Optimal time to wait between applying 2 glaze

เวลาที่เหมาะสำหรับการล้างบีสก่อนเคลือบชิ้นงาน,การเคลือบชิ้นงานด้วยเคลือบ 2 ชนิด

ก่อนที่เราจะมาดูวิธีการเตรียมชิ้นงานก่อนเคลือบ การล้างชิ้นงานและ การเคลือบชิ้นงานด้วยเคลือบ 2 ชนิด ซึ่งจะเชื่อมโยงกับ
วิธีขจัดความไม่สมบูรณ์(ตำนิของชิ้นงาน)หลังจากการเผาชิ้นงาน ซึ่งมีทีมาปัญหาส่วนหนึ่งมาจาก การล้างบีสก่อนเคลือบชิ้นงานไม่ดี ,การเคลือบงานที่เกิดจากเคลือบ 2 ชนิด ไม่มีการนับเวลา และ ตกแต่งชิ้นงานไม่ดี ก่อนนำขึ้นเผาบีส

“การล้างชิ้นงานบีส”

ความสำคัญ=เป็นขั้นตอนที่มีอีกหนึ่งอย่างสำหรับการเคลือบชิ้นงานเซรามิค เนื่องจากหลังจากเผาบีส แล้วยังมีเศษดินที่หลงเหลือจากหลุมหรือนูนขึ้นซึ่งหากไม่ขัดออกเล็กน้อยหรือไม่เก็บรายละเอียดส่วนนี้หากนำไปเคลือบ ชิ้นงานมักมีปัญหาได้ เกิดเป้นตำหนิประเภทต่างๆ

เวลาที่เหมาะสม = สำหรับเวลาที่เหมาะสมในการ ล้างชิ้นงานและตากให้แห้งนั้น จะขึ้นอยู่กับประเภทของชิ้นงาน โดยมาก จะแบ่งตามลักษณะของการเคลือบชิ้นงาน ดังนี้

-ชิ้นงานขนาดเล็กตั้งแต่ 1 – 4 นิ้ว ใช้เวลาเฉลี่ยอยุ่ที่ 15-20 นาที ต่อการล้าง น้ำ
-ชิ้นงานขนาดเล็กตั้งแต่ 4 – 7 นิ้ว ใช้เวลาเฉลี่ยอยุ่ที่ 10-20 นาที ต่อการล้าง น้ำ
-ชิ้นงานขนาดเล็กตั้งแต่ 11 – 14 นิ้ว ใช้เวลาเฉลี่ยอยุ่ที่ 15-30 นาที ต่อการล้าง น้ำ

เวลาที่เหมาะสมก่อนนำมาใช้นั้นยังสามารถมี ปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น

-อุณหภูมิที่ใช้ในการเผาบีส หากเบาบีสนาน บีสจะดูน้ำได้น้อย เวลาในการแ้หงจะช้า
-ประเภทของดิน ดินแต่ละประเภทมีการดูน้ำที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นควรศึกษาประเภทของดินที่ใช้ให้เมาะสมกับเคลือบ
-สภาพอากาศหาก ฝนตก บีสจะแห้งยากกว่าปกติ และดูน้ำเยอะ
-ระยะเวลาในการจุ่มน้ำ การจุ่มจะจุ่มไม่นานไม่เกิน 60 วินาที/ใบ เพราะหากจุ่มนานเกินไปบีสจะดูดน้ำเคลือบได้น้อย และถ้าจุ่มน้อยจนเกินไปบีสจะแห้งและเวลาจุ่มเคลือบจะหนา จะเกิดตำหนิได้ภายหลัง

“การเคลือบชิ้นงานด้วยเคลือบ 2 ชนิด “

ความสำคัญ=การใช้เคลือบหลาย ชนิดบนชิ้นงานเดี่ยวกัน เป็นอีกเทคนิค1 ที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป้นเทคนิคที่สามารถสร้างลูกเล่น สีสันใหม่ เคลือบที่ได้มัก ทำได้หลายรูปแบบ ในที่นี้จะพูดถึง การใช้งานที่สตูดิโอเซรามิคใช้กันตลอดดังนี้

-การใช้เคลือบชนิดที่1เป็นสีพื้น และสลัดจุดสีที่ 2 ตัดกัน ตัวอย่างเช่น เคลือบ สีขาวจุดดำ เคลือบสีดำจุดขาว เคลือบสีฟ้าปะกางรัง
-การ เขียนขอบจาน ตัวอย่างเช่น จานสีขาวขอบดำ ,ถ้วยจาน ของ DANSK
-การจุ่มเคลือบ 2 สี ในใบเดี่ยวกัน ตัวอย่างเช่น ถ้วยจานของ LCO

“การใช้เคลือบชนิดที่1เป็นสีพื้น และสลัดจุดสีที่ 2 ตัดกัน “

เวลาที่เหมาะสม = สำหรับเวลาที่เหมาะสมในการสลับจุดทับกันระหว่างสีเข้มและอ่อน ทั้งที่มีจุดแบบ 1 สี ,จุด แบบ 2 สี เวลาจะขึ้นอยุ่ที่ตัวชิ้นงานว่าแห้งเป็นเหมือนพง หรือ ยังสังเกตุได้จากสีจะอ่อนลงหลังจากการจุ่มและการจับที่ชิ้นงานเล็กน้อยหากไม่ติดมือเป็นเนื้อครีมก็ถือว่าแต่งได้ ซึ่งหลังจากจุ่มชิ้นงานจะใช้เวลา 1- 4 นาทีแล้วแต่ชนิดของเคลือบและประเภทของชิ้นงาน เช่น ถ้วยจาน จะใช้ระยะเวลาแห้งเร็วกว่าแก้ว ซึ่งจากแห้งแล้วจะเก็บรายละเอียดอีกใบละ 4-8 นาที ตามประเภทของชิ้นงาน หากชิ้นงานมีความยาก จะใช้ระยะเวลาแต่งนานขึ้น เมื่อแต่งเสร็จก็สามารถสลับสีจุดทับได้เลย รวมระยะเวลาเฉลี่ยทั้งสิ้น 10-15 นาที ตลอดทุกขั้นตอน

“การ เขียนขอบจาน”

เวลาที่เหมาะสม = สำหรับเวลาที่เหมาะสมในการเขียนขอบจาน จะไม่แตกต่างกันมากนัก จาก การสบัดจุดทับกันระหว่างสีเข้มและสีอ่อนคือหลังจากขั้นตอนการ จุ่มจะใช้ระยะเวลารอ ให้แห่ก่อนที่จะแต่งประมาณ 1-4 นาที เก็บรายละเอียดอีกใบละ 4-8 นาที หลังจากแต่งชิ้นงานเสร็จแล้ว จะ เช็ดขอบเล็กน้อยสำหรับ การเขียนขอบ และใช้สีสเจนดำ เขียนลงบน ขอบหรือภายในจาก ใช้เวลา ใบละประมาณ 5 นาทีตามขนาด ยิ่งขนาดใหญ่ยิ่งใช้เวลานาน รวมแล้วใช้เวลาทั้งหมด ทุกขั้นตอนประมาณ 15-20 นาที ตลอดทุกขั้นตอน

“การจุ่มเคลือบ 2 สี ในใบเดี่ยวกัน

เวลาที่เหมาะสม = สำหรับเวลาที่เหมาะสมในการจุ่มเคลือบ 2 สี ในใบเดี่ยวกัน จะแตกจ่างจาก2เทคนิคที่ผ่านมา เพราะการจุ่ม แบบ2สีหรือที่เรียก ว่า ทูโทน จะเป้นการจุ่งที่ละฝั่งก่อน โดยหลังจากจุ่มสีแรก ต้องทิ้งไว้ให้สีที่หนึ่งแห้งสนิท จับแล้วไม่ติดมือ แต่ยังจะไม่แต่ง ใช้เวลาประมาณ 5 นาที จึงจะจุ่มสีที่ 2 ทับกันเล็กน้อย ใช้เวลาแห้งอีก 5นาที และหลังจากทิ้งไว้อีก ให้แห้งจะใช้ระยะเวลาแต่งอีก 4-8 นาที รวมแล้วใช้เวลาทั้งหมด ทุกขั้นตอนประมาณ 15 นาที ตลอดทุกขั้นตอน

“ระยะเวลาที่เหมาะสมของแต่ละขั้นตอน มักมีปัจจัยหลายอย่าง หลายๆโรงงานมีวิธีที่ใช้สร้างระบบ ด้วยการนำการจับมาเวลามาใช้ร่วมกับกระบวนการผลิตทั้งนี้อาจจะต้องค่อยดูปัจจัยที่ส่งผลต่องานร่วมด้วยเช่น ค่าความถ่วงจำเพาะของเคลือบ ระยะเวลาที่เคลือบตกตะกอน ลักษณะของเคลือบที่เป็นเคลือบด้านและเงา การล้างและตากชิ้นงานก่อนใช้งาน ทั้งนี้ต่อให้เรา ทำตามทุกขั้นตอนแล้วก็อาจจะยังมีชิ้นงานมีมีตำหนิเกิดขึ้นได้บ้าง ดังนั้นหากเกิดปัญหา จึงจะต้องมีขั้นตอนการตรวจสอบปัญหา หาสาเหตุ วิธีป้องกัน และหาความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นจะได้รับมือกับปัญหาได้ทันเวลา “

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.