การหาพิกัดรหัสสถิติ HS และ HTS Code พร้อมวิธีการคิดค่าภาษีนำเข้า

การหาพิกัดรหัสสถิติ HTS Codeและวิธีการคิดคำนวนค่าภาษีนำเข้า

เนื่องจากแต่ละประเทศมีสินค้าและวัตถุดิบที่หลากหลายและแตกต่างกัน จึงอาจสร้างความสับสนให้กับการส่งออกและนำเข้าในการกำหนดรหัสประเภทสินค้า ฉะนั้นจึงเกิดรหัสพิกัดศุลกากรที่ใช้ตรงกันทั่วโลกโดยจะมีความเกี่ยวข้องการประเภทและชนิดของสินค้า และการจัดส่งกับเราเป็นจัดส่งเป็นตู้คอนเทนเนอร์ (tax free de minimis) จำเป็นต้องเสียภาษีนำเข้า

รหัส HS หรือ HTS ย่อมาจาก Harmonized System หรือ Harmonized Tariff Schedule ได้รับการพัฒนาโดยองค์การศุลกากรโลก (WCO) รหัสนี้ใช้เพื่อจำแนกและกำหนดสินค้าที่ซื้อขายระหว่างประเทศ ในกรณีส่วนใหญ่ในการนำเข้าหรือส่งออกผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศสินค้าที่ซื้อขายจะต้องได้รับการกำหนดรหัส HTS ที่สอดคล้องกับ Harmonized Tariff Schedule ของประเทศที่นำเข้า โดยส่วนมากคนไทยจะเรียกว่า พิกัดศุลากากร (HS Code) และ พิกัดรหัสสถิติ  (HTS Code

หากต้องการศึกษา HS Code และ HTS Code เพิ่มเติมได้ที่ ทำความรู้จัก HS Code และ HTS Code คืออะไร

ความแตกต่างระหว่าง HS Code และ HTS Code คือ จำนวนหลักภายในรหัส

HS Code (Harmonized System) คือ เป็นระบบการจำแนกประเภทและระบุชนิดสินค้าด้วยรหัสตัวเลข 6 หลัก เป็นตัวเลขที่เป็นมาตรฐานทั่วโลก

HTS Code (Harmonized Tariff Schedule) คือ รหัส 7-11 หลัก โดยหลังตัวเลขที่ 6 จะถูกกำหนดโดยประเทศที่นำเข้าแต่ละประเทศ

รหัสเหล่านี้มีความสำคัญเนื่องจากไม่เพียงแต่กำหนดอัตราภาษี / อากรของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อขายเท่านั้น แต่ยังเก็บบันทึกสถิติการค้าระหว่างประเทศที่ใช้ในเกือบ 200 ประเทศอีกด้วย

หา HTS Code หรือ HS Code หาจากไหน

วิธีการหาเลขพิกัด HS Code หรือ HTS Code ของสินค้า หรือ พิกัดศุลกากร 11 หลัก สามารถเข้าไปดูเลขพิกัดรหัสสถิติได้ที่ https://hts.usitc.gov/ 

การเช็คและหาพิกัด HTS Code หรือ HS Code นั้นสามารถเช็คได้ด้วยตัวเองบนเว็บไซต์ โดยสามารถอธิบายขั้นตอนได้ดังนี้

ยกตัวอย่างสินค้าที่ต้องการส่งออกคือ กางเกงนอนสำหรับผู้หญิง เนื้อผ้าเรยอน เป็นวัสดุชนิดสิ่งทอและของเส้นใยประดิษฐ์ ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เราจะสามารถตรวจสอบ  HTS Code  ได้ดังนี้

1.เข้าไปที่ link : https://hts.usitc.gov/ 
ในช่อง Search ใส่คำว่า Woman’s pajamas ที่แปลว่ากางเกงผู้หญิง หลังจากนั้นจะเลื่อนดูคำว่ารายละเอียดวัสดุหรือประเภทสินค้าไหนใกล้เคียงกับสินค้าที่เราจะส่ง

2. หลังจากค้นหาประเภทสินค้าจะมี HTS Code ขึ้นมา โดยจะแบ่งตามประเภทของวัสดุและอื่น ๆ อย่างเช่น เราส่งสินค้าคือกางเกงนอนสำหรับผู้หญิง เมื่อเข้าไปแล้วควรตรวจสอบให้ดีเพราะสำหรับเครื่องแต่งกายระหว่างชายและหญิงจะมีรหัสพิกัดที่แตกต่างกัน ตามกรณีตัวอย่างคือกางเกงสำหรับผู้หญิง ให้เลื่อนลงและมองหา HTS Code สำหรับผู้หญิง Women’s จะอยู่ใน heading/Subheading พิกัด 6108

หลังจากนั้นเราจะมาดูวัตถุดิบหรือวัสดุของตัวสินค้าคืออะไร ตัวอย่างคือ ผ้าเรยอน ซึ่งผ้าเรยอนเป็นประเภทเส้นใยสังเคราะห์(Fiber) หลังจากนั้นดูตัวสินค้าของเรา กางเกงสำหรับผู้หญิง เนื้อผ้าเรยอน จะอยู่ในพิกัด 6108 และ HTS Code 6108.32.0010 หน่วยของปริมาณคิดเป็นโหลต่อกิโลกรัมและอัตราการเสียภาษีให้ดูในช่อง General = 16% ในส่วนช่อง Special จะเป็นช่องสำหรับประเทศพิเศษที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

หาพิกัด HTS Code HS Code

Note : รหัส HTS Code หากไม่มั่นใจสามารถให้บริษัท shipping ช่วยตรวจสอบได้

วิธีการคิดคำนวนค่าภาษีนำเข้า

จากตัวอย่างที่เราต้องการส่งกางเกงสำหรับผู้หญิงไปยังประเทศอเมริกา วิธีการคิดคำนวนค่าภาษีนำเข้าอเมริกาคิดได้ดังนี้

คำนวนจากอัตราการเสียภาษี จากตัวอย่างภาษีนำเข้า = 16% และดูจากจำนวนที่ส่งคุณด้วยราคามูลค่าสินค้า(ราคาต้นทุนสินค้าที่ยังไม่รวม Vat )

มูลค่าสินค้า 80 บาท จำนวน 2,000 ชิ้น อัตราเสียภาษี 16%

Ex. 2000(ชิ้น) x 80 (บาท) x 16%(0.16) = 25,600 บาทคือภาษีนำเข้า

Note : การคำนวนภาษีนำเข้านี้จะเป็นการคำนวนภาษีจาก invoice และเปอร์เซ็นต์เสียภาษี เพื่อคำนวนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเพิ่มเติม


การส่งสินค้าไปยังประเทศอเมริกาหรือประเทศอื่น ๆ นั้นนอกจากจะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายทางด้านการขนส่ง(โลจิสติกส์)ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังต้องคำนึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามมาคือภาษี อาทิเช่น ภาษีนำเข้า ซึ่งอัตราจะถูกคิดแตกต่างกันไปตามประเทศสินค้าที่จัดส่ง
โดยสามารถหาอัตราภาษีได้ด้วยตัวเองที่เว็บไซต์ (คลิก) จากรหัส HTS Code หรือ HS Code และนำอัตราภาษีที่ได้นั้นมาคำนวนภาษีนำเข้ามาวิธีที่เราได้อธิบายไว้ข้างต้น แค่นี้คุณก็สามารถทราบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้แล้ว

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.