ส่งออกไปต่างประเทศ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ส่งออกไปต่างประเทศ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

การทำธุรกิจระหว่างประเทศหรือการส่งออกเพื่อขาย หนึ่งในเรื่องที่จะต้องให้ความสำคัญอย่างละเอียดก่อนทำการดำเนินเรื่องก็คือเอกสารนำเข้า-ส่งออก เอกสารส่งออกเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินการทางศุลกากร การผ่านเข้า-ออกท่าเรือ ตลอดจนการดำเนินการขั้นตอนอื่นๆในการทำการค้าระหว่างประเทศหรือเรียกว่า พิธีการทางศุลกากรในการส่งออกสินค้า หากต้องการส่งของในปริมาณมากเป็นพาเลทหรือตู้คอนเทนเนอร์ส่งทางเรือ และคุณหรือบริษัทคุณยังเป็นมือใหม่หรือยังไม่มีประสบการณ์มากนักเรามีข้อมูลขั้นตอนและรายละเอียดที่ควรรู้มาบอกในบทความนี้

ในความหมายของศุลกากรนั้น การส่งออก หมายถึง การเคลื่อนย้ายสินค้าโดย เรือ หรือเครื่องบิน จากสถานที่หนึ่งในประเทศไทยไปยังสถานที่หนึ่งนอกประเทศไทย สินค้าทั้งหมดที่ส่งออกจากประเทศไทยต้องรายงานและผ่านพิธีการทางศุลกากรก่อนที่จะบรรทุกสินค้าในเรือหรือเครื่องบินเพื่อการส่งออก กรมศุลกากรต้องได้รับข้อมูลของสินค้าดังกล่าวและอนุญาตให้ส่งออกได้ ซึ่งระบบข้อมูลการส่งออกส่วนใหญ่จะส่งด้วย วิธีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ E-export นั่นเอง

เอกสารส่งออกที่จำเป็นในการยื่นเพื่อดำเนินพิธีการทางศุลกากรสำหรับการส่งออกนั้นจะประกอบไปด้วยเอกสารทั้ง 6 แบบนี้

         บัญชีราคาสินค้า หมายถึง ใบแสดงมูลค่าของสินค้าหรือที่เราคุ้นเคยในชื่อว่า Invoice เป็นเอกสารสำคัญที่จะต้องใช้ทุกครั้งในการส่งออกและการทำพิธีศุลกากร โดยในเอกสารนี้จะแสดงมูลค่าสินค้า และส่งเป็นหลักฐานแสดงมูลค่าของสินค้าไปยังต่างประเทศได้

         ใบ Packing List หรือใบแสดงรายละเอียดบรรจุหีบห่อของผู้ส่งออก เป็นเอกสารเพื่อใช้บอกข้อมูลคือจำนวน น้ำหนักและขนาดของสินค้าอย่างละเอียด รวมถึงเพื่อแจ้งว่าสินค้าใดถูกบรรจุหรือแพ็คมาแบบใด ลักษณะใด นั่นเอง

         ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสินค้าควบคุมขาเข้า (Import License) และขาออก (Export License) ของการค้าระหว่างประเทศเป็นเอกสารนำเข้า-ส่งออกที่ผู้ต้องการส่งออกสินค้าจะต้องลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้าและส่งออกกับทางกรมศุลกากรด้วย จึงจะดำเนินพิธีการศุลกากรได้

แต่สำหรับบริษัทใดที่ไม่ได้ลงทะเบียนส่งออกกับกรมศุลกากรสามารถเลือกใช้ Shipping หรือ Agent ที่มีความเชี่ยวชาญส่งออกแทนได้ โดยหากจะส่งออกในนามบริษัทก็สามารถใช้เอกสารหนังสือรับรองบริษัทเพื่อประกอบให้ผู้ส่งออกดำเนินการส่งออกให้

         เมื่อเราต้องการส่งสินค้าออกในการค้าระหว่างประเทศจะต้องใช้ใบขนสินค้าขาออกในการแจ้งข้อมูลสินค้าให้กับศุลกากรทราบ ประกอบไปด้วยประเภทสินค้า ราคาและจำนวน เพื่อให้ทางศุลกากรนำไปคิดภาษีและจัดเก็บข้อมูลการนำเข้า-ส่งออกของเราได้ (ในส่วนนี้มักดำเนินการโดยบริษัทขนส่ง หรือ Shipping ) ซึ่งจำแนกใบขนขาออกไว้เป็น 4 ประเภทตามลักษณะการส่งออก

ข้อที่ควรรู้ในการส่งสินค้าออก : การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก สำหรับบริษัทส่งออกทั่วไป, การส่งออกสินค้าที่ขอชดเชยค่าภาษีอากร, การส่งออกสินค้าที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ จะใช้ใบขนสินค้าขาออกแบบ กศก.101/1

         ใบตราส่งสินค้า จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (B/L-Bill of Lading) และ ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (AWB-Air Way Bill)

         ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (B/L, Bill of lading) เป็นเอกสารที่มีความสำคัญมาก เป็นหลักฐานในการขนส่งสินค้าทางเรือ ผู้ส่งออกจะต้องให้ข้อมูล (ชนิดสินค้า, น้ำหนัก, ผู้ซื้อ ,ผู้ขาย) กับทางผู้ให้บริการขนส่ง (บริษัทขนส่ง) เพื่อออกเอกสารนี้ โดยสายเรือจะเป็นผู้ออกให้กับผู้ใช้บริการ ส่วนผู้นำเข้าต้องใช้เอกสารนี้และจะต้องตรวจแบบร่างก่อนที่จะออกเอกสารตัวจริงเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

         ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (AWB, Airway Bil) เป็นเอกสารที่คล้ายกับใบตราส่งสินค้าทางเรือ แต่มีข้อมูลบางส่วนที่แตกต่างกัน เนื่องจากเป็นการขนส่งคนละประเภท

6. ใบรับรองต่างๆ (Certificates)

         C/O, Certificate of Origin คือ ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร) เป็นเอกสารยืนยันแหล่งผลิตของสินค้าว่าผลิตจากที่ไหน วัตถุดิบที่ใช้ผลิตมาจากที่ใด เข้ากับข้อกำหนดการยกเว้นหรือลดภาษีหรือไม่ ซึ่งเอกสารนี้จะช่วยลดต้นทุนการนำเข้าและส่งออกได้มาก

         การออกใบนี้จะต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ และผู้รับผิดชอบเอกสารนี้คือ กรมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ โดยในบางประเทศที่เราส่งออกสินค้าไป จะสามารถขอใบ C/O นี้เพื่อนำไปใช้ลดหย่อนภาษี หรือเพื่อใช้สิทธิพิเศษของกรมศุลกากรแต่ละประเทศได้

     – Cerfiticate of Health หรือ Health Cer คือ หนังสือรับรองคุณภาพและอนามัยของสินค้า สำหรับสินค้าประเภทอาหารและสินค้าทางการเกษตร

      – Cerfiticate of Fumigation คือ ใบรับรองการรมยา ใช้ในการรับรองว่าสินค้านั้นได้มีการรมยาเพื่อป้องกันเชื้อราหรือแมลงที่อาจเกิดขึ้นในการขนส่ง ใช้กับสินค้าทุกชนิดที่ผลิตจากพืชหรือไม้

     – Phytosanitary Certificate คือ ใบรับรองการปลอดโรคและศัตรูพืช เพื่อแสดงว่าสินค้าของเราปลอดภัย และไม่มีการระบาดของโรคพืชต่างๆ

     – Certificate of Analysis คือ ใบวิเคราะห์สินค้า เป็นเอกสารทางวิทยาศาสตร์เพื่อบอกถึงส่วนประกอบต่างๆ ที่มีอยู่ในสินค้า และรับรองว่าปลอดภัย

      Insurance Certificate คือ ใบประกันภัยสินค้า เป็นการบ่งบอกว่าสินค้านั้นได้มีการทำประกันภัยสินค้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงและความเสียหายของสินค้าในระหว่างการขนส่ง โดยการทำประกันภัยจะครอบคลุมค่าเสียหายสูงสุดถึงกว่า 90% ของมูลค่าสินค้า

การส่งออกทุกๆช่องทาง และการส่งออกทางเรือจำเป็นต้องตรวจสอบเอกสารส่งออกที่ต้องใช้ ซึ่งเอกสารทั้ง 6 ประเภทที่จำเป็นต้องมีเพื่อประกอบกับใบอนุญาตส่งออกที่ลงทะเบียนกับทางกรมศุลกากร

🗨 Tips : สำหรับท่านใดที่ต้องการส่งออกในนามบริษัทหรือนิติบุคคต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกจะต้องไปลงทะเบียนกับกรมศุลกากรก่อน ถึงจะสามารถออกใบขนสินค้าขาออกและออก B/L หรือใบตราส่งสินค้าทางเรือในนามบริษัทของคุณได้เพื่อไปนำเอกสารประกอบดำเนินเรื่องเกี่ยวกับภาษีต่อไป

.

💡 หากคุณใช้บริการกับบริษัทโลจิสติกส์ที่มีความเชี่ยวชาญในการส่งออก เพราะจะเป็นตัวแทนในการนำเข้าและส่งออกของคุณ ดูแลสินค้าและเอกสารส่งออกให้ รวมถึงเคลียร์สินค้าปลายทาง จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาและเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ต้องการส่งออกได้


ให้เราเป็นคู่หูด้านโลจิสติกส์ให้กับคุณ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : เอกสารสำคัญในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่ควรต้องรู้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : Bill of Lading หรือ ใบตราส่งสินค้า คืออะไร?

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.