ใบตราส่งสินค้า หรือที่เรียกกันว่า “Bill of Lading (B/L หรือ BoL)” เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้แทนหลักฐานการขนส่งสินค้าทางทะเลหรือเป็นใบส่งมอบสินค้าของบริษัทที่ทำการขนส่งทางเรือหรือเป็นสัญญาการขนส่งระหว่างผู้ขนส่งและผู้ส่งสินค้า (ว่าจะส่งสินค้าไปยังปลายทางตามที่ระบุใน B/L)

ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (B/L) จะออกโดย ผู้ขนส่ง (Carrier) ให้กับผู้ส่งสินค้า (Consignor) โดย Bill of Lading มีเนื้อหาระบุชัดเจนว่าสินค้าคืออะไร จำนวนเท่าไร และสถานที่ปลายทางคือที่ไหน และเอกสารนี้จะต้องมีการลงลายมือของตัวแทนที่ได้รับอนุญาติของผู้ขนส่ง
**มีตัวอย่าง แบบฟอร์ม Bill of lading อธิบายข้างล่าง
แบบฟอร์ม Bill of lading (B/L) มีอะไรบ้าง
ตัวอย่างรูปแบบของเอกสาร ใบตราส่งสินค้าทางเรือ

เนื้อหาสำคัญภายในเอกสารนี้จะประกอบไปด้วย 17 ส่วนสามารถอธิบายได้ดังนี้
- Shipper ชื่อและที่อยู่ของผู้ขายหรือผู้ส่งสินค้าหรือผู้ส่งออกสินค้า (ชื่อที่อยู่ต้องถูกต้องตามเอกสารยื่นประกอบ)
- Consignee ชื่อและที่อยู่ผู้ซื้อหรอผู้รับสินค้า โดยปกติแล้วจะเป็นชื่อที่อยู่บริษัทนำเข้า
- Notify Party ชื่อผู้ติดต่อหรือผู้รับสินค้า ซึ่งปกติจะใช้คำว่า “SAME AS CONSIGNEE”เนื่องจากเป็นคนเดียวกับผู้นำเข้า
- Ocean Vessel ชื่อลำเรือสินค้า
- B/L NO. เลขที่ใบ B/L (เป็นเลขที่อ้างอิงที่ช่วยให้ผู้นำเข้าติดต่อกับผู้ให้บริการขนส่งง่ายขึ้น)
- For delivery of goods please apply to ชื่อเอเย่นที่ผู้ซื้อต้องไปติดต่อที่ปลายทาง
- Port of Loading ท่าเรือต้นทาง
- Final Destination ท่าเรือหรือสถานที่รับสินค้า
- Port of Discharge จุดชำระค่าระวางเรือ
- Freight Payable at ที่สุดท้ายที่สินค้าจะไปถึง : สถานที่สุดท้ายที่จะส่งมอบสินค้าอาจจะเป็นคนละที่กับท่าเรือปลายทาง
- Container & Seal No หมายเลขตู้คอนเทนเนอร์สินค้าและแถบผนึกตู้คอนเทนเนอร์สินค้า
- No. of Packages จำนวนของบรรจุภัณฑ์ ระบบตัวบรรจุภัณฑ์นอกสุด อาทิ จำนวนพาเลท
- Description รายละเอียดของสินค้า : สินค้าที่ส่งนั้นอยู่ในหมวดอะไร
- Gross Weight ขนาดและน้ำหนัก
- Freight and Distribution ค่าเฟรทชำระที่ต้นทางหรือปลายทาง : ถ้าเป็นต้นทางจะระบุว่า PREPAID ถ้าเป็นปลายทางก็จะระบุว่า COLLECT
- Date of issue วันที่ออกเอกสารฉบับนี้
- สถานที่และวันเรือออก
เนื้อหาทั้ง 17 ข้อในเอกสาร B/L เป็นข้อมูลสำคัญฉะนั้นก่อนส่งเอกสารจำเป็นต้องตรวขสอบให้ดีก่อนคอนเฟิร์ม B/L ตัวจริงทุกครั้ง ต้องมีความรอบคอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง
ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และ รายละเอียดของสินค้า ต้องตรงกับความเป็นจริง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลัง เช่น แจ้งยอดจำนวนผิด อาจโดนสำแดงเท็จ หลบเลี่ยงภาษี ดังนั้นถ้าข้อมูลผิดผู้นำเข้าจะออกของไม่ได้ ทำให้ต้องแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องและเสียเวลาและเสียเงินโดยใช่เหตุ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : เอกสารที่ใช้สำหรับการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : เอกสารสำคัญในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่ควรต้องรู้
การส่งออกทางเรือ : บริการของเรา