ISF 10+2 หรือ Importer Security Filing คืออะไร?

  • by
Importer Security Filing

การส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาต้องเป็นไปตามมาตราการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด เพื่อรับมือกับการก่อการร้ายระหว่างประเทศ หน่วยงานศุลกากรจึงมีกฏหมายที่แน่นหนา ดังนั้นสินค้าของคุณจะไม่สามารถนำเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาหากปราศจากการยื่น ISF 10+2 ซึ่งในบทความนี้จะประกอบไปด้วยความหมายของเอกสารยื่นเข้า ความสำคัญและแบบฟอร์ม (Form)

7a138d10-d2f4-11e8-bc3b-0242ac110002-isf_origทำความรู้จักว่า ISF คืออะไร?

ISF ย่อมาจากคำว่า Importer Security Filing หรือเรียกกันว่า ข้อเสนอ “10+2” ซึ่งคือการกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในการขนส่งสินค้า และเป็นเอกสารที่ศุลกากรสหรัฐอเมริกา (U.S. Customs and Border Protection) กำหนดไว้ซึ่งเป็นเอกสารการนำเข้าข้อมูลและรายละเอียด และส่งผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง

สำหรับการจัดส่งไปยังอเมริกา ISF 10+2 เป็นไปตามมาตรา 203 ของ SAFE Port Act
กฎหมาย SAFE Port Act  กำหนดกฎระเบียบเพื่อใช้ในการรักษาความปลอดภัยที่ท่าเรือต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ISF ต้องใช้เมื่อใด

การยื่น ISF จะมีผลกับการนำเข้าประเทศสหรัฐอเมริการและใช้กับการขนส่งแบบเรือเท่านั้น ไม่กระทบต่อการนำเข้าด้วยการขนส่งรูปแบบอื่น โดยผู้ประกอบการต้องส่งเอกสารนั้นให้กับสายการเรืออย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนที่เรือจะออกเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา

เหตุผลที่ ISF ถึงสำคัญ

เหตุผลที่ ISF ถึงสำคัญ

เนื่องจากข้อมูลที่รวมอยู่ใน ISF นั้นจะช่วยให้ศุลกากรสหรัฐอเมริกา (U.S. Customs and Border Protection) สามารถแจกแจงการจัดส่งที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยคุกคามด้านความปลอดภัยได้ และยังช่วยให้ศุลกากรสหรัฐอเมริกาเห็นสินค้าหรือของได้ชัดเจนมากขึ้นมามากจากที่ใด หรือปัญหาการลักลอบขนสินค้า

ISF Form นั้นจะต้องกรอกข้อมูลอยู่ 10 รายการหรือที่เรียกว่า Security Filling Data และอีก 2 จากผู้ให้บริการ

10 รายการแรกเป็นความรับผิดชอบของผู้นำเข้าหรือผู้จำหน่าย :

  • ผู้ผลิต (หรือซัพพลายเออร์) ชื่อและที่อยู่ – Manufacturer(s) / Supplier(s) Name and Address เป็นการระบุชื่อและที่อยู่ของผู้จัดการสินค้าก่อนจัดส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ผู้ขาย (หรือเจ้าของ) ชื่อและที่อยู่ – Seller Name Address เป็นการระบุชื่อผู้ขาย
  • ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ (หรือเจ้าของ) – Buyer Name and Address เป็นการระบุชื่อและที่อยู่ผู้ซื้อคนสุดท้าย
  • ชื่อและที่อยู่สำหรับจัดส่ง – Ship to Name and Address ระบุชื่อและที่อยู่สถานที่รับสินค้าไปเก็บ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ชื่อที่อยู่เดียวกับผู้รับสินค้าได้
  • สถานที่บรรจุตู้คอนเทนเนอร์ – Container or LCL Stuffing Location เป็นการระบุสถานที่ที่สินค้าถูกบรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์ก่อนจะทำการปิดตู้
  • Consolidator (stuffer) ชื่อและที่อยู่ – Consolidator name and address เป็นการระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ที่จัดการรวบรวมสินค้าลงตู้ อาจจะไม่ใช่โรงงานผลิตหรือที่ทำการของผู้จัดส่งสินค้า (Shipper)
  • ผู้นำเข้าหมายเลขทะเบียน / หมายเลขประจำตัวผู้สมัครเขตการค้าต่างประเทศ – Importer of record number หมายเลขประจำตัวของบริษัทที่จะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจ่ายชำระค่าธรรมเนียมภาษีนำเข้าสินค้า
  • หมายเลขกำหนดอัตราค่าบริการ HTS US 6 หลักและ 10 หลัก สำหรับสินค้าแต่ละรายการในการจัด – หาได้ที่ การหาพิกัดรหัสสถิติ HS และ HTS Code พร้อมวิธีการคิดค่าภาษีนำเข้า
  • หมายเลขผู้รับ – Consignee number ระบุหมายเลขที่ได้มาจาก IRS, EIN, SSN หรือ CBP เหมือนเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
  • ประเทศต้นกำเนิด – Country of Origin of Goods

2 จาก ผู้ให้บริการ อันได้แก่ ผู้นำเข้า (importer) และผู้ขนส่ง (Carrier)ต้องจัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมทางอิเลคทรอนิกส์เกี่ยวกับสินค้าให้แก่ศุลกากรสหรัฐอเมริกา

  • แผนผังการจัดเรียงสินค้า (vessel stow plan) บนเรือโดยระบุข้อมูลและตำแหน่งของสินค้า
  • ข้อความสถานะคอนเทนเนอร์  (Container stautus message) เช่น ตู้สินค้าว่างหรือเต็ม เป็นต้น

ตัวอย่าง ISF 10+2 form

isf-filing-form-usa-700x944
cr. pic

การยื่น ISF

การยื่น ISF ทั้งหทดจะถูกดำเนินการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ต้องทำการแก้ไขก่อนที่สินค้าจะเทียบท่าที่ท่าเรือของสหรัฐอเมริกา และเฉพาะบุคคลที่ยื่นคำร้องเท่านั้นที่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้

จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณไม่มี ISF

การไม่ปฏิบัติตามกฏระเบียบ ISF หรือการไม่ยื่น ISF Form นั้นจะถูกเก็บค่าธรรมเนียมที่มีราคาสูง (ปรับ $ 5,000) และส่งผลต่อการล่าช้าในการส่ง การตรวจสอบก็จะถูกเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้การยื่น ISF ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ อาจถูกปฏิเสธที่จะให้ขนย้ายหรือนำสินค้าออก และอาจถูกยึดสินค้าในที่สุด


ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดใหญ่อันดับที่ 2 ของไทยรองจากอาเซียน โดยมีมูลค่าส่งออกเฉลี่ยปีละ 650,000 ล้านบาท ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกำหนดต่างๆ อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาตลาด และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้ส่งออกไทยและสินค้าของไทยในตลาดโลกอีกด้วย


Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.