มาต่อกันเลยจากบทความก่อนหน้านี้ที่เราได้พูดกันถึงเรื่องของมุมถ่ายต่างๆตามภาพยนต์ที่เป็นที่นิยมใช้กัน หากใครยังไม่ได้อ่านบทความก่อนหน้านี้สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ลิงก์ตามนี้
สำหรับในบทความนี้เราจะพูดถึงมุมถ่ายทำที่เหลือนอกเหนือจากบทความก่อนหน้า ว่ายังคงมีมุมไหนอีกที่มีความน่าสนใจและเป็นที่นิยมที่คุณมักเห็นตามภาพยนต์ดังหลายๆเรื่อง
The Crane shot
มุมถ่ายทำที่ช่วยให้ผู้ชมสามารถเกิดความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงออกจากมุมปกติ หรือฉากซีนนั้นๆได้ มันสามารถช่วยสร้างมุมมองใหม่ๆที่แปลกตาออกไป

Crane shot สามารถช่วยยกระดับภาพยนต์หรือวิดีโอของคุณให้ดูดีขึ้นอีกระดับมันถูกเรียกว่ามุมถ่ายแบบ Crane shot เนื่องจากการถ่ายทำในลักษณะนี้ต้องใช้อุปกรณ์ที่เป็นเหมือนเครนในการยึดติดกล้องเพื่อถ่ายทำแทนคน มันสามารถให้ภาพที่มีความแปลกตาทั้งมุมที่สูงกว่าตัวบุคคลหรือวัตถุต่างๆจากด้านบน และสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Jib shot ก็ได้เช่นเดียวกัน
หน้าที่หลักของ Jib หรือ Crane นั้นจะช่วยดึงกล้องขึ้น ลง ซ้าย ขวา รวมถึงดึงให้ออกและเข้าไปใกล้สิ่งที่คุณต้องการจะถ่ายให้ลักษณะที่มีวงสวิงที่กว้าง ซึ่งหากเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูงมันจะสามารถถ่ายออกมาให้ภาพนิ่งเมื่อคุณขยับไปซ้ายหรือขวาหากคุณล็อคความสูงไว้มันก็จะสามารถรักษาระยะได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีทั้งแบบที่เป็น Auto และ Manual
ถูกใช้เมื่อ
- เป็นตัวกำหนดลักษณะของฉากในภาพรวมทั้งหมด ต้องการให้เห็นสิ่งปลูกสร้างหรือสภาพแวดล้อมในวงกว้างของฉากนั้นๆ
- มักใช้ในการเข้าและออกฉากต่างๆ
- มักเป็นฉากที่เกี่ยวกับการสื่อภาพช่วงเวลาต่างๆเช่น ฝนตก อาทิตย์ตก หรือพายุ ฯลฯ
อุปกรณ์ที่มีไว้ช่วยในการทำมุม Crane shot นั้นมีทั้งแบบราคาถูกไปจนถึงระดับใช้ถ่ายภาพยนต์ หากคุณต้องการสร้างวิดีโอหรือภาพยนต์ให้ดูน่าสนใจมากขึ้น การลงทุนกับอุปกรณ์เหล่านี้ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางเลือกหนึ่ง
ลองดูตัวอย่างการใช้ Crane shot ในภาพยนต์เรื่อง La La Land ใช้ในฉากการเต้นบนสะพานที่ถูกทำขึ้นมาเพื่อถ่ายทำฉากนี้โดยเฉพาะสร้างภาพให้เห็นมุมกว้างๆของวิวเมือง ลอสแองเจลิส
Aerial Shot / Aerial cinematography
Aerial cinematography หรือการถ่ายทำมุมบนอากาศ มุมในลักษณะนี้คือมุมที่ถ่ายทำออกมาในรูปแบบที่เหมือนถ่ายลงมาจากข้างบน บนอากาศ หรือบนเครื่องบินนั่นเอง สำหรับการถ่ายในปัจจุบันมุมเหล่านี้ถูกถ่ายออกมาจากการบินโดร์นที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วๆไปเป็นเรื่องปกติ แต่ในยุคก่อนยังไม่มีอุปกรณ์เหล่านั้นการถ่ายทำเพื่อให้ได้ฉากเหล่านี้จำเป็นต้องถ่ายจากเฮลิคอปเตอร์หรือจากบนที่สูงๆที่อยู่เหนือพื้นที่ถ่ายทำนั้นเอง

การถ่ายมุมลักษณะนี้จะให้มุมภาพที่สูงขึ้นมามาก ช่วยให้ผู้ชมมีมุมมองที่กว้างมากๆ สูงมากๆ เพื่อความน่าตื่นเต้นและความโดดเด่นให้กับภาพยนต์หรือวิดีโอได้เป็นอย่างดี
มักถูกใช้เมื่อ
- ถ่ายทำฉากไล่ล่า
- ถ่ายทำช็อต Establishing ที่มีการสร้างช็อตที่มีพื้นที่กว้างๆ เป็นช็อตยาวมากๆ ไกลสุดขีด
- ถ่ายทำฉากวิวทิวทัศน์
- ถูกเรียกอีกช็อตว่า God’s eye view ที่เป็นเหมือนมุมจากสายตาพระเจ้านั่นเอง
การถ่ายเพื่อให้เห็นภาพวิวทิวทัศน์ (Establishing shots)
เราขอยกตัวอย่างเป็นฉากจากภาพยนต์เรื่อง The Shining ของ Stanley Kubrick ที่ใช้เฮลิคอปเตอร์ในการถ่ายทำ
ใช้ถ่ายทำในฉากไล่ล่าหวาดเสียว (Chase scenes)
การถ่ายแบบ Aerial shots นั้นเหมาะสมอย่างมากกับฉากไล่ล่าที่กำลังเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว หรือเป็นการแสดงฉากแอคชั่นที่น่าตื่นเต้นทั้งบนรถ เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ หรือมอเตอร์ไซค์ สามารถดูตัวอย่างจากภาพยนต์เรื่อง Mission Impossible : Fallout
ฉากสงคราม (War scence)
God’s eye view
เป็นมุมที่ถ่ายจากจุดที่อยู่สูงมากๆลงมาบนพื้นดิน และถ่ายมายังวัตถุหรือบุคคลที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ด้านล่าง
ใช้โดรนเป็นตัวช่วยเพิ่มคุณภาพ
ตามงานวิดีโอทั่วไปในปัจจุบันคุณมักเห็นการใช้โดรนในการถ่ายทำเป็นเรื่องปกติ มันเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยสร้างภาพที่มีมิติที่แตกต่างไปจากเดิม เพิ่มความเพลิดเพลินในกับวิดีโอหรือภาพยนต์ ความสามารถในการใช้โดรนเพื่อถ่ายทำได้อย่างคล่องแคล่วนั่นมีความสำคัญ
The 180 degree line
กฎในการถ่ายทำภาพยนต์ และงานวิดีโอส่วนใหญ่เพื่อให้ได้องค์ประกอบของภาพที่ดูสวยงาม กฎ 180 องศาจะช่วยสร้างความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในเฟรมให้กับตัวละครหรือวัตถุที่ต้องการถ่ายทำ เป็นตัวช่วยในการกำหนดแกนที่เป็นแนวเส้นสายตา ทำให้พื้นที่ในฉากนั้นๆดูเป็นระเบียบและดูสมมาตร หากมีการถ่ายทำที่ข้ามเส้นเหล่านี้ไปจะถูกเรียกว่า Crossing the line หรือ Breaking the line นั้นเองและมันจะทำให้ผู้ชมรู้สึกติดขัดไปไหลลื่นไปกับฉาก

การถ่ายทำควรตั้งกล้องถ่ายในจุดที่อยู่ในครึ่งวงกลม 180 องศา ไม่ควรที่จะข้ามเส้นไปอีกฝั่งหนึ่งเพื่อความต่อเนื่องกับฉากนั้นๆ มันจะช่วยให้ผู้ชมสามารถรู้ได้ว่าบุคคลใดอยู่ตำแหน่งแบบใดรวมถึงวัตถุต่างๆที่ประกอบฉากอยู่จัดไหนภายในฉากเหล่านั้น

การใช้เทคนิคเหล่านี้ในการถ่ายภาพยนต์หรือวิดีโอของคุณมันจะช่วยให้การถ่ายทอดภาพออกมาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ชมเข้าใจสถานะการณ์ต่างๆ ภายในฉากมากยิ่งขึ้นและที่สำคัญคือมันช่วยให้ผู้ชมอินกับความรู้สึกนั้นๆ คุณสามารถเลือกใช้เทคนิคทั้งหมดเพื่อปรับเข้ากับการถ่ายทำได้