Helvetica ความเป็นกลางแห่งตัวอักษร

Helvetica ความเป็นกลางแห่งตัวอักษร

หากจะพูดถึงฟอนต์ Helvetica นั้นมันถูกใช้กันอย่างกว้างในช่วงปี 1950 เป็นครั้งแรก มันถูกใช้ในงานที่หลากหลาย ตามโลโก้ ป้ายโปสเตอร์ และเสื้อผ้า มันมีลักษณะที่เป็นกลางดูง่ายไม่ใช้ฟอนต์ที่มองแล้วสื่ออารมณ์ใดๆได้ ในบทความนี้จะมาพูดถึงลักษณะของฟอนต์สไตล์นี้ว่ามันมีลักษณะอย่างไรและทำไมมันจึงถูกนำไปใช้เป็นฟอนต์ หรือโลโก้ของแบรนด์ชื่อดังระดับโลก

Helvetica เป็นแบบอักษรแบบ Grotesque’ Sans Serif ถูกสร้างขึ้นในปี 1950 เพื่อตอบสนองการใช้งานของอักษร Sans Serif โดยตรง (อ่านบทความเกี่ยวกับ Serif & Sans Serif ได้ที่นี่) และถูกนำไปใช้ในลักษณะของการออกแบบกราฟิกสไตล์สากลจนกลายเป็นแบบอักษรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

ในช่วงปี 1950 นั้น Eduard Hoffmann, ประธานโรงหล่อแบบพิมพ์ในเมือง Haas สวิตเซอร์แลนด์ รู้สึกกังวลในยอดขายของแบบอักษร Sans Serif “Grotesk” ลดลง เขามองเห็นโอกาสในการพัฒนาตัวอักษรโดยให้ Max Miedinger นักออกแบบออกแบบสไตล์ Grotesk ใหม่ขึ้นมา และถูกพัฒนามาเรื่อยๆหลังจากนั้น จนถึงต้นปี 1960 เอเจนซี่โฆษณาต่างประเทศต่างขนขวายที่จะนำรูปแบบสไตล์อักษร Helvetica มาใช้ในงานของลูกค้า มันจึงกลายเป็นตัวเลือกสำหรับโลโก้ โฆษณา โปสเตอร์ ต่างๆอย่างรวดเร็ว

ในนิวยอร์กนั้นคุณจะรูดสึกว่าคุณสามารถพบเห็นตัวอักษร Helvatica ได้ทุกหนทุกแห่ง เพราะพวกเขาใช้มันตามสถานที่ต่างๆ ตามรถไฟใต้ดิน ป้ายบอกทางป้ายบอกเลข ความเป็นกลางและเป็นมาตรฐานของมันจึงทำให้ไม่มีใครสังเกตุว่ามันเป็นฟอนต์ Helvatica ผู้คนที่มองไม่ได้รู้สึกว่ามันโดดเด่นหรือสื่ออารมณ์ใดๆ นั้นเป็นสิ่งที่สร้างความคลาสสิคให้กับตัวอักษรสไตล์นี้

Image : wp.nyu.edu

Helvetica ถูกนำมาใช้เป็นโลโก้ และฟอนต์ของบริษัทดังระดับโลกหลายบริษัทเช่น BMW, Crate & Barrel, Fendi, Jeep, Kawasaki, Knoll, Lufthansa, Mattel, Nestle, Panasonic, Scotch, Skype, Target, Texaco, Tupperware และ Verizon

ในปี 1984 Steve jobs ได้เลือก Helvetica มาเป็นอักษรพาดหัวสำหรับการเปิดตัวคอมพิวเตอร์ Macintosh เครื่องใหม่ทำให้บทบาทของฟอนต์สไตล์นี้แข็งแกร่งขึ้นในกลุ่มอักษรสไตล์ Sans Serif เป็นจุดเริ่มต้นของ Mac รุ่นต่างๆ และถูกใช้ในระบบ IOS ในภายหลังจนถึงปี 2015 และมันถูกแทนที่ด้วยฟอนต์ของ Apple เอง

Microsoft’s ได้เลียนแบบการสร้างอักษรสไตล์ Helvetica ขึ้นมาใช้ในชื่อของ Arial เป็นอีกหนึ่งสไตล์ที่ยังถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

สำหรับฟอนต์ภาษาไทยก็มีการทำฉบับฟอนต์ Helvetica ไทยด้วยเช่นเดียวกัน

Neue Helvetica เป็นสไตล์ที่ปรับปรุงแก้ไขแบบอักษร Helvetica ในปี 1983 โดยนักออกแบบ 4 คน มีลักษณะตัวอักษรที่มีความกว้างและความสูงเป็นมาตรฐานในทุกๆตัวมากยิ่งขึ้น ปรับปรุงให้มีความชัดเจนขึ้น มีเครื่องหมายวรรคตอนที่ดูหนักขึ้นและเพิ่มการเว้นระยะห่างในตัวเลขมากยิ่งขึ้น

สไตล์อักษรที่มีความใกล้เคียงกับ Helvetica

  • Noirdan Sans เป็นสไตล์ที่คงไว้ซึ่งอารมณ์ความเป็นสากลดั้งเดิม มีความโค้งมนมากขึ้นเล็กน้อยจาก Helvetica ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมสมัยขึ้น
  • Solo เป็นอีกรูปแบบใหม่สไตล์สดชื่นขึ้นมาจาก Helvetica เป็นแบบอักษรที่อ่านง่ายโดยมีการเพิ่มมุมแหลมเล็กน้อยเข้ามาผ่านการใช้เส้นโค้งที่นุ่มนวล
  • Exensa Grotesk – เป็นฟอนต์สไตล์ Sans Serif อย่างแท้จริง ได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบแนว International Style ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูบีบอัดจึงทำให้มันดูง่าย อ่านง่ายเป็นตัวเลือกที่ดีที่ใช้ในการพาดหัวข่าว
  • Noveltica Nova Pro เป็นเหมือนสไตล์ที่ดูหรูหราฉบับสวิตสแลนด์ มีความเป็นกลางเหมือนกับ Helvetica ผสมผสานระหว่างตัวหนาและตัวบางกันอย่างลงตัว

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.