. เวลาที่ใช้ทํางาน (Available Time) คือ จํานวนชั่วโมง ของหน่วยผลิตที่สามารถนํามาใช้ ในการทํางาน ซึ่งขึ้นอยู่กับจํานวน เครื่องจักร จํานวนคนงาน และชั่วโมงการปฏิบัติงานในแต่ละกะหรือ แต่ละวัน
แม้ว่าองค์กรจะมีกำลังการผลิตเป็นอัตราสูงสุดที่จะสามารถผลิตได้ แต่ในการปฏิบัติงานจริง อัตราการผลิตมักจะต่ำกว่ากำลังการผลิต เพราะจะต้องคำนึงถึงการหยุดพักหรือการบำรุงรักษา เครื่องจักรอุปกรณ์ เพื่อถนอมไว้ใช้งานได้ในระยะยาวมากกว่าการเล็งผลในระยะสั้นเท่านั้น การใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มที่มักจะเกิดต้นทุนการทำงานล่วงเวลาในกะพิเศษหรือการลดการบำรุง รักษาอุปกรณ์ตามแผนที่กำหนดไว้ประจำหรือ การใช้ผู้รับสัญญาช่วง ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ต้นทุน การผลิตสูงขึ้นทั้งสิ้น ดังนั้นกำลังการผลิตที่เต็มที่จะถูกใช้จริงก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นและไม่เกิดขึ้น บ่อยนักภายในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ  เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : ระบบ JIT หรือ JUST-IN-TIME คืออะไร?

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : Throughput ปริมาณงานต่อหน่วยเวลา

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.