Glaze layering techniques (เทคนิคเคลือบเอฟเฟคหลายชั้น)

จาก Blog ก่อนหน้าที่เราได้พูดถึง เคลือบไฟต่ำ ,ปฏิกิริยาเคลือบไฟต่ำ ไปซึ้งมีความเกี่ยวข้องกับ Blog ที่เราจะพูดในวันนี้ คือ  เทคนิคการทำเอฟเฟคเคลือบหลายชั้น ที่เกิดจากการทับซ้อนกัน ว่ามีเทคนิคอะไรที่ช่วยทำให้เคลือบที่ทับกันมีความน่าสนใจ 

"เทคนิคเคลือบหลายชั้น "
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น เทคนิคเคลือบหลายชั้น เป็นผลการต่อยอด มาจากการทำเคลือบไฟต่ำ ,ปฏิกิริยาเคลือบไฟต่ำ การทำเคลือบหลายชั้นมี มานานแล้ว แต่จะขึ้นอยู่กับชนิดของเคลือบที่นำมาใช้โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
ภาพ เคลือบสีเข้มทับเคลือบสีอ่อน
ภาพเคลือบสีอ่อนทับเคลือบสีเข้ม และส่วนที่ผสมกัน
ภาพตัวอย่างเคลือบที่ผสมกันระหว่างสีอ่อนและเข็ม

-เคลือบด้านล่าง จะเป็นเคลือบที่ถูกทับ มักมีความหนา และสีเข้ม เช่น ดำเทา น้ำตาลเข้ม เป็นสีพื้น ไหลตัวไม่มาก มีทั้งสีที่เป็นสีด้านและสีเงา หากใช้เคลือบ ที่เป็นสีเข้มทับ มักไม่เปิดเอฟเฟคขึ้น
-เคลือบด้านบน จะเป็นเคลือบที่ไปทับ มักเป็นเคลือบสีสว่าง สีอ่อน ไหลตัวสูง มีส่วนผสมของ ฟริต หรือ สารประกอบ เคลือบไฟต่ำ เพราะเคลือบ ที่เกิดเอฟเฟคหลายชั้น เคลือบด้านบนและด้านล่างจะผสมกันบางส่วน
-เคลือบ ชั้นกลางที่เกิดจากการผสมกัน ซึ้งจะเป็นคุณสมบัติเฉพาะของเคลือบไฟต่ำ เกิดเป็นเคลือบอีกสี คล้ายการผสมสี จากสีน้ำหรือสีโปรเตอร์ โดยที่จะเกิดขึ้นจะได้จากการทดลองของช่างเซรามิค และมีส่วนประกอบที่ต่างออกไป ของแต่ละสูตร

ทั้งนี้ เทคนิคการทำเอฟเฟคเคลือบหลายชั้น สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
-ใช้การจุ่มสี ,หรือทาสี ปาด ให้ทับกัน บางส่วน
-ใช้การพ้นสีให้ทับกัน
ซึ้งทั้ง 2 วฺิธีจะให้ เทคนิคการทำเอฟเฟคเคลือบหลายชั้น ที่ต่างกัน ที่เอฟเฟคที่เกิดขึ้นอ่อน เข้ม หรือรอบที่ทับกัน

“การออกแบบและการใช้งาน”
เทคนิคการทำเอฟเฟคเคลือบหลายชั้น เป็นเทคนิคที่เพิ่มน่าสนใจให้กับชิ้นงานทั้ง ในเรื่องความสวยงาม ที่ทำให้เกิดเอฟเฟคใหม่ๆ สีใหม่ ทั้งที่ตั้งใจ และไม่ตั้งใจ เคลือบชนิดนี้ มักนิยมทำในกลุ่มชิ้นงานที่มีราคาสูง และหลายๆครั้งชิ้นงานที่ออกมาจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย เนื่องจาก เคลือบไฟต่ำ การใช้งานค่อนข้างละเอียดอ่อน และคงตัวยาก แต่เคลือบชนิดนี้สามารถออกแบบ ได้ทั้งภาชนะบรโต๊ะอาหาร รวมถึงแจกัน
“ตัวอย่างชิ้นงาน “

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.