หลังจากที่เราได้เรียนรู้ถึงหลักการสร้างแอนิเมชั่นของ Disney กันไปแล้ว (Part1 , Part2) ได้เรียนรู้ถึงหลักการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับตัวละครและตัวประกอบของเรื่องให้ดูสมจริง และเป็นธรรมชาติ อีกทั้งต้องได้รับความสนใจและไม่ถูกเบี่ยงเบนไปจากผู้ชม ซึ่งมีทั้งหมด 12 ข้อ สามารถศึกษาเพิ่มเติมเติม และอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อภาพลักษณ์แอนิเมชั่น คือ สี ฉะนั้นในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำว่า “Color script” หรือ การเลือกสีเพื่อสร้างความสัมพันธ์ให้กับเรื่องราว เพราะสิ่งพวกนี้จะช่วยเพิ่มพลังให้แอนิเมชั่นอย่างมาก
Color script คืออะไร?
เป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับแอนิเมชั่นที่ Pixar (พิกซาร์) นิยมใช้ ถือว่าเป็นเครื่องมือในการสร้างแอนิเมชั่นก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นการสร้างแผนที่สีขึ้นมา ทั้งในการใช้แสง แสดงอารมณ์ และโทนของแอนิเเมชั่น นอกจากนี้พวกเขายังเปิดตัวหลักสือที่ชื่อว่า “The Art of Pixar: 25th Annie.: The Complete Color Scripts and Select Art from 25 Years of Animation” ซึ่งจัดขึ้นโดย Amid Amidi
“โดย Color script ไม่ได้ใช้เพียงหน้าเดียวของแอนิเมชั่น แต่จะค่อย ๆ พัฒนาไปไปตามเนื้อเรื่อง “
“หากเลือกใช้สีที่ถูกต้องจพช่วยชี้นำสายตาของผู้ชมให้สามารถจดจ่อกับแอนิเมชั่นของเราได้ “
ตัวอย่างที่เห็นข้างบนคือ แอชิเมชั่นเรื่อง Toy story 3 ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าก่อนที่เราจะเห็นแอนิชั่นที่มีความละเอียดของภาพสูงนั้น จะต้องผ่านขั้นตอนการเลือกสีก่อน ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกจัดทำโดย Dice Tsutsumi ผู้กำกับศิลป์ของ Pixar
Color script มีความสำคัญอย่างไร?
- การจัดทำแผนที่สีสำหรับการเปลี่ยนสี การทำให้สว่างขึ้น การเปลี่ยนอารมณ์และโทนของแอนิเมชั้น จะช่วยให้ทราบถึงการแสดงทั้งหมดของแอนิเมชั่นได้
- การใช้ Color Script เป็นวิธีที่จะทำให้ผู้กำกับเห็นแอนิเมชั่นทั้งเรื่องได้ง่ายขึ้ย
- ช่วยให้ผู้สร้างสามารถเล่าเรื่องของเขาง่ายขึ้น
- เพื่อให้ภาพรวมและความรู้สึกและอารมณ์ของแอนิเมชั่นสม่ำเสมอกัน
- สุดท้าย จะได้เห็นว่าแอนิเมชั่นทั้งเรื่องจะออกมาอยู่ในรูปแบบไหน
วิธีการสร้าง Color script : อย่างแรกคุณต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสีก่อน ว่ามันมีความสำคัญและทำอะไรได้บ้าง?
ความสว่างของสีและความอิ่มตัวของสี(ความอิ่มตัวของสีคือ ความเข้มของสีภาพ หากมากสีจะสด หากน้อยสีจะซีด ) ทั้ง 2 สีกล่าวมานั้นจะทำให้สามารถเห็นอารมณ์ และโทนของฉากนั้นได้ดี
ยกตัวอย่างเช่นภาพล่างซ้าย จะเห็นได้ว่าฉากนั้นแสดงถึงความสุขในชีวิตของพวกเขา มีแต่ความรื่นเริง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสีที่ปรากฏออกมาว่านั้นจะเป็นสีสดใสมีความอิ่มตัวของสีมาก มสีเหลือง สีส้ม สีหญ้าที่มีความเรืองแสง สว่าง
แต่หากเปลี่ยนเป็นฉากเศร้านั้น (ภาพล่างขวา) จะเห็นได้ว่าความอิ่มตัวของสีน้อยลง ภาพโดยรวมจะดูซีด และสีโทนจะใช้จะเป็นสีเทาจำนวนมาก น้ำตาล ซึ่งมันช่วยให้เห็นถึงความรู็สึกที่เย็นชา เศร้า เหง่า กับเหตุการณ์ที่ตัวละคนปรากฏอยู่
แต่ในโลกของการสร้างแอนิเมชั่นยังมีเทนิคการเลือกใช้สีอยู่เยอะ อาทิ
1. Monochromatic (one color) : การเลือกใช้สีหลักแค่สีเดียว
การเลือกใช้โทนสีเดียว และมีการขยายโทนสีออกไปจากการผสมสีขาว สีเทา สีดำ เพื่อให้ได้โทนอื่น ๆ
> จากตัวอย่างข้างล่างนี้เป็นการทำฉากออกมาด้วยการใช้โทนสีเหลืองและไล่ระดับสีออกไป

cr. .baianat.com

cr. .baianat.com
2. Analogous (adjacent colors) : การใช้ที่คล้ายคลึงกัน
การใช้สีที่คล้ายคลึงกันในที่นี่หมายถึงการเลือก 3 สีที่ติดกันในวงล้อสีมาใช้ อย่างอย่างการเลือกสีเช่น สีเขียว เหลือง เหลืองส้ม โดยสีหนึ่งต้องมีอิทธืพลกว่าหรือเด่นกว่า และสีเหลือคือสีเสริม
>จะเห็นได้ชัดในแอนิเมชั่นเรื่อง Nemo ซึ่งเป็นฉากที่พ่อและลูกอาศัยอยูในปากะรัง ที่เลือกสี แดง ส้ม ม่วง


และยังมีการใช้สีแบบอื่น เช่น Complementary – สีเลือกคู่สีตรงข้ามมาเป็นสีเสริม TRIADIC – สีสามสีในวงล้อที่ตรงข้ามกัน เป็นต้น
ตัวอย่างของการวางสีต่าง ๆ
การวาง Color script นั้นออกมาในรูปแบบช่องและมีฉากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นฉากหลัก ฉากที่ต้องเน้นการใช้แสง การเปลี่ยนสี การเปลี่ยนอารมณ์ต่าง ๆ หลักจากนั้นจะมีการจดสี หรือ ระบายสีเพื่อกำกับว่าในช่องฉันจะมีมีสีอะไรบ้าง
หากสังเกตในภาพ เราจะเห็นได้ว่าจะไม่มีการวาดภาพหรือองค์ประกอบชัด แต่จะเป็นเพียงจุดสีบนฉากและวัตถุหรือตัวแสดงเสียมากกว่า แต่การทำ Color script ในปัจจุบันมีการเลือกทำค่อนข้างหลายแบบอาทิ การระบายสีลงกระดาษ หรือบนระบบดิจิทัล

Finding Nemo – จะเป็นเพียงภาพวาดธรรมดา ๆ มีรายละเอียดไม่มาก มีการไล่สี สีทึบ

The Incredibles – จะเป็นการใช้สื่อดิจิทัลร่วมในการออกแบบ Color script
จะเห็นได้ว่าการทำ Color script ก็เป็นอีกหัวใจหลักของการสร้างแอนิเมชั่นเหมือนกับการออกแบบการเคลื่อนไหวให้ดูสมจริง หากคุณสามารถแอนิเมชั่นและรู้จัก 2 สิ่งนี้จะช่วยทำให้ผลงานของคุณออกมาดูดีแล้วน่าสนใจมากขึ้น