ทำความรู้จักกับจุดเริ่มต้นของ Animation

  • by

คำว่า Animation หรือ อนิเมชั่น เราต่างได้ยินคำนี้กันมานาน เนื่องจากมีสื่อและช่องทางมากมายในการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวเหล่านี้ขึ้น แต่น้อยคนนักที่จะรู้ประวัติศาสตร์จุดเริ่มต้นของ Animation

📣 ในบทความนี้คุณจะได้ทำความรู้จักการจุดเริ่มต้นการสร้างอนิเมชั่นครั้งแรก ว่าใครเป็นคนริเริ่ม และสำหรับใครที่ศึกษาเกี่ยวกับอนเมชั่นต้องรู้จักอนิเมชั่นเรื่องแรกที่ชื่อว่า Fantasmagorie นอกจากนี้จะพาทุกคนไปรู้จัก Animation เรื่องอื่นที่เกิดในปีต้นใกล้เคียงกับ Fantasmago

Animation คือ

อนิเมชัน หรือ Animation หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพต่อกันด้วยความเร็วสูงโดยการนำภาพนิ่งมาเรียงต่อกัน

Animation คือ
แอนิเมชันแสดง 6 เฟรมต่อเนื่องกัน
Animexample.gif
อนิเมชันเคลื่อนด้วยความเร็ว 10 เฟรมต่อวินาที

นับจากอดีตจนมาถึงปัจจุบันมีการสร้างอนิเมชั่นโดยใช้รูปแบบการทำเสนอที่ต่างกัน แบ่งออกได้ 2 แบบได้แก่

1.อนิเมชันแบบดั้งเดิม (Traditional Animation) 

นับจากการเริ่มทำอนิเมชั่นมีวิธีการนำเสนอภาพนิ่งให้เคลื่อนไหวอยู่หลากหลายแบบ และไม่มีการใช้คอมพิวเตอร์มาเป็นส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ การวาดเส้น (Drawing) การระบายสีจริงบนกระดาษ (Painting) แอนิเมชันแบบเซลลูลอยด์ หรือแผ่นใส (Cels Animation) การปั้นดินน้ำมัน (Clay Animation) การตัดกระดาษ (Paper Cut Joint Cut) ฯลฯ

2. ดิจิทัลแอนิเมชัน, คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน (Digital Animation, Computer Animation) 

รูปนี้เป็นภาพนำเสนอภาพเคลื่อนไหวด้วยใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเข้าร่วม ทั้งการ วาด ระบายสี การปั้มโมเดล การทำภาพเคลื่อนไหว จนไปถึงการตัดต่อ จะมีทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ


ความเป็นมาของ Animation

อนิเมชั่นถือกำเนิดถือกำเนิดขึ้นจากหลักการ ‘ภาพติดตา’ โดยเริ่มการจากเห็นสิ่งเคลื่อนไหว และจดจำเป็นภาพนิ่ง ภาพต่าง ๆ และนำภาพนิ่งเหล่านั้นมาต่อกัน และเล่นด้วยภาพเร็ว อย่างเช่น 25 ภาพต่อ 1 วิ และจะรู้สึกว่าเมื่อมองดูภาพนั้นจะเห็นการเคลื่อนไหว โดยอนิเมชั่นถือกำเนิดด้วยจุดนี้


Émile COHL: FANTASMAGORIE (1908)

หลักจากที่เราได้รู้รูปแบบของอนิเมชั่นและความเป็นมาคร่าว ๆ กันบ้างแล้ว อยากจะให้ทุกคนรู้จักกับผลงานที่ชื่อว่า FANTASMAGORIE เกิดขึ้นในปี 1908 ถูกสร้างโดยนักเขียนการ์ตูนและนักสร้างแอนิเมชั่นชาวฝรั่งเศสที่ชื่อว่า Émile Cohl (เอมีล คอล) มักถูกเรียกว่า “บิดาแห่งการ์ตูนแอนิเมชั่น”

อนิเมชั้นที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยการวาดมือ หรือ การวาดเส้น (Drawing) และเนื้อหาที่โชว์ออกมาจะอยู่ในพื้นหลังดำและเส้นสีขาว เนื้อหาไม่มีอะไรมากจะถูกดำเนินเรื่องด้วยตัวละคร 1 ตัวที่พบเจอสิ่งต่าง ๆ แสดงภาพบ้าๆ บอ ๆ ที่แปรเปลี่ยนอย่างลื่นไหลจากภาพหนึ่งไปยังอีกภาพหนึ่ง ผลงานของ Émile Cohl สามารถสร้างแรงบัลดาลใจให้กับนักกวาดล้อเลียน และเป็นแรงบันดาลใจให้นักวาดการ์ตูนอนิเมชั่นคนอื่น ๆ ได้ เช่น Walt Disney, Tex Avery และ Max และ Dave Fleischer

หลายคนอาจจะสงสัยว่าเพียงการวาดภาพอย่างเดียวจะทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้อย่างไร

Émile Cohl ใข้เวลาประมาณ 5 เดือนเพื่อสร้าง Fantasmagorie เขาได้วาดภาพทั้งหมด 700 ภาพ เพื่อสร้างเป็นอนิเมชั่นที่มีความยาว 1 นาที 20 วินาที ลักษณะการทำงานคือการวาดบนแผ่นใส และวาดภาพต่อเนื่องกัน เพื่อให้การสลับและเกิดการเคลื่อนไหว


Winsor McCay : Little Nemo (1911)

Little Nemo เป็นภาพยนตร์สั้นแอนิเมชั่นปี 1911 McCay วาดภาพ 4,000 ภาพบนกระดาษสำหรับการทำภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ โดยธีมการอนิเมชั่นนี้คือการผจญภัยของนีโม ซึ่งคือตัวละครหลักของอนิเมชั่นเรื่องนี้ โดยวิดีโอข้างบนและแสดงให้เห็นขั้นตอนการออกแบบและสร้างอนิเมชั่นเรื่องนี้ขึ้น

โดยผลงาน Little Nemo เกิดขึ้นหลังจาก FANTASMAGORIE McCay จึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มการแรงเงาและใส่สีสันลงไปประกอบด้วย


เมื่อกาลเวลาผ่านไปมีการพัฒนารูปแบบการนำเสนออนิเมชั่นมากขึ้น ทั้งการเพิ่มสีที่มีประสิทธิภาพ กล้องที่มีความชัด การปรับภาพเคลื่อนไหวให้เนียนมากขึ้น การเพิ่มเสียง โดยบริษัทแรกที่พัฒนาประสบความสำเร็จคือ ดิสนีย์ และสตูดิโอต่าง ๆ ก็เริ่มพัฒนาตาม

Snow White and the Seven Dwarfs

สโนไวท์และคนแคระทั้ง 7 นั้นเป็นอีกภาพยนตร์อนิเมชั่นหนึ่งที่ประสบความสำเร็จมากของ Disney และเกิดขึ้นในปี 1937 เป็นเรื่องแรกที่ใช้ Multiplane camera เพื่อให้ภาพที่ได้ออกมานั้นสมจริงมากขึ้น ทำให้เกิดเอฟเฟกต์พิเศษรูปแบบใหม่ๆ เช่น การเคลื่อนที่ของน้ำ และการกะพริบของดวงดาวหรือแสง และเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นที่ใช้มือวาดลงบนแผ่นเซลล์เรื่องแรกของโลก

โดยลักษณะการทำงานจะวาดภาพอนิเมชั่นลงบนแผ่นเซล/แผ่นใส และนำแผ่นเซลที่วาดองค์ประกอบของฉากแบ่งตามระยะ ใกล้-ไกล มาเรียงซ้อนกันได้มากถึง 7 ชั้น เพื่อกำหนดระยะใกล้ไกล และใช้ Multiplane camera

Multiplane camera

เทคนิดการใช้กล้อง Multiplane camera นั้นถูกใช้กับเรื่อง ภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาว Snow White and the Seven Dwarfs (1937) เป็นเรื่องแรก และ The Little Mermaid (1989) เป็นเรื่องสุดท้าย


แม้ในปัจจุบันภาพยนตร์อนิเมชั่นส่วนใหญ่จะสร้างภาพยนตร์อนิเมชั่นด้วยวิธีการ ดิจิทัลแอนิเมชัน เป็นเสียส่วนใหญ่เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย แต่ก็ยังมีการสร้างภาพยนตร์อนิเมชั่น และการ์ตูนตอนสั้นขึ้นมาด้วยวิธีดั้งเดิมอย่าง อนิเมชันแบบเซลลูลอยด์ หรือแผ่นใส (Cels Animation) การปั้นดินน้ำมัน (Clay Animation) เช่น Chicken Run, Coraline, ParaNorman

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.